วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อสมชาย วัดหนองพิกุล

รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อสมชาย วัดหนองพิกุล

เปิดตลับพระใหม่

"หลวงพ่อสมชาย อธิปุญโญ" หรือ "พระครูวิบูลธรรมารักษ์" วัดหนองพิกุล อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอทับสะแก พระเถระที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้าน ในชุมชน

หลวงพ่อสม ชาย แห่งวัดหนองพิกุล เป็นพระเถระที่สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กในชนบท ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนหนังสือภายในวัด ทั้งทางธรรม และการศึกษา ภาคปกติ มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากที่จบจากโรงเรียนวัดหนองพิกุล ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากมาย

ท่านมีนามเดิม สมชาย วิริยะบุญญา ภิวาท ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ จ.นนทบุรี อายุ 25 ปี อุปสมบทที่วัดเสมียนนารี กรุงเทพฯ และย้ายมาจำพรรษาที่วัดเวตวันธรรม มาวาส (วัดเซิงหวาย)

ต่อมา พ.ศ.2512 พระครูวิบูลย์โชติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดเซิงหวาย มอบหมายให้หลวงพ่อสมชาย ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์หนองพิกุล เพื่อดูแลการก่อสร้างสำนักสงฆ์ ประกอบกับได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในท้องถิ่นอย่าง ดียิ่ง วัดได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้า อย่างมาก กระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอาราม มีการสร้างอุโบสถหลังใหญ่ จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต

พ.ศ.2518 หลวงพ่อสมชาย ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูวิบูลย์ธรรมารักษ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทับสะแก

วัน ที่ 25 พ.ย.2555 หลวงพ่อสมชาย มรณภาพลงด้วยโรคประจำตัว หลังเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลทับสะแกนานกว่า 6 เดือน สิริอายุ 77 ปี พรรษา 52

นายณรงค์ นาคหาญ อดีตนายก อบต.ทับสะแก ในฐานะที่เคยเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านหนองพิกุล มีความประสงค์จัดสร้างหล่อรูปเหมือนขนาด เท่าองค์จริง พระครูวิบูลธรรมารักษ์ หรือหลวงพ่อสมชาย อัญเชิญประดิษฐานไว้ภายในวัดหนองพิกุล เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นศูนย์รวม แห่งความสามัคคีในชุมชน

ต่อ มาเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2556 เวลา 12.00 น. ที่วัดวิบูลธรรมาวาสหรือวัดหนองพิกุล อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชสุทธิโมลี เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เข้าร่วมพิธีเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงพระครูวิบูลธรรมารักษ์ หรือหลวงพ่อสมชาย ได้รับความร่วมมือจากศิษยา นุศิษย์ทั่วประเทศ

นอก จากพิธีเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงหลวงพ่อสมชาย ยังมีการจัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อสมชาย หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อผสมทองเหลือง ทอง นาก จำนวน 300 องค์ เปิดให้เช่าบูชาองค์ละ 999 บาท สำหรับเป็นทุนในการจัดสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อสมชายองค์ใหญ่

โดยมีพระ ราชสิทธิญาณ หรือหลวงพ่อเตือน วัดเขาโบสถ์, หลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน จ.ชุมพร, หลวงพ่อสุพรรณ ปัญญาวุฑโฒ วัดน้ำตกห้วยยาง, หลวงพ่อสมพงษ์ อัคคปัญโญ วัดหนองหอย ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต

ภายหลังเสร็จพิธี คณะศิษยานุศิษย์เช่าบูชารูปเหมือนหลวงพ่อสมชาย หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว จนหมดลงภายในเวลาอันรวดเร็ว

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหรียญพระอาจารย์แห้ง วัดป่าเลไลย์ อุทัยธานี

เหรียญพระอาจารย์แห้ง วัดป่าเลไลย์ อุทัยธานี

เปิดตลับพระใหม่

"พระอาจารย์คัมภีร์ จิตตสาโร" หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "พระอาจารย์แห้ง" แห่ง วัดป่าเลไลย์ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าอีกรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา ทั้งในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียง

ท่านเป็นศิษย์เอกสายตรง หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

ปัจจุบัน พระอาจารย์แห้ง อายุ 48 ปี พรรษา 24

มี นามเดิมว่า เลิศ เพ็ชรหมัด เชื้อสายไทยทรงดำ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.2508 ปีมะเส็ง ที่บ้านแหลมทอง ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อายุ 12 ปี บรรพชาที่วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) ขณะเป็นสามเณร ได้ติดตามรับใช้หลวงพ่อสมควร เรียนอักขระขอม-บาลี และวิทยาคม พร้อมติดตามไปสร้างวัดเขาพระยาพายเรือ อ.ลานสัก และวัดเขาหินเทิน อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี

อายุครบ 24 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2532 ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำโพใต้ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มี พระครูนิยุติวีรวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ วันพุธที่ 1 ม.ค.2557 จัดงานทำบุญประจำปี วัดป่าเลไลย์ เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ จัดพิธีสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เสริมดวงบารมีให้ประชา ชนที่ไปร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

นอก จากนี้ พระอาจารย์คัมภีร์ ยังจัดสร้างเหรียญรุ่นมหามงคล ลักษณะของเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญปั๊มพิมพ์สี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน 200 เหรียญ, เนื้อทองแดง 5,557 เหรียญ และตะกรุดโสฬสมงคล 300 ดอก มอบให้กับผู้มาร่วมทำบุญสมทบทุนปฏิสังขรณ์ศาลาหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส

ด้านหน้าเหรียญ มีขอบรอบ ตรงกลางมีรูปนูน พระอาจารย์คัมภีร์ (แห้ง) นั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านขวาขององค์พระมีอักขระขอม "พระคัมภีร์" ส่วนด้านซ้ายขององค์พระมีอักขระขอม "จิตตสาโร" และจารมืออักขระขอม หัวใจอิติปิโส (อิ สะ หวา สุ) ทุกเหรียญ

ส่วน ด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบเช่นกัน ตรงกลางเหรียญมียันต์องค์พระภายในมีอักขระขอม อิ สะ หวา สุ และมีตัว "ยะ" พร้อมอุณาโลมกำกับยอดยันต์ ล้อมรอบด้วยยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ มีอักขระขอม นะ โม พุท ธา ยะ และมีธาตุทั้งสี่กำกับทั้ง 4 ด้าน (นะ มะ พะ ทะ)

ใต้ขอบเหรียญด้านบน มีอักษรไทย "มหามงคล" เหนือขอบเหรียญด้านล่าง มีอักษรไทย เขียนว่า "วัดป่าเลไลย์ จ.อุทัยธานี พ.ศ.๒๕๕๗"

ติดต่อได้ที่วัดป่าเลไลย์ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี มีจำนวนจำกัด

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์

สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็มาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังกันบ้าง เรื่องที่เราจะคุยกันก็คือ กะลาราหูแกะ ส่วนมากเราก็จะรู้จักกันแต่กะลาราหูของวัดศีรษะทอง นครปฐม แต่ที่จริงกะลาราหูนั้นมีวัฒนธรรมความเชื่อมาช้านานและที่มีมากๆ นั้นก็อยู่ที่ทางล้านนาและล้านช้าง ซึ่งมีคติความเชื่อมาแต่โบราณที่มีการสร้างโดยพระเกจิอาจารย์ อีกทั้งอาจารย์ฆราวาสอีกมาก ความเชื่อเรื่องกะลาราหูนี้ เชื่อกันว่าจะช่วยคุ้มครองให้ผ่อนคลายคราวเคราะห์ร้ายให้เบาบางลงได้ โดยวันนี้ผมจะเล่าถึงพระมหาเมธังกร อดีตเจ้าอาวาสวัดเมธังกราวาส (น้ำคือ) และอดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ผู้สร้างกะลาราหูของทางล้านนาอีกรูปหนึ่งกันครับ

วัดเมธังกราวาส เป็นวัดที่สร้างมานานมาก ไม่มีบันทึกว่าสร้างตั้งแต่เมื่อใดมีเพียงการบอกเล่าว่า วัดเมธังกราวาส แต่แรกเริ่มเรียกว่า "วัดนางเหลียว" เข้าใจว่านางเหลียวเป็นผู้ถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัดในสมัยแรก ต่อมาด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ติดกับคูเมือง สำเนียงคนเหนือว่า "คือเมือง" ต่อมา ชาวบ้านจึงมักเรียกวัดนี้กันว่า "วัดน้ำคือ" ในระยะต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง ตามสมณศักดิ์ของท่านอดีตเจ้าคณะจังหวัดเป็น "วัดเมธังกราวาส" จากการบอกเล่าสืบต่อกันมานี้ ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า วัดนี้น่าจะสร้างในราวปีพ.ศ.2325 ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเข้าใจว่าผู้สร้าง วัดนี้น่าจะเป็นตระกูล "วังซ้าย"

ท่านเจ้าคุณพระมหาเมธังกร (พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อปีพ.ศ.2418 โยมบิดาชื่อชัยลังการ์ โยมมารดาชื่อเที่ยง ต่อมาเมื่ออายุครบบวช จึงอุปสมบทที่วัดน้ำคือ จังหวัดแพร่ โดยมีพระครูพุทธวงศาจารย์ วัดพระบาท เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอนุสาวนา จารย์และพระกรรมวาจาจารย์ไม่ปรากฏชื่อ ได้รับนามฉายาว่า "พรหมเทโว" ท่านได้สนใจในด้านการศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน แลพุทธาคม ท่านได้ศึกษากับพระครูพุทธวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้น ท่านได้สอบนักธรรมสนามมณฑล ต่อมาในปีพ.ศ.2458 ท่านก็ได้เข้ารับการอบรมการศาสนาและคณะสงฆ์ในสำนักสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุ กทม. ท่านตั้งใจในการศึกษา จึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และเป็นที่รักใคร่ของสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุ

พระมหาเมธังกรท่าน เป็นพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิและเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ อันสมควรแก่การเคารพสักการะ ท่านเป็นพระรูปแรกที่ได้นำการปกครองคณะสงฆ์ ระบบใหม่มาเผยแพร่ ท่านได้ทำให้คณะสงฆ์ของจังหวัดแพร่เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ในปีพ.ศ.2461 ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียน อีกทั้งได้ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในจังหวัดแพร่ ที่วัดของท่าน ชื่อโรงเรียนวัดเมธังกราวาส ท่านได้อุปการะโรงเรียนอยู่หลายปี ซึ่งทำให้เด็กๆ ได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน และมีการศึกษาอย่างทั่วถึง

นอก จากนี้ ท่านยังได้เป็นผู้ดำเนินการสร้างพระวิหารวัดพระธาตุจอมแจ้ง และเป็นประธานกรรมการก่อสร้างพระวิหารพระธาตุช่อแฮอีกด้วย ท่านนับได้ว่าเป็นผู้สร้างความเจริญทางด้านการศึกษาทั้งของพระภิกษุสามเณร และชาวบ้านในจังหวัดแพร่ อีกทั้งยังได้สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาอีกด้วย ชาวจังหวัดแพร่จึงเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก ท่านได้ละสังขารในราวปีพ.ศ.2492 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 54

ทาง ด้านการสร้างวัตถุมงคลนั้น ท่านได้สร้างไว้ไม่มากนัก ได้แก่กะลาราหู โดยใช้กะลาตาเดียวมาแกะเป็นรูปราหูอมจันทร์ และราหูอมพระอาทิตย์ เป็นต้น ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก เนื่องจากชาวจังหวัดแพร่นั้นต่างก็หวง แหนกันมาก

ในวันนี้ผมได้นำรูปกะลาราหูของท่านเจ้าคุณพระมหาเมธังกร จังหวัดแพร่ แบบต่างๆ มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล เหรียญดังชัยภูมิ

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล เหรียญดังชัยภูมิ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


เอ่ย ชื่อ "เหรียญเจ้าพ่อพญาแล" หลาย ท่านอาจไม่คุ้นหูนัก แต่ในวงการนักนิยมสะสมเหรียญแล้วจะรู้จักเป็นอย่างดีและนิยมสะสมกันมาก โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและใกล้เคียง "เจ้าพ่อพญาแล" คือ ใคร

