วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต พระเกจิเมืองปากน้ำโพ

หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต พระเกจิเมืองปากน้ำโพ
อริยะโลกที่ 6
หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังปากน้ำโพ สืบสานวิทยาคมเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ และเรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ปัจจุบันสิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 วัดห้วยลำไย อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เกิดในสกุล ชัยบุรินทร์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2466 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เมื่อช่วงวัยเยาว์ ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้าน ซึ่งเป็นวัดภายในหมู่บ้าน กระทั่งจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 4 หลังจากนั้นได้ออกมาช่วยครอบครัวทำนาทำไร่ จวบจนมีอายุพอครบเกณฑ์ทหาร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองน้อย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีพระใบฎีกา บุญยัง คังคสโร เป็นพระอุปัชาฌาย์

หลัง อุปสมบท ประพฤติปฏิบัติตนตามแบบที่ครูอาจารย์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง

ท่าน ร่ำเรียนวิชาจากพระใบฎีกาบุญยัง ซึ่งเคยเป็นพระปลัดซ้ายพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท

ท่าน ได้เรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข จากตำราเอก วิชาตัวอิ อันเป็นบทปฐม 1 ใน 4 ตำราหลักของหลวงปู่ศุข คือ อิ ติ ปิ โส จากพระใบฎีกา บุญยัง จนมีความชำนาญ จึงถือได้ว่า หลวงปู่เช้า เป็นพระเกจิที่สืบทอดวิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยตรงอย่างแท้จริง ตำรับตำราท่านศึกษาผ่านตาทั้งสิ้น แต่ท่านไม่ค่อยคุยโอ้อวด

ต่อมา ได้ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับพระอาจารย์ที่เก่งในทางนี้

การ ศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด หลวงพ่อเช้าได้ไปศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ ได้รับการถ่ายทอดวิชาเสกมีดหมอ, คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ

ครั้นอายุ มาก ล่วงเข้าวัยชรา พระใบฎีกาปรีชา ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดห้วยลำไย อ.ตากฟ้า จ.นคร สวรรค์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชาย ได้ขออาราธนาให้อยู่จำพรรษาที่วัดห้วยลำไย เพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิด

หลวง ปู่เช้า มุ่งมั่นศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ สงเคราะห์ญาติโยมที่เดือดร้อนมาโดยตลอด เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ปฏิบัติเกื้อกูลต่อพุทธ ศาสนิกชนที่มากราบนมัสการอย่างสม่ำเสมอกัน กอปรกับเป็นพระเกจิอาจารย์เข้มขลัง ทำให้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าจากสาธุชนทั้งใกล้-ไกล หลั่งไหลมากราบนมัสการ เพื่อความเป็นสิริมงคลมิขาดสาย

ท่านได้รับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ เป็นประจำ

หลวง ปู่เช้า มีวินัยเคร่งครัด อาจกล่าวได้ว่า เมืองปากน้ำโพ นับแต่สิ้นหลวงปู่เดิม พุทธสโร วัดหนองโพ, หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว, หลวงปู่ชม ญาณโสภโณ วัดเนินหญ้าคา, หลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโล วัดลาดยาว ฯลฯ

เป็นพระเกจิที่ได้รับความเคารพนับถือจากชาวปากน้ำโพอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต พระเกจิเมืองดอกบัว

หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต พระเกจิเมืองดอกบัว

อริยะโลกที่6

พระครูมงคลคำภีรคุณ หรือ หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต เป็นพระเกจิ อาจารย์แห่งเมืองดอกบัว เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ

หลวงปู่คำแดง สิริอายุ 91 ปี พรรษา 24 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาส บ้านนาพิน ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

นาม เดิม คำแดง พึ่งบารมี เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2465 ตรงกับวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ณ บ้านเลขที่ 31 หมู่ 10 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บิดา-มารดา ชื่อ นายถาวรและนางใหม่ พึ่งบารมี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน

มีเรื่องเล่าว่า ก่อนท่านมาเกิด นางใหม่ ผู้เป็นมารดาฝันว่ามีพระธุดงค์เดินมามอบหนังสือใบลานก้อมให้แล้วเดินจากไป ต่อจากนั้น นางใหม่ก็ตั้งครรภ์ 10 เดือน ก่อนคลอดเด็กทารกเพศชายตัวเล็ก สุขภาพไม่แข็งแรง บิดาจึงเอาไปถวายพระอาจารย์ใหม่ บัวแดง ให้ท่านผูกข้อมือรับเป็นพ่อบุญธรรม