เจ้า พ่อพญาแล (พระยาแล) หรือพระยาภักดีชุมพล (แล) นั้น เป็นอดีตเจ้าเมือง ของชัยภูมิคนแรก ผู้มีความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน วีรกรรมของท่านปรากฏในปี พ.ศ.2369 เมื่อเจ้าอนุวงศ์เกลี้ยกล่อมผู้คน ให้เข้าเป็นพวก แต่ท่านไม่ยินยอมจนถูกจับประหารชีวิต ณ บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ ริมหนองปลาเฒ่า บ้านหนองหลอด ต.รอบเมือง จ.ชัยภูมิ ราษฎรได้พร้อมใจกันตั้งศาลขึ้นเรียกขานกันสืบต่อมาว่า "ศาลเจ้าพ่อพญาแล" และในปีพ.ศ.2521 ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น

สมัยแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยานั้น บริเวณเมืองชัยภูมิยังเป็นดินแดนรกร้าง จนล่วงมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชายผู้หนึ่งชื่อ "แล" เคยเป็นข้าราชสำนักในเวียงจันทน์ อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาน (ปัจจุบันคือบ้านชีลอง) แต่ก็ ยังส่งส่วยให้เจ้าอนุวงศ์มิได้ขาด จนได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ แล้วตั้งบ้านเมืองใหม่ขึ้นที่ "บ้านหลวง"

ในปีพ.ศ.2367 บ้านหลวงได้ยกฐานะเป็น "เมืองชัยภูมิ" ขึ้นตรงต่อนครราชสีมา และนายแลได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามาตีกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2369 โดยมีอุบายว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ และสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ โดยกวาดต้อนผู้คนจะนำไปเวียงจันทน์ จนเกิดวีรกรรมของคุณหญิงโม หรือท้าวสุรนารี ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ขึ้น บรรดาเมืองใกล้เคียงรวมทั้งชัยภูมิได้ยกกำลังไปช่วยชาวไทยสยามตีกระหนาบจน ทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายแลเป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก แต่ทหารเจ้าอนุวงศ์ที่ยังกระจัดกระจายอยู่แถบนั้นเกิดความแค้น ยกทัพบุกเข้าจับพระยาภักดีชุมพลประหารเสีย ณ บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ ริมหนองปลาเฒ่า ด้วยความดีงามและความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชนจึงพากันตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่โคนต้นมะขามเฒ่า เรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อพญาแล"

ต่อมาเมื่อพระยาภักดีชุมพล (ที) ย้ายมาเป็นเจ้าเมือง ได้ย้ายที่ตั้งเมืองชัยภูมิมาอยู่ที่บ้านหินตั้ง และในปีพ.ศ.2475 นายช่วย นนทะนาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในสมัยต่อมา ได้ริเริ่มสร้าง "อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล" ขึ้นที่บริเวณสี่แยกถนนหน้าศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ โดยแล้วเสร็จในปีนั้น และกำหนดให้มีการฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล เป็นประเพณีสืบทอดกันต่อมาในวันที่ 12 มกราคมของทุกปี ...

ด้วย วีรกรรมความกล้าหาญของท่าน ทำให้ผู้คนเคารพเลื่อมใสศรัทธา จึงมีการจัดสร้าง "เหรียญเจ้าพ่อพญาแลรุ่นแรก ปีพ.ศ.2521" เป็นเนื้อทองแดง หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเส้นลวดนูนรอบเหรียญหนึ่งเส้น ตรงกลางเป็นรูปเหมือนของท่านหน้าตรงครึ่งตัว แต่งเต็มยศเยี่ยงขุนนางไทย สวมเสื้อลายกนก มีอักษรไทยด้านล่างว่า "เจ้าพ่อพญาแล"

ด้านหลัง ยกขอบเส้นลวดนูนขึ้นหนึ่งเส้น ตรงกลางมี "ยันต์น้ำเต้า" ขมวดหัวยันต์ มีอักษรขอม "มะ อุ อะ" ชัก "ยันต์อุณาโลม" 3 ตัว ขมวดหัวยันต์ ประดิษฐานอักษรขอมหัวใจพระเจ้าห้าพระองค์ "นะ โม พุท ธา ยะ" กลาง ยันต์มีอักษรขอมเป็นตัว "มิ" ด้านล่างเป็นอักษรขอม "พุทธะสังมิ" และ "๒๕๒๑" มีอักษรไทยโค้งตามเหรียญว่า "พระยาภักดีชุมพล (แล) จังหวัดชัยภูมิ"

เหรียญ เจ้าพ่อพญาแลรุ่นแรก ปีพ.ศ.2521 นี้ตอนสร้างมีการประกอบพิธีชัยมังคลา ภิเษกอย่างเข้มขลัง ด้วยคุณูปการคุณงามความดีของท่าน และปรากฏเรื่องราวอัศจรรย์ที่ท่านคอยปกปักรักษาผู้คนให้อยู่เย็นเป็นสุข จึงเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสะสมและแสวงหามาก โดยเฉพาะ ในจังหวัดชัยภูมิและพื้นที่ใกล้เคียง

นับเป็นเหรียญมงคลเหรียญหนึ่งที่น่าเก็บสะสมไว้ครับผม

เพราะสนนราคาเช่าหาแต่ละพิมพ์จะแตกต่างกันครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5 หลวงพ่อเกษม

เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5 หลวงพ่อเกษม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

"เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5" หนึ่งเหรียญดัง ของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่ง สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระเกจิผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น "เนื้อนาบุญที่ยิ่งใหญ่ในพระพุทธศาสนา" เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

หลวงพ่อเกษม เป็นเครือญาติสายตรงของ ตระกูล ณ ลำปาง แต่ครั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรหน้าไฟในงานศพที่วัดบุญยืน (วัดป่าดั๊ว) จ.ลำปาง เพียงแค่ 7 วัน ก็นับเป็นการสร้างพื้นฐานความศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ต่อมาในปีพ.ศ.2470 ท่านจึงตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นการหักเหชีวิตเข้าสู่ร่มเงาแห่งพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

มุ่ง มั่นและจริงจังแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัย เพียงระยะ 4 ปี ในปีพ.ศ.2474 ท่านก็สามารถสอบได้นักธรรมโท จากนั้นฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาจันตา หรือพระครูพิชัยมงคล เจ้าอาวาสวัดพิชัยมงคล ผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในด้านภาษาโบราณและวิทยาคมเร้นลับต่างๆ ท่านเริ่มฝึกวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าอันวิเวกท้ายวัดพิชัยมงคล เริ่มรับรู้ถึงความสงบจากการเจริญภาวนา อันเป็นรากฐานสำคัญของวัตรปฏิบัติที่มุ่งสู่การ "ปฏิบัติภาวนา"

จน อายุครบบวชจึงเข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดบุญยืน มี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา หรือพระครูปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ เจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระธรรมจินดานายก (อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดบุญยืน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม

ด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่จะสืบทอดพระศาสนา และแสวงหาความหลุดพ้นจาก "อนิจจัง" หลวงพ่อเกษมจึงหมั่นศึกษาภาษาบาลีเป็นพิเศษจนมีความชำนาญและคล่องแคล่ว อีกทั้งสามารถแปลภาษามคธจากพระธรรมปฏักถาได้ทั้ง 8 ภาค เพื่อจะได้เข้าใจถึงซึ่งพระธรรมวินัยอย่างถ่องแท้

ในปีพ.ศ.2479 ท่านสามารถสอบนักธรรมเอกได้ แต่ด้วยการ "ลด ละ วาง" ของท่าน จึงปฏิเสธการเข้าสอบเปรียญ 3 ประโยค จากมุ่งมั่นศึกษา เจริญวิปัสสนา และถือธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติ เว้นแต่ช่วง เข้าพรรษา ท่านจะกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืน

เมื่อท่านเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณภาพ คณะสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อเกษมให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อ ตอนแรกท่านไม่สู้เต็มใจนัก แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าการดูแลภารกิจของวัดก็เป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งใน ฐานะผู้สืบทอดพระศาสนา จึงตกลงเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน แต่เมื่อภารกิจต่างๆ ของวัดเริ่มเบาบางลง ท่านจึงลาออกจากตำแหน่ง แต่ถูกคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ยับยั้ง จึงตัดสินใจหลบออกจากวัดบุญยืนเงียบๆ

พ.ศ.2492 ทิ้งเพียงข้อความบอกลาชาวบ้าน ตอนหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้

"ทุกอย่าง เราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้ว การเป็นเจ้าอาวาสเปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการวิเวกไม่ขอกลับมาอีก"

จากนั้นท่านเริ่ม ธุดงค์เจริญวิปัสสนาไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ก่อนที่จะปักหลักตั้งมั่นบำเพ็ญธรรมที่ป่าช้าประตูม้า ซึ่งก็คือ "สุสานไตรลักษณ์" ศูนย์รวมแห่งศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่มีชื่อเสียงและเกียรติคุณขจรขจายจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเกษม มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด ตัดแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวง หลุดพ้นจากวัฏสงสาร บำเพ็ญศีลอันบริสุทธิ์ มีสมาธิตั้งมั่น และปัญญาแห่งธรรมอันสว่างไสว แม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปนานเพียงใด ท่านยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาและยึดมั่นของพุทธศาสนิกชนไม่เสื่อมคลาย วัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างและปลุกเสกล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือ "เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5" เหรียญที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และทำเทียมมากที่สุดรุ่นหนึ่ง

เหรียญ สิริมงคลเสาร์ 5 จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาเจ้าแม่สุชาดา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2516 โดยหลังจากที่หลวงพ่อเกษมปลุกเสกเรียบร้อย ท่านได้พูดกับบรรดาลูกศิษย์ที่มาร่วมพิธีว่า "ถ้าเอาไปใช้แล้วไม่ดี ให้เอามาคืนเฮา" ซึ่งเหรียญได้สร้างประสบการณ์มากมายเป็นที่ปรากฏ

โดย เฉพาะเมื่อคราวเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้รับการเรียกขานว่า "เหรียญวีรชน" และด้วยรูปทรงของเหรียญเป็นรูประฆังคว่ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เหรียญระฆัง"

เหรียญสิริมงคลเสาร์ 5 สร้างเป็นเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ทุกเนื้อจะมีจุดตำหนิเพื่อการพิจารณา ดังนี้ ด้านหน้าจะมีเส้นรัศมีออกจากองค์หลวงพ่อ และแผ่ไปยังบริเวณข้างเหรียญ ส่วนด้านหลังจะมีเส้นรัศมีแผ่ไปยังบริเวณข้างเหรียญ และที่ใต้ตัวนะ (เหนือยันต์แถวแรก) จะมีขนแมวคล้ายกอหญ้าแผ่ออก

นอกจากนี้ จะมีการแบ่งเป็นบล็อก (พิมพ์) ต่างๆ ตามการเล่นหาของชาวลำปางได้ 5 บล็อก คือ 1. บล็อกเสาอากาศ (พิมพ์นิยม) 2.บล็อกเขี้ยว 3.บล็อกสิบโท 4.บล็อกสิบโทมีเขี้ยว และ 5.บล็อกสายฝน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของจุดตำหนิแม่พิมพ์ในแต่ละบล็อก การเล่นหาจึงควรพิจารณาให้มาก เริ่มจากดูความแท้เก๊ก่อน แล้วค่อยมาดูที่พิมพ์

เพราะสนนราคาเช่าหาแต่ละพิมพ์จะแตกต่างกันครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

หลวงปู่เจือ ปิยสีโล แห่งวัดกลางบางแก้ว

หลวงปู่เจือ ปิยสีโล แห่งวัดกลางบางแก้ว
คอลัมน์ อริยะโลกที่6

ช่วง กลางดึกคืนวันที่ 29 ธันวาคม 2552 วงการพระเครื่องวัตถุมงคล สูญเสียพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ด้วย "หลวงปู่เจือ ปิยสีโล" แห่ง วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 84 พรรษา 58

หลวงปู่เจือ ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

อัต โนประวัติ เกิดในสกุล เนตรประไพ เมื่อวันที่ 14 พ.ต.2468 ที่บ้านท้ายคุ้ง ต.ไทยยาวาส อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแพและนางบู่ เนตรประไพ

วัยเยาว์ ศึกษาเล่าเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดประชานาถ (วัดโคกแขก)

อายุ 26 ปี กราบลาบุพการีเข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีพระครูพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญญวสโน) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระธรรมธรมูล วัดกลางบางแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพุทธชัยศิริ (ผูก) วัดใหม่ สุประดิษฐาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลัง อุปสมบท ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดกลางบางแก้ว ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างมุ่งมั่น จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก จากนั้น ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมและกรรมการสอบพระปริยัติธรรม

พ.ศ.2504 เป็นพระสมุห์เจือ ฐานานุกรมพระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม)

พ.ศ.2528 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว และเป็นพระกรรมวาจาจารย์