ครั้นอายุ 9 ขวบ เข้าโรงเรียนประชาบาล ต.นาพิน จบชั้น ป.4 สอบชิงทุนได้ นายฮง มณีภาค ศึกษาอำเภอ ได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนกสิกรรม (ท่าวังหิน) แต่นายถาวร ผู้บิดาขอสละสิทธิ์ นำบุตรชายให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2479-2499 อยู่วัดคัมภีราวาส

พ.ศ.2480 ย้ายไปอยู่จำพรรษาวัดสิงหาญสะพือ กับพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2481 ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ภูขาม แล้วไปจำพรรษาอยู่วัดบูรพา ในเมืองอุบลราชธานี

พ.ศ.2481 อยู่ ต.นาจิก จ.อำนาจเจริญ สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้

ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดฉิมพลี อ.เมือง จ.สกลนคร

หลัง อุปสมบทได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาค อีสาน ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ.2486 เรียนบาลีไวยากรณ์อยู่

พ.ศ.2491 ย้ายไปเรียนบาลีไวยากรณ์ อยู่วัดกลาง อำเภอเขมราฐ

ในปี พ.ศ.2501 ย้ายมาอยู่จำพรรษา วัดพาราณสี ต.นาพิน แต่ท่านบวชได้เพียง 6 ปี ท่านตัดสินใจลาสิกขาไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส

เมื่อ วันที่ 6 ส.ค.2530 นายคำแดง ป่วยหนักพวกญาตินำส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี หมอผ่าตัดถุงน้ำดี หลังจากนั้น ท่านได้หายป่วย

หลัง ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ ท่านจึงเริ่มนึกปลงชีวิต ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่ทางธรรมอีกครั้ง ตัดสินใจอุปสมบท เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2532 ที่วัดกุญชราราม ต.ขุหลุ อ.ตระการพืชผล มี พระครูไพโรจน์ปรีชากร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูภัทรญาณปยุต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริธรรมมากร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ฐานทัตโต

ภาย หลังอุปสมบท พระคำแดง ได้ออกธุดงควัตรไปสร้างวัดบ้านโนนฮาง หมู่ที่ 9 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล พ.ศ.2533 สามารถสอบได้เปรียญธรรมประโยค 1-2 พ.ศ.2538 สอบได้เปรียญธรรมประโยค 3

จากนั้น พ.ศ.2541 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

หลวง ปู่คำแดง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตายามได้รับกิจนิมนต์ไปงานบุญ ต่างๆ ท่านไม่เคยปฏิเสธ แม้ว่าท่านจะย่างอายุเข้าสู่วัยชราและมีปัญหาด้านสุขภาพตามวัย

ส่วน งานกิจนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ท่านต้องเดินทางเข้าร่วมพิธีเสมอ แม้นจะไกลหรือจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ท่านก็มีความสุขที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ศิษย์ผู้คอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่สามารถทัดทานได้

ส่วนวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ท่านได้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เล่าขาน วัตถุมงคลหลายรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่าง มาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ รูปเหมือน หรือเครื่องรางของขลังต่างๆ

เกียรติคุณของหลวงปู่คำแดง เป็นที่รู้จักศรัทธาเลื่อมใส

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี

คอลัมน์ อริยะโลกที่6


หลวง ปู่ยิ้ม จันทโชติ เป็นพระเถรา จารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดกาญจนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธามาก

ชาติภูมิ เป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิด ปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ.2387 ครอบครัวประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม

เมื่อ วัยเด็กท่านมีอุปนิสัยใจคอเป็นคนเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เป็นนักเลง พูดจริงทำจริง เด็กรุ่นเดียวกันหรือแก่กว่ายอมยกให้เป็นลูกพี่ ท่านได้เป็นกำลังช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายทางปากอ่าว จนคุ้นเคยกับชาวแม่กลองเป็นอันดี

ครั้นได้อายุครบบวช อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี มี พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า จันทโชติ

เมื่อบวชเรียนแล้วเรียนอักษร ขอม ภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้า 10 ชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ 2

ท่าน ได้ศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์ดีเชี่ยวชาญวิทยาคมหลายท่านด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย อ.อัมพวา, หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทรสุดคงคา, หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม อัมพวา และหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา

หลวงปู่ยิ้มได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวต่อจากหลวง พ่อกลิ่น ท่านได้ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระจนมีชื่อเสียง และเป็นอาจารย์สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ต่อมาท่านสร้างเครื่องราง เพื่อแจกจ่าย ให้ผู้ที่ต้องการนำไปใช้ติดตัวเป็นที่พึ่งที่ระลึก หนึ่งในเครื่องรางที่มีชื่อเสียงของท่าน คือ ตะกรุดลูกอม หรือ "ตะกรุดโลกธาตุ" เป็นตะกรุดขนาดเล็กใช้พกติดตัว เมื่อถึงคราวคับขันจวนตัวจะถูกทำร้ายให้กลืนเข้าไป ในท้อง จะล่องหนหายตัวป้องกันอันตรายได้ ทุกประการ

ตะกรุดนี้เชื่อว่า สามารถออกมาจากร่างกายได้เอง โดยให้ตั้งจิตอธิษฐานก่อนนอน รุ่งขึ้นตะกรุดก็จะออกมาปรากฏอยู่ข้างตัว โดยจะไม่ออกทางทวารเบื้องต่ำเด็ดขาด

จึงเรียกว่าตะกรุดลูกอม ลงด้วยหัวใจโลกธาตุ ทำด้วยทองคำ เงิน หรือทองแดง ต้องมีน้ำหนัก 1 สลึง ยาวขนาด 7 ใบมะขามเรียกว่า สัตตโพชฌงค์ ตะกรุดโลกธาตุมีชื่อเสียงปรากฏทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ท่านยังทำพระปิดตาแบบภควัมบดี เนื้อผงสีขาว และสีดำ และพระผงยืนปางห้ามญาติด้านหลังมียันต์อกเลา พระผงแบบนั่งสมาธิ สมเด็จเล็บมือ และเชือก คาดเอว

เกียรติคุณของหลวงปู่ยิ้มเป็นที่ เลื่องลือไปหลายหัวเมือง ทั้งเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ให้ความเลื่อมใสนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชา

แม้กระทั่ง หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังเคยธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดหนองบัว เพื่อแลกเปลี่ยนสรรพวิชากัน

หลวงปู่ยิ้มมีอุปนิสัยสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ มีคนบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญท่านได้ถ่ายทอดไสยเวทวิทยาคมให้กับลูกศิษย์ในยุคต่อมา จนกลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี วัดเทว สังฆาราม, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า เป็นต้น

หลวงปู่ยิ้มมรณภาพอย่างสงบ พ.ศ.2453 สิริอายุ 66 ปี พรรษา 46

ต่อ มาตำรับตำราต่างๆ ของท่านก็เป็นมรดกตกทอดมาถึงเจ้าคุณพระโสภณสมาจาร (เหรียญ) วัดหนองบัว ซึ่งสานุศิษย์ที่สืบทอดเจริญรอยสืบมาจนถึงกาลปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เหรียญหล่อหนุมานตรีเพชร

เหรียญหล่อหนุมานตรีเพชร
เปิดตลับพระใหม่

"หนุมาน" เป็นทหารเอกผู้มีอิทธิฤทธิ์ในการนำทัพ ทำให้พระรามรบชนะต่อทศกัณฑ์ในรามเกียรติ์

หนุมาน เป็นลิงเผือกมีกายสีขาวมีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเป็นเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้า แปดกรและหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ตรีเพชรเป็นอาวุธประจำตัว มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกาย หายตัว ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัด ก็จะฟื้นขึ้นได้อีก

เหรียญหล่อโบราณหนุมานตรีเพชร ตำรับ "หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม" เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม จัดสร้างเพื่อสืบสานแบบอย่างโบราณาจารย์ ให้เป็นขวัญและกำลังใจแห่งชัยชนะและความสำเร็จ

ในวันพฤหัสบดีที่ 27 ก.พ.2557 จะมีพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก ณ พระอุโบสถ วัดใหม่ปิ่นเกลียว มีพระเกจิคณาจารย์ที่เมตตามาร่วมปลุกเสกคือ พระครูปยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม) วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม พระครูถาวรศีลวัตร (หลวงพ่อพรหม) วัดลานคา อ.บางเลน จ.นครปฐม พระครูปราการลักษาภิบาล (หลวงพ่อ สมพงษ์) วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม พระครูสันติธรรมานันท์ (พระอาจารย์สมญา) วัดลำลูกบัว อ.ดอนตูม จ.นครปฐม พระปลัดพลาธิป กตกุสโล วัดใหม่ ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม พระสุบิน สุปิโน วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐ

ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญหล่อแบบเหวี่ยงโบราณรูปไข่ ปลายเหรียญอ่อนช้อย กว้างจากกลางเหรียญ 2.9 ซ.ม. สูงจากก้นถึงยอดปลายเหรียญ 4.5 ซ.ม.