แม้ เคยได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว แต่ท่านปฏิเสธในการรับตำแหน่งดังกล่าว ทั้งที่เพียบพร้อมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ

หลวงปู่เจือ เป็นศิษย์สายตรงวัดกลางบางแก้ว เริ่มจากเป็นพระลูกวัด ศิษย์อุปัฏฐากรับใช้สนองงานของหลวงปู่เพิ่ม โดยมีหน้าที่คอยจัดสร้างเบี้ยแก้ตามคำสั่งของหลวงปู่เพิ่ม ประกอบพิธีกรรมตั้งแต่เริ่มบรรจุปรอท ใช้ตะกั่วหุ้มหอยเบี้ย ลงอักขระเลขยันต์ ถักเชือกหุ้มหอยเบี้ยด้วยมือ

เมื่อทำสำเร็จจะนำไปขอบารมีให้หลวงปู่เพิ่มปลุกเสกอีกครั้ง ก่อนจะนำออกแจกจ่ายลูกศิษย์ผู้เลื่อมใส

กล่าวได้ว่า หลวงปู่เจือ ได้สืบทอดวิธีจัดสร้างเบี้ยแก้ อันเป็นสุดยอดวิชาของหลวงปู่บุญและหลวงปู่เพิ่มไว้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

สรรพคุณ หรือพุทธคุณเบี้ยแก้หลวงปู่เจือ เป็นที่ร่ำลือในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม และป้องกันคุณไสยต่างๆ สามารถกันถูกกระทำย่ำยี กันคุณผี คุณไสยเวท อาถรรพณ์ ยาสั่ง ฝังรูปฝังรอย กันมนต์ยาดำย่ำยีด้วยเล่ห์กลมายาสารพัด เป็นต้น

นอกจากการสร้างเบี้ยแก้อันลือลั่นแล้ว หลวงปู่เจือยังทำยาจินดามณี อันเป็นวิชาที่สืบทอดตำรับของวัดกลางบางแก้วอย่างสมบูรณ์

ยา จินดามณี ใช้อธิษฐานทำน้ำมนต์ อาบ กิน ป้องกันและปัดเสนียดจัญไร บูชาติดตัวไว้จะเป็นเสน่ห์ เมตตามหานิยม เจริญด้วยโชคลาภ หญิงมีครรภ์รับประทาน 3 เม็ดคลอดลูกง่าย มีผิวพรรณวรรณะผุดผ่องใส สติปัญญาดี

นอกจากนี้ หลวงปู่เจือยังได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายแก่ศิษยานุ ศิษย์อีกหลายแบบหลายรุ่น เช่น เหรียญเสมาหลวงปู่เจือ รุ่น 1 พ.ศ.2534 เนื้อเงิน เนื้อกะไหล่ทอง รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชา พระพิฆเนศวรบูชา พระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ พระพิมพ์ปรกโพธิ์เนื้อผง พระนางพญาสะดุ้งกลับเนื้อผงขมิ้นเสก และเนื้อดินเผา พระพิมพ์เศียรโล้น พระพิมพ์ซุ้มแหลม พระขุนแผนเคลือบ เหรียญหล่อหลวงปู่เจือ พระปิดตา เนื้อผง ผ้ายันต์และยาจินดามณี

หลวงปู่เจือดำเนินชีวิตด้วยความมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในลาภสักการะ เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ส่งผลให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ความ เรียบง่ายของหลวงปู่เจือ เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อมีชาวบ้านไปขอบูชาเบี้ยแก้ที่กุฏิ แล้วให้ท่านประสิทธิ์ประสาท หลวงปู่จะเมตตาทำให้ทุกคน บางคนให้ท่านปลุกเสก ลงเหล็กจาร ท่านจะเมตตาตั้งใจทำอย่างดี เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น

ในอดีต เมืองนครปฐม ปรากฏนามสุดยอดพระเกจิอาจารย์หลายรูป โดยเฉพาะ วัดกลางบางแก้ว มีหลวงปู่บุญ ขันธโชติ และหลวงปู่เพิ่ม ปุญญาวสโน

แม้ บูรพาจารย์ทั้ง 2 ท่าน จะล่วงลับดับสังขารไปแล้ว แต่วัดกลางบางแก้ว ยังมี หลวงปู่เจือ ปิยสีโล ศิษย์เอกสายตรงหลวงปู่เพิ่ม เป็น ผู้สืบทอดวิทยาคมอันเข้มขลัง

บัดนี้ สิ้นบุญหลวงปู่เจือ พระเกจิอาจารย์ที่มีวัยวุฒิอาวุโสรูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ไปอีกรูปหนึ่ง

แม้ท่านจะละสังขารไปนานกว่า 4 ปีแล้ว แต่นามของหลวงปู่เจือ ยังคงอยู่ในศรัทธาของสาธุชนและศิษยานุศิษย์มิรู้เสื่อมคลาย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลวงปู่คำ จันทโชโต วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณฯ

หลวงปู่คำ จันทโชโต วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณฯ

อริยะโลกที่6

"พระครูสุวรรณวรคุณ" หรือ "หลวงปู่คำ จันทโชโต" อดีตเจ้าอาวาส วัดหน่อพุทธางกูร ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในสุดยอดพระคณาจารย์เมืองสุพรรณ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ

เกิดเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2430 เวลา 19.19 น. ตรงกับวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน ร.ศ.106 ณ บ้านพิหารแดง หมู่ 1 ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของ จีนฮั้ว แซ่ตัน หรือ แซ่ตั้ง มารดาชื่อ จันทร์ มีเชื้อสายชาวเวียงจันทน์

ใน วัยเด็กต้องกำพร้าบิดามารดาและอาศัยอยู่กับน้าชายชื่อ ทอง น้าสาวชื่อ หริ่ม กระทั่งอายุ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมะนาว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันอังคารที่ 8 เม.ย.2445 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก พระอาจารย์คำตา และอยู่กุฏิเดียวกับพระปลัดบุญมี ซึ่งเป็นญาติกับท่าน พร้อมกับศึกษามูลกัจจายน์และอักขระขอมไทยกับขอมลาว

ต่อมาญาติของท่านชื่อ พระอาจารย์บุญมา บวชอยู่ที่วัดภาวนาภิรตาราม อ.บางกอกน้อย ธนบุรี ชักชวนให้ไปเรียนหนังสือต่อที่วัดแห่งนี้

ท่านตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์กับหนังสือใหญ่ (หนังสือขอม) ด้วยความขยันขันแข็ง

เมื่อ อายุ 21 ปี ท่านได้กลับไปอุปสมบทที่วัดมะนาว เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2451 โดยมี พระครูวินยานุโยค วัดอู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดบุญมี เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และ พระช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า จันทโชโต

จากนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาวเรื่อยมา

ต่อ มาพระอาจารย์บุญมาได้กลับมาจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร ในราวปี พ.ศ.2452 ได้ชักชวนให้ท่านมาอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูร (วัดมะขามหน่อในขณะนั้น) เพื่อช่วยพัฒนาวัด

ภายหลังจากที่พระอธิการ บุญมาถึงแก่มรณภาพราวปีพ.ศ.2458 คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงปู่คำรักษาการแทน ก่อนจะเป็นเจ้าอาวาสอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2471 อายุ 41 ปี

วันที่ 5 ธ.ค.2498 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูสุวรรณวรคุณ

อุปนิสัย ใจคอของหลวงปู่คำเยือกเย็น ถ้าใครพบเห็นจะมีความรู้สึกเคารพนับถือ เพราะใบหน้าท่านยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา พูดค่อยและช้า แต่วาจาศักดิ์สิทธิ์มาก ท่านมีความมักน้อยในจิตใจ แต่มักใหญ่ในการก่อสร้างเสนาสนะ เช่น การสร้างอุโบสถ ศาลาการ เปรียญคอนกรีต และโรงเรียนประชาบาล

ด้านการปกครอง ท่านมีปฏิปทาในหลักธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้ประพฤติอยู่ในระเบียบวินัยสงฆ์ โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัดหน่อพุทธางกูรไม่ว่าจะบวชนาน หรือบวช 3 เดือน จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยและต้องสอบธรรมสนามหลวง

ด้าน วิทยาคม ท่านศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว พระเกจิอาจารย์ดังของเมืองสุพรรณ

นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในทางแพทย์โบราณ รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการดูฤกษ์ยามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรส อุปสมบท ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก จนกระทั่งสร้างยุ้งข้าว

หลวง ปู่คำสร้างมงคลวัตถุขึ้นหลายอย่าง อาทิ รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อทองเหลืองรมดำ นอกจากนี้ ยังมี พระเครื่องเนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผง และผงใบลานเผา อีกหลายพิมพ์

ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสของท่านมีอยู่หลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ พระเอกยอดนิยม "มิตร ชัยบัญชา" ซึ่งให้ความเคารพนับถือท่านมากเมื่อครั้งที่มิตรเสียชีวิตท่านได้เล่าให้ ศิษย์ฟังว่า วันที่มิตรเสียไม่ได้ห้อยพระของท่าน ไม่งั้นคงไม่ตาย

ยัง มี "สุรพล สมบัติเจริญ" ราชาเพลงลูกทุ่งไทย คนบ้านวัดไชนาวาสที่ให้ความนับถือท่าน และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่คำยังไม่โด่งดัง

วาระสุด ท้าย หลวงปู่คำมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 26 ก.พ.2513 เวลา 17.43 น. สิริอายุ 83 ปี จัดงานพระราช ทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2514

มีลูกศิษย์ลูกหาประชาชนเข้าร่วมงานกันล้นหลาม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รูปหล่อ"หลวงพ่อสมชาย" วัดหนองพิกุล ทับสะแก

รูปหล่อ"หลวงพ่อสมชาย" วัดหนองพิกุล ทับสะแก
เจริญ อาจประดิษฐ์
"หลวง พ่อสมชาย อธิปุญโญ" หรือ "พระครูวิบูลธรรมารักษ์" วัดหนองพิกุล อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอทับสะแก พระเถระที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านในชุมชน

หลวงพ่อสมชาย เป็นพระเถระที่สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กในชนบทได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน หนังสือภายในวัด ทั้งทางธรรม และการศึกษาภาคปกติ มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากที่จบจากโรงเรียนวัดหนองพิกุล ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากมาย

แต่สิ่งที่ได้รับการสั่งสอน คือ เป็นคนดี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน

มี นามเดิม สมชาย วิริยะบุญญาภิวาท ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ จ.นนทบุรี อายุ 25 ปี อุปสมบทที่วัดเสมียนนารี กรุงเทพฯ และย้ายมาจำพรรษาที่วัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเซิงหวาย)

ต่อมา พ.ศ.2512 พระครูวิบูลย์โชติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดเซิงหวาย มอบหมายให้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์หนองพิกุล เพื่อดูแลการก่อสร้างสำนักสงฆ์ ประกอบกับได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในท้องถิ่นอย่างดียิ่ง วัดได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างมาก กระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอาราม มีการสร้างอุโบสถหลังใหญ่ จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต

ในปี พ.ศ.2518 หลวงพ่อสมชายได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูวิบูลย์ ธรรมารักษ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทับสะแก

จนกระทั่ง วันที่ 25 พ.ย. 2555 หลวงพ่อสมชาย อธิปุญโญ เจ้าอาวาสวัดหนองพิกุล มรณภาพด้วยโรคประจำตัว หลังเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทับสะแกนานกว่า 6 เดือน อายุ 77 พรรษา 52

นายณรงค์ นาคหาญ อดีตนายก อบต.ทับสะแก ในฐานะที่เคยเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านหนองพิกุล มีความประสงค์จัดสร้างหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงพระครูวิบูลธรรมารักษ์ หรือหลวงพ่อสมชาย อัญเชิญประดิษฐานไว้ภายในวัดหนองพิกุล เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคีในชุมชน


ต่อ มาเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2556 เวลา 12.00 น. ที่ วัดวิบูลธรรมาวาส หรือวัดหนองพิกุล อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชสุทธิโมลี เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายณรงค์ นาคหาญ อดีตนายก อบต.ทับสะแก พร้อมด้วย นายสุรศิลป์ ยนปลัดยศ นายก อบต.แสงอรุณ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เข้าร่วมพิธีเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง โดยได้รับความร่วมมือจากศิษยา นุศิษย์ทั่วประเทศ

นอกจากพิธีเททอง หล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงหลวงพ่อสมชาย ยังมีการจัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อสมชาย หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อผสมทองเหลือง ทอง นาก จำนวน 300 องค์ เปิดให้เช่าบูชาองค์ละ 999 บาท สำหรับเป็นทุนในการจัดสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อสมชายองค์ใหญ่