ด้านหน้า เป็นรูปหนุมาน 8 กรเหาะท่ายืนบนก้อนเมฆในมือถืออาวุธประจำกาย จักร พระขรรค์ ตรี คทา

ด้าน หลัง เป็นดาวห้าแฉก 24 ดวงล้อมเดือนรูปไข่มีรัศมีเดือนเป็นรูปปลายกนกอ่อนช้อย และยันต์ อุณาโลม ด้านซ้ายยันต์ มีอักษรไทยคำว่า หนุมานตรีเพชร ด้านขวายันต์ เขียนคำว่า "วัดไหม่ปิ่นเกลียว" และตัวเลขไทย "๔๗" ด้านล่าง ทุกเหรียญทุกเนื้อมีโค้ด และตัวเลขรันลำดับทุกเหรียญ

เนื้อที่สร้างแบบหล่อโบราณจำนวนเหรียญ ที่สร้างจำนวน 5 เนื้อได้แก่ เนื้อทองคำ 11 เหรียญตามจำนวนสั่งจองนำหนักทองคำประมาณ 51 กรัม (ราคาสั่งจองติดต่อสอบถามที่วัด) เนื้อเงิน 100 เหรียญ ราคา 1,800 บาท เนื้อรมดำสำริด 200 เหรียญ ราคา 499 บาท เนื้อทองระฆังรมดำ 400 เหรียญ ราคา 299 บาท เนื้อทองแดงรมดำ 1,000 เหรียญ ราคา 199 บาท

ส่วนวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จากการเช่าบูชานำไปบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ทรงไทย วัดใหม่ปิ่นเกลียว ปรับภูมิทัศน์อุทยานการศึกษา

ติดต่อขอเช่าบูชา ที่วัดใหม่ปิ่นเกลียว อ.เมือง จ.นครปฐม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท พระเกจิดังสิงห์บุรี

หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท พระเกจิดังสิงห์บุรี
อริยะโลกที่6
สุธน พันธุเมฆ


พระครูปราการกิตติคุณ หรือ ที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท" อดีตเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต 1 และอดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองสิงห์บุรี ศิษย์สายตรง หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก, หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี และหลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง

มี นามเดิมว่า โต๊ะ กุหลาบวงศ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือนพฤศจิกายน 2439 ปีวอก ที่บ้านท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี บุตรกำนันโพธิ์ หรือพันโพธิ์ และนางปรางค์ กุหลาบวงศ์

ชีวิตวัยเยาว์ อายุ 12 ปี โยมพ่อนำไปฝากเรียนอยู่กับ พระครูวินิตศีลคุณ (หลวงพ่อลา) วัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี ศึกษาเล่าเรียนและปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อลา จนสอบ ไล่ได้ชั้น 2 ในสมัยนั้น แล้วมาสมัครสอบเป็นครูสอนภาษาไทยที่ วัดโพธิ์ลังกา และสอนได้เพียง 1 ปี ลาออก

พ.ศ.2458 อายุ 19 ปี บรรพชาที่ วัดดงยาง ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ต่อมาอายุครบบวช 20 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2459 ณ พัทธสีมาวัดดงยาง โดยมี พระ วินัยธรกิ่ง วัดธรรมสังเวช เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการพิมพ์ วัดไผ่ดำ เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเหรียญ วัดธรรมสังเวช เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า ฉันโท หมายถึง ผู้มีความพึงพอใจ

ภาย หลังอุปสมบท จำพรรษาอยู่ที่วัดดงยาง ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในพรรษาที่ 2 ก่อนย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ลังกาและวัดท่าอิฐ เพื่อเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ซึ่งวัดทั้งสองนี้อยู่ใน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

ในปี พ.ศ.2562 คณะทายกทายิกาวัดกำแพง นิมนต์ท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดกำแพง

ลำดับ ผลงานการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2465 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพง พ.ศ.2466 เป็นเจ้าอาวาสวัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

พ.ศ.2467 เป็นเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต 1 พ.ศ.2485 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนาม ที่ "พระครูปราการกิตติคุณ"