มีพระราช สิทธิญาณหรือหลวงพ่อเตือน วัดเขาโบสถ์, หลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน จ.ชุมพร, หลวงพ่อสุพรรณ ปัญญาวุฑโฒ วัดน้ำตกห้วยยาง, หลวงพ่อสมพงษ์ อัคคปัญโญ วัดหนองหอย ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต

หลังจากนั้น เปิดให้คณะศิษยานุศิษย์ได้สั่งจองวัตถุมงคลนำกลับไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล

พระ อาจารย์สมหมาย วชิโร เจ้าอาวาสวัดหนองพิกุล รูปปัจจุบัน กล่าวว่า แม้จนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อสมชายยังคงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทับสะแก ที่ผ่านมาหลวงพ่อสมชายสั่งสอนอบรมพระภิกษุ-สามเณร และสาธุชน ให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต ทำให้ลูกศิษย์ลูกหามีความเจริญก้าวหน้า แม้สังขารจะดับสูญไปแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงหลวงพ่อสมชายให้เราได้สักการบูชา เป็นอนุสรณ์แห่งความดี ที่ท่านอบรมให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติสืบไป

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม

หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม
อริยะโลกที่6

"พระ ครูสถาพรพุทธมนต์" หรือ หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อ.บางเลน จ.นครปฐม พระเกจิดังแห่งเมืองนครปฐม ท่านศึกษาวิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

หลวงพ่อสำเนียง ประสูติเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2460 ตรงกับวันศุกร์ ปีมะเส็ง แรม 4 ค่ำ เป็นพระโอรสในพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และหม่อมทองนุ่น

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการจากรัชกาลที่ 6 ให้ไปซื้อเรือพระร่วงที่ประเทศอังกฤษ จึงนำหม่อมทองนุ่น ไปฝากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ครั้นท่านประสูติ หลวงปู่ศุข จึงตั้งนามว่า "สำเนียง" แปลว่า "เสียง" เมื่อเสด็จพ่อทรงทราบจึงพระราชทานนามว่า "หม่อมเจ้าสถาพร อาภากร"

ประสูติได้ 7 วัน หม่อมทองนุ่นเสียชีวิต จนมีพระชันษาได้ 6 ปี เสด็จพ่อก็สิ้น พระชนม์ ในวังเริ่มระส่ำระสาย นายเอมพระสหายของเสด็จพ่อนำไปฝากไว้กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา พระขนิษฐาของเสด็จพ่อ ส่งให้ไปศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก จบมัธยมปีที่ 8 ต่อมาศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. เข้ารับราชการทหารที่กรมสื่อสารทหารบก ยศร้อยเอกดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองต่างประเทศในหน้าที่แปลข่าวสารต่างประเทศ และได้ร่วมรบในสงครามอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา

พอกลับจากศึก สงคราม ก็ถูกมรสุมร้ายทางการเมืองกระทำ ต้องถูกจองจำพร้อมกับจอมพลป.พิบูลสงคราม-หลวงเสรี-หลวงวิจิตรวาทการ และคนอื่นๆ ในข้อหาอาชญากรสงคราม เมื่อได้รับการปลดปล่อยหลวงเสรีได้ไปบวชที่วัดเบญจมบพิตร ส่วนหลวงพ่อสำเนียงท่านไปบวชอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ท่าน ตั้งใจบวชเพียง 15 วัน แต่พอบวชได้ 3 วัน มีเหตุการณ์การเมืองขึ้นมาอีก จึงทำให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ เหตุการณ์บ้านเมืองกำลังยุ่งเหยิง จอมพลป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง แต่ต้องการให้หลวงพ่อสำเนียงกลับไปรับราชการอีก ทว่าท่านไม่ยอมสึก ทั้งได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่าจะขอยึดเอาผ้ากาสาวพัสตร์หุ้มห่อร่างกายจน กระทั่งตาย

ดังนั้น จึงมุ่งสู่ชนบท ได้เห็นวัดแหลมชะอุย คือ "วัดเวฬุวนาราม" ในปัจจุบัน

ชื่อ เสียงของหลวงพ่อสำเนียงอีกด้าน คือ การรักษาโรคและยังเป็นพระนักพัฒนา ได้พัฒนาวัดเวฬุวนาราม และสร้างโรงเรียนสถาพรวิทยา ให้เด็กในชุมชนได้มีโรงเรียนศึกษา ตั้งมูลนิธิช่วยเหลือเด็กกำพร้า

พ.ศ.2523 รับโล่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติดีเด่นเป็นพิเศษ ของมูลนิธิสรรพวรรณิต จากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปี 2527 รับโล่สดุดี "นักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นประจำปี" จากมูลนิธิศาสตราจารย์ ปกรณ์ อังศุสิงห์

พ.ศ.2528 สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศสดุดีให้พระครูสถาพรพุทธมนต์ เป็นพระดีเด่นประจำชาติ และปูชนียบุคคลที่นั่งอยู่ในหัวใจคนทั้งชาติ

วัตถุ มงคลยอดนิยมของหลวงพ่อสำเนียง ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเหรียญ ซึ่งมีอยู่หลายรุ่น ส่วนประเภทเนื้อผง คือ "พระสมเด็จนะฤๅชา" ที่อัดแน่นด้วยมวล สารศักดิ์สิทธิ์ และผ่านการปลุกเสกถึง 2 ครั้ง โดยร่วมในพิธีพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2500 ที่มีสุดยอดคณาจารย์ 108 รูปอธิษฐานจิต

ครั้งแรกได้ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกเมื่อตอนจัด สร้างเสร็จ โดยหลวงพ่อสำเนียง เป็นประธานในพิธี ครั้งที่ 2 หลวงพ่อสำเนียง นำไปร่วมปลุกเสกในพิธีพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2500 โดยมียอดพระเกจิอาจารย์แห่งยุคร่วมปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น รวมทั้งตัวหลวงพ่อสำเนียง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2531 สิริอายุ 71 ปี

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php


พ.อ.กฤษดา สาริกา แขวน"พระหูยานลพบุรี"

พ.อ.กฤษดา สาริกา แขวน"พระหูยานลพบุรี"

พระเครื่องคนดัง

"พระ พุทธองค์ ท่านสอนให้เราคิดดี ทำดี ประพฤติดี จงรักภักดี เป็นการเตือนสติให้กระทำแต่ความดี ประพฤติดี ละเว้นการทำความชั่วหรือการ กระทำที่ผิดศีลธรรม และเชื่อว่าการกระทำความดีนั้นไม่มีที่สิ้นสุดทำได้ตลอดเวลา ที่ยังมีลมหายใจอยู่" เป็นคติความเชื่อของ พ.อ.กฤษดา สาริกา ผบ.กองดุริยางค์ทหารบก (ผบ.ดย.ทบ.) ยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอด

พ.อ.กฤษ ดา หรือ "ผู้การดา" เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความชื่นชอบสะสมวัตถุมงคลและพระเครื่องมายาวนาน ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 จปร.รุ่นที่ 31

หลัง จบจากโรงเรียนนายร้อย ปี 2527 ติดยศร้อยตรีที่อีสานเหนือ ที่ ร.3 พัน.3 ค่ายพระยอดเมืองขวาง อ.เมือง จ.นครพนม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งธรรมะ ที่มีพระเกจิอาจารย์ในยุคนั้นมากมาย

พ.อ.กฤษดาบอกเล่าว่า สมัยที่ประจำการที่เมืองนครพนม มีโอกาสเข้าไปกราบนมัสการขอพรจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่าน อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย และพระเกจิอีกหลายรูป

กระทั่งได้เข้ากราบนมัสการ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม และฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้สอนหลักธรรมมากมายให้ตนยึดถือและนำมาปฏิบัติ จวบจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ท่านยังได้มอบพระเครื่องไว้ให้บูชาอีกด้วย

ผู้การดาเล่าถึง การสะสมวัตถุมงคลว่า "การสะสมพระเครื่องของผมนั้น ส่วนใหญ่ผมไม่ได้ไปหาเช่าบูชาที่ไหนเลย มีแต่ผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ รวมถึงได้รับจากพระเถระที่เข้าไปกราบสักการะ มอบให้มาทั้งสิ้น ซึ่งผมคิดว่าผู้ที่ให้พระมานั้น คือ ผู้ที่รักและปรารถนาดีกับตัวเรา มีความตั้งใจที่ดี เมื่อได้รับมา ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็น สิริมงคลกับตัวมาตลอด"

สำหรับพระเครื่องที่พ.อ.กฤษดาคล้องอยู่มี เพียงองค์เดียว คือ พระหูยานลพบุรี ได้รับจากอดีต ผู้บังคับบัญชามอบให้ ซึ่งเป็น พระที่ศรัทธา เพราะเป็นพระที่บ้านเกิด ซึ่งตนนำมาแขวนคล้องคอมาโดยตลอด สลับกับพระสมเด็จเบญจรงค์ เป็นพระที่ไม่ดังแต่มีพุทธคุณเมตตาแคล้วคลาด สูงมาก ได้รับมาจากหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี

"ผมคิดอยู่เสมอว่าพระทุกองค์ที่คล้องอยู่ในคอ ก่อนเดินทางออกจากบ้าน พระทุกองค์ท่านมีพุทธคุณที่ดี ก็จะอาราธนาท่านเพื่อให้คุ้มครองในการเดินทางให้แคล้วคาด ปลอดภัย ซึ่งทำให้เรามีกำลังใจ และมั่นใจในการทำงาน"

ส่วนหลักปฏิบัติในแต่ละ วัน พ.อ.กฤษดาบอกว่า จะกินอาหารเจ อาทิตย์ละ 3 วัน คือ วันพฤหัสบดี เพราะเป็นวันครู วันพระ เป็นการทำบุญ และวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันเกิด เพื่อเป็นการทำบุญสร้างกุศลให้กับตัวเอง ครอบครัว ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ได้มีแต่ความสุข พบเจอแต่สิ่งที่เป็นมงคลกับชีวิต และให้มีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน "ช่วงเวลาว่าง ผมมักนำพระเครื่องมาส่องดู เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะส่วนใหญ่พระที่ได้มาก็ได้มาจากผู้ใหญ่ เพื่อนๆ และลูกน้อง พระที่ได้ทุกองค์ ผมถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่า ที่เขาตั้งใจมอบมาให้เรา ต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี และนำทุกองค์มาศึกษาดูประวัติ เพื่อเป็นความรู้"

"ทหาร เป็นรั้วของชาติ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามชายแดนปกป้องอธิปไตย ที่ต้องตื่นตัวและมีความเสี่ยงอยู่ทุกขณะ ทำให้ต้องไขว่คว้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวใจ เพราะเราต้องปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนอย่างสุดความสามารถ" พ.อ.กฤษดากล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระพลบดี 80 ปี กรมพลศึกษา

พระพลบดี 80 ปี กรมพลศึกษา

เปิดตลับพระใหม่
ใน โอกาสที่กรมพลศึกษาครบรอบ 80 ปี นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา จัดสร้างวัตถุมงคลองค์พระพลบดี (พระอินทร์) ทรงช้างเอราวัณ ยืนอยู่บนก้อนเมฆ พระหัตถ์ขวาถือพระวชิราวุธ พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ แสดงถึงความแข็งแรงและทรงพลัง

ความเป็นมาของพระพลบดี เนื่องจากอธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก คือ น.ท.หลวงศุภชลาศัย เป็นทหารเรือ จึงได้นำเอาช้างเอราวัณที่มีอยู่ในตราราชวัลลภ และหมายถึงประเทศไทยมาใช้ในตราของกรมพลศึกษา

พระพลบดีเป็นนามของพระ อินทร์ ในความหมายว่า เทพผู้เป็นราชาแห่งพละ 5 ซึ่งได้แก่กำลังหรือพลัง 5 ข้อ มีชื่อเช่นเดียวกันกับอินทรีย์ 5 คือ 1.สัทธาพละ กำลังคือศรัทธา 2.วิริยะพละ กำลังคือวิริยะความเพียร 3.สติพละ กำลังคือสติ 4.สมาธิพละ กำลังคือสมาธิ 5.ปัญญาพละ กำลังคือปัญญา

ประกอบพิธีเทวาภิเษก-พุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อวันเสาร์ที่ 12 ต.ค.2556

ใน ช่วงเช้าเวลา 10.39 น. พิธีบวงสรวง อดีตพระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข เกสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า, กรมหลวงชุมพรฯ และพระพลบดี โดยมีบัณฑิตพราหมณ์อ่านโองการอัญเชิญดวงวิญญาณบูรพาจารย์ นางแสงจันทร์ ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาบวงสรวง

เมื่อบวงสรวงเสร็จ ในช่วงบ่ายพระสงฆ์ 9 รูป พร้อมทั้ง "พระราชสุทธิโสภณ" เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า ลงสู่อุโบสถ จากนั้น นางแสงจันทร์ ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ครั้นได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์ 13.09 น. พระราชสุทธิโสภณจุดเทียนชัย และอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลพระพลบดี พร้อมกับพระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และดับเทียนชัยเวลาประมาณ 15.00 น.

สำหรับ พิธีเทวาภิเษก-พุทธาภิเษกวัตถุมงคลองค์พลบดีครั้งนี้นับว่าเข้มขลังเป็น อย่างยิ่ง ด้วยปลุกเสกในอุโบสถเก่าของวัดปากคลองมะขามเฒ่า สถานที่ซึ่งในสมัย หลวงปู่ศุขท่านใช้โบสถ์หลังนี้ปลุกเสก พระของท่านมาก่อน

"พระพลบดี 80 ปี กรมพลศึกษา" รุ่นนี้จึงนับได้ว่าประกอบพิธีกรรมทั้ง เทวา-พุทธา ได้ถูกต้องตามโบราณาจารย์ทุกประการ

ซึ่ง ในโอกาสครบรอบ 80 ปี กรมพล ศึกษา วันที่ 9 ธ.ค.2556 ได้มอบวัตถุมงคลอันทรงคุณค่า ให้แก่คณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมพลศึกษา เพื่อความเป็น สิริมงคล

ถือเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของกรมพลศึกษา

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

"วัดเทวราช" พุทธาภิเษก พระกริ่งใหญ่เทวราช

"วัดเทวราช" พุทธาภิเษก พระกริ่งใหญ่เทวราช
พระกริ่งใหญ่เทวราช
ใกล้ ถึงวันอันเป็นมงคลฤกษ์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก "พระกริ่งใหญ่เทวราช" ในวันอาทิตย์ที่ 29 ธ.ค.2556 เวลา 15.19 น. ณ พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ในศุภมงคลวาระขึ้นปีใหม่ 2557 พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร รองเจ้าคณะภาค 13 มีดำริสร้างพระกริ่งใหญ่เทวราช มอบเป็นของขวัญและสิริมงคลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้งสมทบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไป

พระกริ่ง รุ่นนี้ขนานนามว่า "พระกริ่งใหญ่เทวราช" สร้างตามตำราโบราณประเพณี ซึ่งเชื่อกันว่าการสร้างพระกริ่งเป็นเครื่องป้องกันอุปสรรค แก้อาถรรพ์ แช่น้ำอธิษฐานเป็นน้ำมนต์ แก้โรคภัยไข้เจ็บ และให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

"พระ กริ่งใหญ่เทวราช" (กริ่ง อิติ มะหันตัง เทวะราชัง นามะ) มีคำอธิษฐานว่า "อิมัง หิรัญญะสุวัณณัง กริ่ง อิติ มะหันตัง เทวะราชัง นามะ พุทธะรูปัง กัตวา อะธิฏฐามิ" ใต้ฐานจารึกพระนามพระพุทธเจ้าโคตโม ด้วยอักษรขอม

อีก ทั้งได้รับความเมตตาจากอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ มอบชนวนกระแสพระกริ่งชินบัญชรและแผ่นยันต์ของหลวงปู่ทิม อิสริโก หลายรุ่นที่หล่อหลอมรวมกันเป็นชนวนเก่า ถวายพระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร


จากนั้นประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่ง ใหญ่เทวราช เททองโบราณย้อนยุคในฤกษ์ทุกองค์ เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2556 เวลา 15.49 น.ที่มณฑลพิธี ภายในพระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร มี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเททอง, นายพิพัฒน์ ลาภประเสริฐ ประธานสภากรุงเทพฯ จุดเทียนมงคลนำฤกษ์, นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพฯ จุดเทียนชัยในฤกษ์

พระเกจิ นั่งปรกอธิษฐานจิต คือ พระครูวิสุทธิกิจจานุรักษ์ (หลวงพ่อไพฑูรย์) วัดยุคลราษฎร์สามัคคี จ.ชลบุรี นั่งปรก 4 ทิศ อธิษฐานจิตขณะเททอง มีพระครูอุทิตศุภการ (หลวงพ่อเขียว) วัดอมฤตวารี จ.อุทัยธานี, พระครูอุทิตกิตติสาร (หลวงพ่อมานัส) วัดคูเมือง จ.อุทัยธานี, พระมหาบุรี อธิปัญโญ วัดบ้านในบน จ.ชลบุรี และพระมหาธรรมทศ ขันติพโล วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

สำหรับรายการวัตถุมงคล มีดังนี้

1.พระ กริ่งใหญ่เทวราช เนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน สร้างจำนวน 9 ชุด (1 ชุด มี 3 องค์) บูชาชุดละ 199,999 บาท 2.พระกริ่งใหญ่เทวราช เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะแก่ทอง สร้างจำนวน 9 ชุด (1 ชุด มี 3 องค์) บูชาชุดละ 149,999 บาท 3.พระกริ่งใหญ่เทวราช เนื้อนวโลหะ ก้นทอง ก้นเงิน ก้นทองแดง สร้างจำนวน 59 ชุด (1 ชุด มี 3 องค์) บูชาชุดละ 24,999 บาท 4.พระกริ่งใหญ่เทวราช เนื้อนวโลหะ ก้นเงิน สร้างจำนวน 499 องค์ บูชาองค์ละ 2,999 บาท 5.พระกริ่งใหญ่เทวราช เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 999 องค์ บูชาองค์ละ 2,499 บาท พระกริ่งใหญ่เทวราชทุกรายการมีโค้ดมีหมายเลขกำกับทุกองค์

สำหรับพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 29 ธ.ค.2556 เวลา 15.19 น. ณ พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต กรุงเทพฯ มีกำหนดการดังนี้

พระ เทพคุณาภรณ์จุดเทียนชัย อธิษฐานจิต และพระเกจิสายบูรพานั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย 1.พระครูสังฆกิจบูรพา (หลวงปู่บัว) วัดศรีบูรพาราม จ.ตราด 2.พระครู สุภัทราจารคุณ (หลวงพ่อสิน) วัด ละหารใหญ่ จ.ระยอง 3.พระครูวิจิตรธรรมาภิรัต (หลวงพ่อเชย) วัดละหารไร่ จ.ระยอง 4.พระครูโสภณพัฒนาภิรม (หลวงปู่บุญ) วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี 5.พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ (หลวงพ่อขวัญชัย) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี และ 6.พระครูปลัดนิวัตร (พระอาจารย์ตุ๊กแก) วัดคมบาง จ.จันทบุรี

พิธี สำคัญประกอบด้วย 1.พระสงฆ์สวดพระปาติโมกข์ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสำริดชนวนมวลสารก่อนเททอง 2.สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร ให้เกิดความสำเร็จตามแนวทางมรรคอริยสัจ 3.สวดธชัคคสูตร เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ คราวที่ท้าวสักกเทวราชให้เหล่าเทพยดาดูยอดธง เพื่อระงับความหวาดกลัวด้วยพุทธานุภาพ 4.สวดมหาสมัยสูตร เพื่อเชิญเหล่าเทพยดามาชุมนุม การสร้างพระกริ่งเทวราชนี้เน้นพิธีกรรมและความตั้งใจด้วยจิตที่บริสุทธิ์

ทั้ง นี้ ขอเชิญสาธุชนเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งใหญ่เทวราช ในวันอาทิตย์ที่ 29 ธ.ค.2556 เวลา 15.19 น. ณ พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยพร้อมเพรียงกัน

สำหรับพระกริ่งใหญ่เทวราชเปิดจองตั้งแต่บัดนี้ ไปจนถึงวันเสาร์ที่ 28 ธ.ค.2556 กำหนดรับพระวันที่ 1 ม.ค.2557 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2557
ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร.0-2281-2430

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

ปลัดขิกบินได้ เครื่องรางหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ

ปลัดขิกบินได้ เครื่องรางหลวงพ่อยิด
 
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

ปลัดขิก นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอย่างหนึ่งสำหรับคนไทย ซึ่งมีการจัดสร้างกันหลายสำนัก แต่ที่มีความโดดเด่นเป็นที่นิยมแสวงหากันมาก โดยเฉพาะบรรดาตำรวจทหาร ก็ต้องยกให้ "ปลัดขิกหลวงพ่อยิด" วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ หรือ พระครูนิยุตธรรมสุนทร เกิดเมื่อปี พ.ศ.2476 ในตระกูลศรีดอกบวบ อายุได้ 6 ขวบ บิดามารดานำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล ผู้เป็นหลวงน้า ที่วัดนาพรหม และได้บรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุ 9 ขวบ โดยมี พระอธิการหวล เป็นอุปัชฌาย์ ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับ พระอธิการหวล และ ครูหลี แม้นเมฆ

ท่านสนใจในด้านวิชาอาคมและสักยันต์ เป็นพิเศษ และได้ออกธุดงค์กับพระอุปัชฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรถึง 4 ปี จากนั้นได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่

ในช่วงนี้เองที่ท่านเริ่มมี ชื่อเสียงจากการ "สักยันต์" เนื่องจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้สักยันต์ให้ แล้วเกิดมีประสบการณ์มากมายจนเล่าสู่กันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุประมาณ 17-19 ปี เท่านั้น

พออายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท มี หลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออก ธุดงควัตรไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ จนเลยไปถึงฝั่งพม่านานหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ.2487

เมื่อ ได้ทราบข่าวบิดาป่วยจึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสีย และลาสิกขาออกมาเพื่อดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก บรรดาลูกศิษย์เก่าๆ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักยันต์กันเพิ่มขึ้นจนช่วงนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เมื่อโยมมารดาถึงแก่กรรมใน ปี พ.ศ.2518 ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมี หลวงพ่อเปี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทสุวัณโณ" เช่นเดิม

จากนั้นไปจำ พรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินพื้นที่ป่าให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เพื่อให้ท่านสร้างวัดขึ้น เมื่อบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์และพวกที่เคยได้รับการรักษายา สมุนไพรได้ทราบข่าวต่างก็มาร่วมกันถางป่า พัฒนาจากพื้นที่รกทึบจนสร้างกุฏิและเสนาสนะขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน

หลวงพ่อยิดได้ชื่อว่าเป็น นักพัฒนา ได้พัฒนาวัดหนองจอกจนเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาจิตใจและการศึกษาของเยาวชน โดยสนับสนุนด้านทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวันแก่โรงเรียนหลายแห่งใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งร่วมสร้างสาธารณ ประโยชน์แก่สถานที่ราชการและหน่วยราชการต่างๆ มากมาย

จนได้รับความ เลื่อมใสศรัทธาจากบรรดานายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป พร้อมกันนั้นได้ขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ฯลฯ เนื่องจากเชื่อกันว่าวัตถุมงคลของท่านมีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี พรรษา 30

วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อก็คือ "ปลัดขิก" ที่เล่ากันว่าสร้างปาฏิหาริย์บินได้ จนเป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ทหารและตำรวจ เพราะมีคติความเชื่อว่า "ใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้ว จะดีเด่นในด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง" อีกทั้งผู้บูชาได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ เป็นที่ปรากฏ ชื่อเสียงของหลวงพ่อยิดจึงโด่งดังมากตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่จน ถึงปัจจุบัน ถึงแม้ หลวงพ่อยิดท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของ หลวงพ่อยิดก็ยังคงเป็นที่นิยมเล่นหาบูชากันอย่างกว้างขวาง

ปลัดขิก หลวงพ่อยิด มีทั้งที่วัดแกะเองและชาวบ้านแกะมาถวาย มีอาทิ รุ่นเสาร์ 5 พ.ศ.2536, รุ่น เสกตะปูถอน ไตรมาส พ.ศ.2535 และปลัดขิกเนื้อโลหะที่ได้รับความนิยมอย่าง รุ่นเจริญพร พ.ศ.2537

ตอนนี้เนื้อทองคำอยู่ที่หลักหมื่นปลายๆ เนื้อนวะ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงอยู่ในหลักพันต้นๆ แล้วครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เต่าเรือนเรียกทรัพย์ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ

เต่าเรือนเรียกทรัพย์ หลวงปู่นะ

คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่

"พระ ครูปทุมชัยกิจ" หรือ "หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ" เจ้าอาวาส วัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา ทายาทสืบสายพุทธาคม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
ปัจจุบันสิริอายุ 97 ปี พรรษา 76
เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 ธ.ค.2459

อุปสมบท เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2480 ณ พัทธสีมา วัดราษฏร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยมี พระครูวิจิตรชัยการ (หลวงพ่อเคลือบ) วัดบ่อแร่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ศรี วัดหนองแฟบ มีความรู้ด้านการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และท่านยังศึกษาวิทยาคม เลขยันต์พันคาถาจากตำรา พระปลัดปั่น เจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม รูปที่ 9

พ.ศ.2556 พระครูวิชาญธรรมภาณี เจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2 รองเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม (หนองบัว) มีแนวคิดที่จะปรับปรุงวัดปทุมธาราม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งต้องใช้ปัจจัยจำนวนไม่น้อยในการพัฒนา ประกอบกับ หลวงปู่นะ เป็นพระเกจิชื่อดัง มีอายุวัฒนมงคลครบ 97 ปี

คณะศิษยา นุศิษย์ และกรรมการวัด มีมติให้จัดสร้าง "เต่าเรือนเรียกทรัพย์ หลวงปู่นะ" มีเนื้อทองคำ 25 องค์, เนื้อเงินสามกษัตริย์ 98 องค์, เนื้อเงินหน้ากากทอง 1,000 องค์, เนื้อเงิน 900 องค์, เนื้อนวะแก่เงิน 2,000 องค์, เนื้อนวะ 2,000 องค์, เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน 1,000 องค์, เนื้อดีบุก 2,000 องค์, เนื้อทองเหลือง 1,000 องค์ และเนื้อทองแดง 1,000 องค์

วันศุกร์ที่ 29 พ.ย.2556 เวลา 14.19 น. วัดปทุมธาราม (หนองบัว) ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเต่าเรือนเรียกทรัพย์ หลวงปู่นะ มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต รวม 9 รูป หลวงปู่นะ เป็นประธานจุดเทียนชัย, หลวงพ่อทวีศักดิ์ (เสือดำ) วัดศรีนวลธรรมวิมล, หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน, หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค, หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี, หลวงพ่อวิชา วัดศรีมณีวรรณ, หลวงปู่ฤๅษีตาไฟ วัดเทพหิรัณย์ และหลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก มีนายกำธร ถาวรสถิต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ร่วมพิธีด้วย

ลักษณะเต่าเรือน เรียกทรัพย์หลวงปู่นะ รุ่นนี้ บนหลังพญาเต่าเรือนเป็นรูปนูน หลวงปู่นะ นั่งท่ามารวิชัยเต็มองค์ ล้อมรอบด้วยพระคาถาอักขระขอม บารมี 30 ทัศ, ที่เท้าทั้งสี่เป็นตัวเลข ยันต์ตรีนิสิงเห เท้าหน้า ซ้าย-ขวา เป็นยันต์หัวใจธาตุทั้ง 4 (นะ มะ พะ ทะ) และหัวใจธาตุกรณี (จะ พะ กะ สะ), เท้าหลัง ซ้าย-ขวา เป็นยันต์หัวใจ อิทธิเจ (อิ ทะ คะ มะ) และยันต์หัวใจแก้วทั้ง 4 (นะ มะ อะ อุ)

ส่วนด้านหลังเป็นยันต์หัวใจ เต่าเรือน (นา สัง สิ โม) ผูกยันต์เป็นรูปกระดองเต่า ที่เท้าทั้งสี่ตรึงด้วยธาตุทั้งสี่ (นะ มะ พะ ทะ) และด้านบนหัวของเต่า เป็นยันต์หัวใจเศรษฐี อุ อา กะ สะ)
ติดต่อสอบถามได้ที่วัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหรียญเจ้าสัวหลวงปู่บุญองค์แชมป์มีราคาสูงกว่า๒ล้าน

เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญองค์แชมป์มีราคาสูงกว่า๒ล้าน

เหรียญเจ้าสัวหลวงปู่บุญ องค์แชมป์มีราคาสูงกว่า ๒ ล้านบาท : พระองค์ครู เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู
             วัตถุมงคล ที่หลวงปู่บุญ หรือ พระพุทธวิถีนายก อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สร้างนั้นมีมากมาย อาทิ พระหลวงปู่บุญ เจ้าสัว รุ่นแรก, พระหลวงปู่บุญ พิมพ์เศียรโล้นสะดุ้งกลับ เนื้อผงยาจินดามณีและเนื้อดิน หรือแม้แต่เครื่องรางของขลังและเบี้ยแก้ต่างๆ ซึ่งล้วนทรงพุทธานุภาพเป็นที่ยอมรับและนิยมสะสมของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและนัก นิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
             ประการสำคัญ คือ หลวงปู่บุญ ถูกยกให้เป็นต้นตำรับ "ยาจินดามณี" ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ยาวาสนา" ที่ผู้ใดได้รับประทานก็จะเกิดสิริมงคลอย่างยิ่ง และตราบจนปัจจุบันวัตถุมงคลต่างๆ ของวัดกลางบางแก้วก็ยังคงใช้ "ผงยาจินดามณี ตำรับหลวงปู่บุญ" เป็นส่วนผสมในเนื้อหามวลสาร และยังคงไว้ซึ่งพุทธคุณแก่กล้าดังเดิม
             ในเรื่องของพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ห้อยบูชาเหรียญเจ้าสัวแล้วทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยทุกคน จึงได้รับสมญาว่าเหรียญเจ้าสัว อย่างในสมัยก่อนนั้น ผู้ที่บูชาเหรียญเจ้าสัวได้แก่เจ้าสัวหยุด เจ้าสัวชม เจ้าสัวโป๊ะ ชมภูนิช เจ้าสัวเป้า บุญญานิตย์ และกำนันแจ้ง ทุกท่านล้วนแต่มีฐานะร่ำรวย ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ล้วนแต่อุดมด้วยโชคลาภ ทรัพย์สินพูนทวีมีฐานะ เขาจึงมักเรียกเหรียญนี้กันว่า "เหรียญเจ้าสัว"
             เหรียญเจ้าสัวมีพุทธลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หูเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ นั่งขัดสมาธิเพชร บนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ด้านข้างมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว ๒ เส้นขนานกัน กรอบซุ้มหยักเข้ารูป พระเกศองค์แหลมเรียวยาวเกือบจรดเส้นกรอบซุ้ม พระเมาลีเป็นตุ่ม มีรายละเอียดที่เส้นสังฆาฏิ พระพาหากลม ด้านหลังเหรียญเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ หรือตัวหนังสือใดๆ แต่มีรอยตะไบ ที่ตกแต่งพิมพ์ให้เรียบร้อย บางเหรียญมีรอยเหล็กจาร ทั้งโดยลายมือของหลวงปู่บุญ และลายมือของหลวงปู่เพิ่ม หูเหรียญของแท้ ต้องมีร่องรอยเชื่อมหู ซึ่งเป็นรอยเก่าปรากฏอยู่ ในส่วนที่เป็นหูในตัวก็มีแต่มีน้อย
             เหรียญเจ้าสัว ถือว่าสุดยอดของเหรียญหลวงปู่บุญ สภาพสวยๆ ที่เรียกว่าองค์แชมป์มีราคาสูงกว่า ๒ ล้านบาท องค์ที่นำมาเป็นภาพพระองค์ครูเป็นของ "หนึ่ง เซ็นทรัล" หรือ "นายรัชต์ชยุตม์ กาญจนสินเกษม" ซึ่งเคยติดรางวัลที่ ๑ มาหลายสนาม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลวงพ่อไซร้ ติสสโร พระเกจิดัง-อุตรดิตถ์

หลวงพ่อไซร้ ติสสโร พระเกจิดัง-อุตรดิตถ์

อริยะโลกที่ 6

"พระครูนิกรธรรมรักษ์" หรือ "หลวงพ่อไซร้ ติสสโร" อดีตเจ้าอาวาส วัดช่องลม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

ท่าน มีนามเดิม "ไซร้ ทิพยาวงษ์" เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนนิกรรักษา กับนางแท่น ทิพยาวงษ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ก.พ.2436 ที่บ้านหนองเหี้ย ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 7 คน

สมัย หนุ่มท่านเป็นคนหน้าตาดี มีสง่าราศี รูปร่างสูงโปร่ง ผิวขาวสะอาด อัธยาศัยดี สงบเสงี่ยม กิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีเมตตาธรรมต่อผู้อื่นเสมอ

ก่อน อุปสมบทได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดอยู่กับ "หลวงพ่อฮวบ" เจ้าอาวาสวัดสามัคคยาราม และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยและภาษาขอมจนมีความรู้แตกฉาน และยังมีความชำนาญนำไปใช้ในการศึกษาธรรมะได้เป็นอย่างดี

ต่อมาได้ออก จากวัดหาดงิ้ว กลับไปอยู่บ้านช่วยเหลือบิดา-มารดา ประกอบอาชีพทำนาทำไร่อยู่ได้ระยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุ 16 ปี ด้วยนิสัยใฝ่เรียนรู้ด้านธรรมะ และมีความรักในสมณเพศ จึงบรรพชากับพระอธิการก้อน เจ้าอาวาสวัดช่องลม เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2452

อา ยุครบ 20 ปี เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดช่องลม ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2456 มี พระอธิการขีด วัดกุมภีร์ทอง ตำบลบ้านด่าน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจ้อน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการป้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ติสสโร"

ภายหลัง อุปสมบท ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมเอาใจใส่กิจวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง โดยอยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ที่วัดกุมภีร์ทองเป็นเวลา 4 พรรษา ก่อนย้ายไปจำพรรษาที่วัดดอยแก้ว ต.แสนตอ อ.เมือง และที่วัดหาดงิ้ว ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อฮวบ ที่วัดหาดงิ้ว จนมีความรู้อย่างแตกฉาน

จาก นั้นย้ายไปอยู่วัดช่องลมในเวลาต่อมา พระครูวิเชียรปัญญามหามุนี (เรือง) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดท่าถนนในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่าหลวงพ่อไซร้ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2462

ภาย หลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านเอาใจใส่ในการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์เสนาสนะ วางระเบียบแผนผังของวัดที่ท่านพำนักจนเป็นที่เรียบร้อย ดังปรากฏหลักฐานมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น หอไตร อุโบสถ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กำแพงรอบวัด โรงเรียนปริยัติธรรม และโรงเรียนประชาบาลวัดช่องลม การก่อสร้างและการปฏิสังขรณ์ดังกล่าว รวมทั้งอุโบสถของวัดหาดงิ้ว ศาลาการเปรียญวัดสามัคคยาราม และอุโบสถของวัดดอยท่าเสา เป็นต้น

เมื่อ ปี พ.ศ.2484 ประเทศไทยเข้าสู่สงครามอินโดจีนและมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ ต่างอยากได้ของดีของขลังไว้คุ้มครองตัว ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อไซร้ได้จัดสร้าง "พระปิดตา" เนื้อผงมหาอุดผสมว่านคงกระพันเคล้ารัก และปลุกเสกด้วยพระคาถา "โสฬสมหาอุดมหาสะท้อน" ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ที่คิดร้าย ปองร้าย จะถูกสะท้อนเข้าหาตัวเอง

หลวงพ่อไซร้ มรณภาพเมื่อวันที่ 17 ต.ค.2507 สิริอายุ 71 ปี พรรษา 51

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

ล็อกเกตรูปเหมือน หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

ล็อกเกตรูปเหมือน หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

เปิดตลับพระใหม่

"วัด บรรพตสุทธาราม" หรือ "วัดวังเรือน" ที่บ้านวังเรือน ต.วังงิ้วใต้ อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร ตั้งอยู่บนเนินเขา มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา
ปัจจุบัน พระครูพิสัยสุวรรณบรรพต (ขัน อัตตทันโต) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังเรือน รูปปัจจุบัน

เนื่อง ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนม พรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา วัดวังเรือน และคณะกรรมการ ดำเนินการก่อสร้างเจดีย์ บนยอดเขาวังเรือน ถวายเป็นพระราชกุศล และเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

ทั้งนี้ วัดวังเรือนดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นสร้างเจดีย์ โดยอัญเชิญรูปของ 3 พระมหาเถราจารย์ของเมืองไทย อันเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธ คือ 1.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม 2.หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ และ 3.หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เพื่อมอบเป็นสิ่งสักการะและที่ระลึก

ได้รับเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสก เดี่ยว โดยพระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณเที่ยง) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ และพระครูปทุมวรกิจ วัดบางกุฎีทอง ปทุมธานี พร้อมทั้งได้รับชนวนมวลสาร ผงพุทธคุณ แผ่นยันต์ 108 จากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิชื่อดัง นำมาหล่อหลอมเป็นชนวนมวลสาร จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นสร้างเจดีย์

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง เจดีย์และบูรณะเสนาสนะภายในวัดบรรพตสุทธาราม ในการนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมตตาประทานชนวนมวลสาร เพื่อนำมาสร้างวัตถุมงคลแด่ วัดบรรพตสุทธาราม จ.พิจิตร นับเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง

วัดวังเรือนยังอัญเชิญชนวนมวลสารบรรจุในด้านหลังล็อกเกตทุกองค์ เพื่อเป็นสิ่งสักการบูชา เป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมทำบุญสืบต่อไป

สำหรับ รายนามพระเกจิอาจารย์เมตตาจารแผ่นยันต์ศักดิ์สิทธิ์ 16 รูป อาทิ พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ, พระเทพสุวรรณโมลี วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระเทพรัตนากร เจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง จ.พระนคร ศรีอยุธยา, พระราชสารเวที วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ, หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์ เป็นต้น

ล็อกเกตรูปเหมือนหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ฉากขาว จำนวนสร้าง 1,925 องค์ ราคาเช่าบูชา 299 บาท

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่ทวด ใต้ฐานเขียนคำว่า "หลวงปู่ทวด วัดช้างให้"

ด้านหลังล็อกเกต ฝังตะกรุด 3 แถว เป็นแนวนอน ตอกโค้ดรูประฆัง และหมายเลขกำกับ ด้านล่างใต้ตะกรุดฝังเม็ดอัญมณี 3 สี

เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

"พยัพ คำพันธุ์"เปิดเคล็ด ส่องพระปิดตา-เครื่องราง

"พยัพ คำพันธุ์"เปิดเคล็ด ส่องพระปิดตา-เครื่องราง

มองอย่างเซียน

เซียนใหญ่แห่งวงการพระเครื่อง "พยัพ คำพันธุ์" นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และประธานชมรมพระเครื่องมรดกไทย ห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน จ.นนทบุรี ผู้มีความรอบรู้เกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชา จากประสบการณ์ ที่สั่งสมมายาวนานกว่า 40 ปี โดยเฉพาะ พระปิดตาและเครื่องรางของขลัง

อีก ทั้งยังมีพระเครื่องยอดนิยมไว้ในครอบครองเป็นจำนวนมาก อาทิ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พระสมเด็จบางขุนพรหม พระปิดตาและเครื่องรางของขลังที่หายาก เป็นอันดับต้นของวงการ

"พยัพ คำพันธุ์"เกริ่นว่า พระเนื้อผง เหรียญคณาจารย์ต่างๆ และเครื่องรางของขลัง รวมทั้งพระปิดตา ที่พระเกจิอาจารย์ในอดีตและปัจจุบันสร้างขึ้นมอบให้ผู้ศรัทธาและเคารพนับถือ มีไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต โดดเด่นด้านพุทธคุณ ซึ่งมีทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรี

พยัพ กล่าวต่อว่า พระเครื่องกับเครื่องรางของขลัง มีความแตกต่างกัน อย่างมวลสารหรือวัตถุที่จะนำมาทำ วิธีการสร้างก็ต่างกัน การที่จะทำเครื่องราง ต้องเสาะหามวลสาร ที่ล้วนแล้วแต่เป็นของที่หายากมาก ทั้งพิธีกรรม ต้องเลือกเฟ้นหาสิ่งที่เป็นมงคล แก้อาเพศ แก้อาถรรพณ์ ต่างๆ เช่น ไม้ที่มีชื่อมงคล ฯลฯ

ต่อมามีความ เชื่อเรื่องเมตตามหานิยม จนเป็นสิ่งที่คนค้าขายนำมาบูชากัน ปลัดขิกถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องรางด้านเมตตามหาเสน่ห์และคงกระพันชาตรี ไม่ว่าจะเป็นปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หรือของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ก็ดี โด่งดังทางด้านเมตตาค้าขาย ปลัดขิกของท่านเป็นของที่หายากมาก ในปัจจุบันถ้าตัวสวยๆ มีราคาเป็นแสนขึ้นไป

นอกจากนี้ มีเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จ.สมุทรปราการ, ราหูหลวงพ่อน้อย ที่ใช้กะลาตาเดียวนำมาแกะเป็นราหู, เสื้อยันต์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท, มีดหมอหลวงพ่อเดิม, หนุมานหลวงพ่อสุ่น, ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง, เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง

สำหรับ พระปิดตาที่อยู่ในความนิยมสูงสุด เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี, พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, พระปิดตาแร่บางไผ่ พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง, พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้, พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม, พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท และอื่นๆ อีกหลายคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในอดีต เป็นพระที่หายากมากในปัจจุบัน ซึ่งราคาเช่าหากันแต่ละองค์ หลักแสนถึงหลักล้าน

"พระปิดตาหลวงพ่อ แก้ว วัดเครือวัลย์ เป็นพระที่หายากที่สุด ตามหาพระสมเด็จวัดระฆังฯ สัก 50 องค์ ยังหาได้ง่ายกว่า และเครื่องรางของขลัง อย่างตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง มีเงินเท่าใดก็หาเช่าไม่ได้ เพราะมันหาไม่ได้"

ทั้งนี้ มติชนอคาเดมี ร่วมกับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เปิดอบรมหลักสูตรพื้นฐานในการพิจารณา "สุดยอดพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก, เนื้อโลหะ" โดยเซียนพระชั้นนำระดับประเทศ "พยัพ คำพันธุ์" นายกสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย ในวันอาทิตย์ที่ 12 ม.ค. 2557

การอบรม ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้า อบรมพระปิดตา เนื้อผง เช่น พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี, พระปิดตา หลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา, พระปิดตา หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพฯ, พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี, พระปิดตา หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี, พระปิดตา กรมหลวงฯ เนื้อผง ฯลฯ

ในช่วงบ่ายอบรมพระปิดตา เนื้อโลหะ พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ, พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง กรุงเทพฯ, พระปิดตา แร่บางไผ่ จ.นนทบุรี, พระปิดตา หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม, พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดอนงค์ กรุงเทพฯ, พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท ฯลฯ

อัตราค่าเข้าร่วมการอบรมท่านละ 2,999 บาท โดยผู้เข้าอบรมหลักสูตรพื้นฐานการพิจารณา สุดยอดพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก, เนื้อโลหะ จะได้ชมพระปิดตาองค์แท้หายากที่สุดในวงการ เป็นสมบัติสุดรักสุดหวงในครอบครองของ "พยัพ คำพันธุ์" นำมาให้ชมกันอย่างจุใจ

สนใจสำรองที่นั่งโทร. 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 หรือ 08-2993-9097

ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คมคาย อุดรพิมพ์ แขวนพระกรุนาดูน

คมคาย อุดรพิมพ์ แขวนพระกรุนาดูน

พระเครื่องคนดัง
เชิด ขันตี ณ พล


"เชื่อ มั่นในการทำความดีและความดีจะส่งผลให้สิ่งดีย้อนกลับมาหาเรา" นี่คือความเชื่อในการดำเนินชีวิตของ "คมคาย อุดรพิมพ์" นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ผู้หญิงคนแรกของมหาสารคามที่ดำรงตำแหน่งนี้

นางคมคาย มีภูมิลำเนาเดิมเป็นคนจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันอายุ 52 ปี จบการศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรด.) สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

มีสายเลือดนักการเมืองเต็มตัว เพราะเป็นลูกสาวของ นายลำพอง พิลาสมบัติ อดีต ส.ส.และส.ว. จังหวัดนครราชสีมา หลายสมัย หลังแต่งงานกับ นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีต นายก อบจ.มหาสาคาม ย้ายภูมิลำเนามาประกอบธุรกิจอยู่ที่มหาสารคาม

พ.ศ.2554 ลงเล่นการเมืองท้องถิ่น ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.มหาสารคาม

นาง คมคาย เป็นผู้ให้ความสนใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ส่วนความศรัทธาในวัตถุมงคลนั้น นางคมคายเล่าว่า ในฐานะเป็นชาวพุทธเชื่ออานุภาพของวัตถุมงคลมีจริงเมื่อนำมาสักการบูชาจะช่วย คุ้มภัยให้ แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องเป็นผู้มีคุณธรรมอยู่ในใจ วัตถุมงคลจึงจะคุ้มครองและวัตถุมงคลจะเสริมสร้างขวัญกำลังใจต่อการงานใน หน้าที่เป็นอย่างดี

วัตถุมงคลที่แขวนติดตัวประจำกายอยู่ตลอดเวลา คือ พระกรุพระธาตุนาดูนพิมพ์นาคปรกเดี่ยว โดย นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ผู้เป็นสามีมอบให้ หลังจาก ที่เข้ารับตำแหน่งนายก อบจ.มหาสารคาม เมื่อ 2 ปีก่อน

"เมื่อได้แขวนคอแล้วมีความรู้สึกมั่นใจในการทำงานมากขึ้น เหตุที่สามีให้แขวนพระกรุพระธาตุนาดูน เพื่อให้พุทธคุณช่วยคุ้มครองให้การเดินทางไปมาปลอดภัย จึงเป็นพระเครื่ององค์เดียวที่อาราธนาขึ้นห้อยคอทุกครั้ง ก่อนที่จะออกจากบ้านไปทำงาน"

สำหรับพระกรุพระธาตุนาดูน นับเป็นพระกรุที่เก่าแก่ยุคสมัยทวารวดี อายุกว่า 1,200 ปี เป็นพระกรุท้องถิ่นของอำเภอนาดูน หรือนครจัมปาศรี ในอดีตแตกกรุครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2522 เป็นพระเนื้อดินมีมากกว่า 40 พิมพ์ ทุกพิมพ์พุทธศิลป์สวยงาม ปัจจุบันพระกรุพระธาตุนาดูนได้รับความสนใจจากนักสะสมวัตถุมงคลทั่วประเทศ

นาง คมคายบอกเล่าอีกว่า นับแต่อาราธนาพระกรุพระธาตุนาดูนขึ้นห้อยคอ ก็พานพบแต่สิ่งที่ดีๆ เข้ามาในชีวิต ตนเองและครอบครัว รวมทั้งงานในหน้าที่ทุกอย่างล้วนราบรื่น เชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะพุทธคุณของพระกรุพระธาตุนาดูน จึงเป็นวัตถุมงคลเพียงชิ้นเดียวที่ห้อยคอติดตัวไว้ตลอดเวลา รักและหวงแหนศรัทธามาก

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัมฤทธิ์ ตอนจบ

สัมฤทธิ์ ตอนจบ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์

สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็มาคุยเรื่องของโลหะเนื้อสัมฤทธิ์กันต่อ เมื่อวันก่อนก็ได้คุยกันถึงสัมฤทธิผล และสัมฤทธิโชคกันไปแล้ว สัมฤทธิ์ที่เหลืออีก 3 เนื้อก็คือ สัมฤทธิศักดิ์ สัมฤทธิคุณ และสัมฤทธิเดช มาว่ากันต่อเลยนะครับ

3.สัมฤทธิศักดิ์ คือ สัมฤทธิ์ขาว หรือสัตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

4.สัมฤทธิคุณ คือ สัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึง นัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิคุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียว กับสัมฤทธิเดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับ สัมฤทธิเดชทุกประการ

5.สัมฤทธิ เดช คือ สัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิคุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้น ภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้อง ไอเหงื่อ จะดำสนิทประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คือ อำนาจตบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิเดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับสมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิ์ และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ

เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้

1.ชิน หนัก 1 บาท

2.จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท

3.เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท

4.ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท

5.ปรอท หนัก 5 บาท

6.สังกะสี หนัก 6 บาท

7.บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท

8.เงิน หนัก 8 บาท

9.ทองคำ หนัก 9 บาท

เนื้อ ทองสัมฤทธิเดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิเดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณ เนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก

ครับเรื่องของเนื้อทอง สัมฤทธิ์ตำรับโบราณก็มีเท่าที่เล่ามานี้แหละครับ และพระเนื้อนวโลหะที่เป็นเนื้อสัมฤทธิเดชกลับดำที่ผมนำมาให้ชมในวันนี้ก็คือ พระกริ่งเทพโมลี ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพโมลีครับ
ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พ.อ.ธนเสฏฐ์ ใจอารีย์ แขวนพระเครื่อง5องค์

พ.อ.ธนเสฏฐ์ ใจอารีย์ แขวนพระเครื่อง5องค์

พระเครื่องคนดัง

"การ ที่เราคล้องพระนั้นต้องยึดมั่นในการทำความดี มีความกตัญญูรู้คุณบุพการี และแผ่นดินเกิด การมีสัจจะใน ตัวเองจะทำอะไรก็สำเร็จ" เป็นความคิดของ "พ.อ.ธนเสฏฐ์ ใจอารีย์"

ปัจจุบัน พ.อ.ธนเสฏฐ์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองการบิน ศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก

"เสธ.หมึก"พ.อ.ธนเสฏฐ์ เป็นนายทหารอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบสะสมพระเครื่อง เพราะเปรียบเสมือนตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่คอยเตือนสติให้คิดดี ทำดี ประพฤติดีอยู่ในศีลในธรรม

เสธ.หมึกเล่าว่า "วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกองค์ที่ผมได้ ล้วนได้รับมาจากคุณพ่อและผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ มอบให้มาทั้งสิ้น ผมจึงนำคล้องติดตัวเกือบทุกองค์ที่ผมได้มา โดยจะสลับกันใส่ขึ้นคอ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับภารกิจที่จะปฏิบัติในช่วงนั้นๆ ผมรู้สึกถึงคุณค่าความเป็นพุทธศิลป์ของไทย ในการจัดสร้างและพิธีพุทธาภิเษก โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี ต่างมีวิทยาคมเข้มขลังทุกองค์ จึงมักนำติดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะสร้างความเชื่อมั่นทุกครั้งเมื่อออกปฏิบัติภารกิจทุกงานที่ได้รับมอบ หมาย"

แม้จะมีความชื่นชอบในด้านพระเครื่องวัตถุมงคล แต่เสธ.หมึก พยายามจะบอกกล่าวออกตัวว่า ดูพระไม่เป็น ไม่มีความชำนาญเท่าเซียนพระ เพียงแต่รู้จักเฉพาะบางรุ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่พระเครื่องที่มีในครอบครองเป็นของคุณพ่อและผู้ใหญ่ท่านมอบให้ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 24 จปร.รุ่นที่ 35 และตอนเป็นนักบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก แต่ปัจจุบันเป็นนักบินเครื่องบินลำเลียง "แอมแบร์" ของกองทัพบก

"ช่วง แรกที่ได้มาผมไม่คิดอะไรมาก อาราธนาขึ้นมาแขวนคอ จากนั้นศึกษาประวัติความเป็นมา โดยสอบถามจากผู้รู้และศึกษาจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ปกติแล้วผมเป็นคนที่ชอบหาความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์และในโลกออนไลน์เป็นประจำ"

สำหรับ พระเครื่องวัตถุมงคลที่เสธ.หมึกคล้องติดตัวอยู่เป็นประจำมี 5 องค์ด้วยกัน อาทิ พระสมเด็จเกศไชโย, พระยอดธง, พระกรุสุพรรณบุรี, หลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส, หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นต้น

"ผมคิดอยู่เสมอว่า พระทุกองค์ที่คล้องอยู่ในคอ ก่อนเดินทางออกจากบ้าน พระทุกองค์ท่านมีพุทธคุณที่ดี ก็จะอาราธนาท่านเพื่อให้คุ้มครองในการเดินทางให้แคล้วคลาด ปลอดภัย ซึ่งทำให้เรามีกำลังใจ และมั่นใจในการทำงาน"

ความเชื่อส่วนตัวของ พ.อ.ธนเสฏฐ์ นั้นเชื่อว่า พระเครื่องทุกองค์ท่านมีพุทธคุณที่ดีมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมวลสารที่ผสมอยู่ในองค์พระ ที่เป็นมวลสารสิริมงคล ประกอบกับการจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ที่มีการสวดบทวิชาคาถาที่เป็นสิริมงคลทั้งสิ้น

พ.อ.ธนเสฏฐ์กล่าว สรุปทิ้งท้ายว่า "ผมเป็นคนชอบทำบุญอยู่เป็นประจำ วันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือช่วงเช้า ผมมักจะเข้าวัดทำบุญอย่างสม่ำเสมอ ก่อนนอนจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเองและครอบครัว ก่อนเดินทางออกจากบ้านไปทำงาน ก็จะอาราธนาพระเครื่องเพื่อให้คุ้มครองในการเดินทางให้แคล้วคลาดปลอดภัย ทำให้เรามีกำลังใจในการทำงาน"

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

28 ธันวาคม วัน พระเจ้าตากสินมหาราช

28 ธันวาวันพระเจ้าตากสิน
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


เดือนธันวาคมนี้นอกจากวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาแล้ว

ยัง มีวันสำคัญอีกวันหนึ่ง คือ วันที่ 28 ธันวาคม วันคล้ายวันขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4) พระมหากษัตริยาธิราชที่ยิ่งใหญ่ ที่รู้จักกันดีในพระนาม "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" หรือ "สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช" พระมหาคุณูปการของพระองค์เป็นที่ทราบกันทั่วไป

จนมีผู้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปในลักษณาการต่างๆ เป็นที่เคารพสักการะไปทั่วและมีกฤษฎาภินิหารปรากฏเป็นที่อัศจรรย์มากมาย

พระ นามเดิมว่า "สิน" ชื่อจีนเรียกว่า "เซิ้นเซิ้นซิน" เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ.2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

ต่อ มาเจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุห นายกขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง) และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้วได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี ตามขนบประเพณีไทย อุปสมบทได้ 3 พรรษา ก็ลาสิกขากลับมาเข้ารับราชการตามเดิม และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงานด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง

ปีพ.ศ.2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ 3 เดือนเศษก็ถวายสิริราชสมบัติแก่พระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัว เมืองฝ่ายเหนือ หลวงยกกระบัตรเมืองตาก และพระยาตาก ปกครองเมืองตาก ตามลำดับ

พ.ศ.2308 โปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม

จน ปีพ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า และในเวลาต่อมาพระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วย้ายราชธานีมาอยู่เมืองธนบุรีเป็นราชธานี และทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ.2311 ขณะทรงมีพระชนมพรรษาได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ.1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมพรรษา 48 พรรษา สิริราชสมบัติ 15 ปี

ด้วยพระราชกรณียกิจในการกอบกู้ชาติของพระองค์ และความสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ราชการจึงมีนโยบายที่จะสร้าง "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ขึ้น กำหนดให้ตั้งที่วงเวียนใหญ่ ธนบุรี โดยมีประชามติให้เป็นแบบบรมรูปทรงม้าในพระหัตถ์ทรงดาบ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของคนจริง โดยกรมศิลปากรออกแบบพระบรมรูปและพระแท่น

เมื่อ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปั้นพระบรมรูปเสร็จทางราชการได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเททองพระเศียรเป็น ปฐมฤกษ์ ใน วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497

ขณะนั้นวัดสุทัศนเทพวราราม โดยพระศรีสัจจาญาณมุนี (สนธิ์) ได้ดำริจัดสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดเล็กขึ้น โดยใช้ชนวนเก่าที่เหลือจากการเทพระกริ่งรุ่นต่างๆ ของสายวัดสุทัศน์มาผสมด้วย ลักษณะของพระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นเหมือนเต็มองค์ทรง เครื่องกษัตริย์นักรบ สวมพระมาลา พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ ประทับนั่งบนพระแท่นฐาน 2 ชั้น น้ำหนักถ่วงมือ เนื้อสีเหลืองอมเขียว ได้รับความนิยมเสาะหากันทั่วไปทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน

ในวันที่ 28 ธันวาคมนี้ จึงขอเรียนเชิญชาวไทยทั่วประเทศกราบ สักการะดวงพระวิญญาณ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่

มี พระคาถาบูชาจำง่ายๆ สั้นๆ ป้องกันภัยพิบัติกำจัดเสี้ยนศึกศัตรูสร้างความเป็นสิริมงคลกับตนเอง โดยตั้งนะโมสามจบอธิษฐานบูชา เก้าคาบว่า "โอม ปู่ตากจตุอิตัง ตากสินราชะโย ตังอิ" ครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลวงปู่ทวดเปิดโลกรุ่นแรกหลวงพ่อรวย "พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ" วัดตะโก อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ทวดเปิดโลกรุ่นแรกหลวงพ่อรวย

หลวงปู่ทวดเปิดโลกรุ่นแรกหลวงพ่อรวย "พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ" วัดตะโก อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา : พระองค์ครู โดยไตรเทพ ไกรงู
              วัตถุมงคลของ "พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ" หรือ "หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก" พระเกจิอาจารย์แห่งวัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา มีการจัดสร้างหลายครั้งหลายวาระและหลายรุ่น ปัจจุบันได้รับความนิยมมากในหลายรุ่น มีค่านิยมสูง ด้วยปรากฏประสบการณ์มาก โดยมีการจัดสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒

              ด้วยนามของหลวงพ่อรวย ยังเป็นมงคลนาม จึงเชื่อกันว่าใครได้ทำบุญกับหลวงพ่อรวย ชีวิตมีแต่ "รวย" ขึ้นในทางที่ดีเสมอไป เหตุนี้วัตถุมงคลของหลวงพ่อรวยจึงเป็นที่นิยมในวงกว้าง ส่วนเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาจะนำไปพัฒนาวัดและ ส่งเสริมด้านการศึกษาทั้งสิ้น

              เนื่องด้วยวันในจันทร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ เป็นวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดอายุครบ ๙๒ ปี พรรษาที่ ๗๒ หลวงพ่อรวย มอบหมายให้นายวินัย แพ่งสุภา ศิษย์สายอยุธยา จัดสร้างรูปหล่อพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พิมพ์เปิดโลก ใช้วิธีการเททองหล่อแบบโบราณ โดยนายช่างผู้ชำนาญการเททอง เพื่อแจกจ่ายและมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจและผู้สื่อข่าวประจำปี ๒๕๕๖ เป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนและประเทศชาติ รวมทั้งถวายพระที่มาเจริญพระพุทธมนต์ในงานวันคล้ายวันเกิด

              หลวงปู่ทวดหล่อโบราณ "พิมพ์เปิดโลก" จัดสร้างขึ้นทั้งหมดเพียง ๒,๘๘๑ องค์ โดยแบ่งเป็น เนื้อเงินตะกรุดสาลิกาทองคำ ๑๐๐ องค์ เนื้อนวโลหะตะกรุดสาลิกาเงิน ๒,๓๘๑ องค์ พระหลวงปู่ทวด ใต้ฐานบรรจุผงพุทธคุณต่างๆ ของหลวงพ่อรวย จีวรและที่สำคัญได้บรรจุเกศาของหลวงพ่อรวย โดยพระทุกองค์ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ ทั้งนี้ หลวงพ่อรวย เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

              นอกจากมอบให้เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ส่วนหนึ่งแบ่งให้ผู้ที่ร่วมทำบุญสมทบทุนในการจัดสร้างหลวงปู่ทวดหล่อโบราณ "เปิดโลก" ในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นเนื้อเงินจำนวน ๑๐๐ องค์ เนื้อ นวโลหะจำนวน ๔๐๐ องค์ ส่วนที่เหลือ เนื้อนวโลหะจำนวน ๒,๓๘๑ องค์ มอบให้หน่วยงานต่างๆ ส่วนที่เหลือ เนื้อนวะโลหะจำนวน 2,381 องค์ แจกแก่หน่วยงานดังต่อไปนี้

              ๑.ถวายให้หลวงพี่ชา รองเจ้าอาวาสวัดตะโก แจกแก่พระภิกษุ ๒.กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โดย พ.ต.ท.พงศกร อนันต์ยศสรกิจ รองผู้กำกับ
              ๓.กองกำลังสำรองหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน โดย พ.อ. เสฏฐนันท์ แสงรัตนทองคำ รองผู้อำนวยการฝึกโรงเรียนรักษาดินแดง

              ๔.กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม โดย พล.ต.สวัสดิ์ ทัศนา ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม ๕.กองกำลังผาเมือง จ.เชียงใหม่ โดย พ.อ.อุดม แก้วมหา ฉก.ม.๔ กองกำลังผาเมือง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๖.กองวัง สำนักพระราชวัง โดย ท่านวิศิษฐพร เผื่อนพิภพ ผู้อำนวยการกองวัง สำนักพระราชวัง ๗.ถวายพระที่มาเจริญพระพุทธมนต์ในงานวันคล้ายวันเกิด ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ และ ๘ 8.คุณวินัย ใส่บาตรตอนเช้า หรือเจอพระธุดงค์ ถวายเท่าอายุหลวงพ่อ (๙๓ องค์)

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