หลวงปู่โต๊ะ มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาคมแขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยท่านศึกษามาจากพระคณาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี, หลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง จ.สิงห์บุรี

ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ โดยสร้างคุณประโยชน์ตลอดมา ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และเป็นพระนักพัฒนาที่ชำนาญการก่อสร้างเป็นพิเศษ ทำให้วัดกำแพง มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาจนถึงยุคปัจจุบัน

หลวงปู่โต๊ะ ยังได้ช่วยพัฒนาวัดอื่นๆ อีกหลายวัด ในเขต อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี อาทิ สร้างอุโบสถและวิหาร วัดเขาแก้ว, สร้างเจดีย์ วัดเชียงราก, สร้างหลวงพ่อธรรมจักร วัดโพธิ์ลังกา เป็นต้น

วัตถุมงคลของท่านในยุค แรก จัดสร้างตะกรุด ผ้ายันต์ ผ้าประเจียดและภาพถ่าย ต่อมาหลวงปู่โต๊ะสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา เป็นพิมพ์ศิลปะสมัยต่างๆ ส่วนยุคหลัง ท่านสร้างวัตถุมงคลประเภทโลหะ เป็นเหรียญรุ่นต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหมือนของท่านครึ่งองค์หน้าตรง บนศีรษะของท่านจะมีรูปพระพุทธ อันเป็นเอกลักษณ์ของท่าน

วัตถุมงคลของ หลวงปู่โต๊ะ ที่สร้างขึ้นมาแต่ละรุ่น มีความเด่นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน จึงเป็นที่เสาะหาของนักสะสมโดยทั่วไป

หลวงปู่โต๊ะ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยตลอดมาหลังเสร็จจากงานฝัง ลูกนิมิตที่วัดกำแพง ลูกศิษย์ได้พาท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพฯ แพทย์ได้รักษาพยาบาลอยู่ไม่นาน วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 เวลา 05.00 น. หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 86 ปี พรรษา 67

ปัจจุบัน สังขารของท่านนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วอันโปร่งใส บนตึกอนุสรณ์ปราการกิตติคุณ วัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา ตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้สักการะ

เหลือไว้เพียงคุณงามความดีและวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่า

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เหรียญหลังกรมหลวงชุมพร หลวงปู่ศุข 2556

เหรียญหลังกรมหลวงชุมพร หลวงปู่ศุข 2556
เปิดตลับพระใหม่

"พระครูวิมลคุณากร" หรือ "หลวงปู่ศุข เกสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่มีพุทธคุณาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

ท่านมีนามเดิม ว่า ศุข เกษเวช เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ครบอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (วัดโพธิ์ทองล่าง) มีพระครูเชย จันทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเชย พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ตลอดจนหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ศุขได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จนชาวบ้านแถบนั้นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนวัดแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 สิริอายุ 76 ปี

เมื่อ วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2556 อันเป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่ศุข ครบ 90 ปี ประกอบกับ พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท มีความประสงค์จะให้คณะกรรมการวัด จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหลวงปู่ศุข หลังกรมหลวงชุมพรฯ" เป็นที่ระลึกในการเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ศุขยืนถือไม้เท้าใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย

"เหรียญหลวงปู่ศุข หลังกรมหลวงชุมพร" รุ่นนี้ จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยา ชุดกรรมการ 99 ชุด ชุดละ 9 เหรียญ, เนื้อเงิน 300 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา สีประจำวันเกิด สีละ 300 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา ลายธงชาติ 300 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 9,000 เหรียญ, เนื้อทองเหลือง 9,000 เหรียญ, เนื้อทองแดง 9,000 เหรียญ และเนื้อนวะ 2,000 เหรียญ

ลักษณะของเหรียญ ทรงรูปไข่ มีหูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญมีขอบ ตรงกลางเหรียญมีรูปนูนหลวงปู่ศุข นั่ง เพชรกลับเต็มองค์ ด้านซ้าย-ขวา มีอักขระขอม อุ บนล่าง 2 ข้าง ลงยาสีธงชาติ ใต้ขอบด้านบนมีอักษรไทย "พระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า" เหนือขอบด้านล่างมีลวดลายคล้าย "โบ" ภายในมีเลขไทย "๒๕๕๖"

ส่วนด้านหลัง มีขอบและจุดไข่ปลารอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีรูปนูนกรมหลวงชุมพรฯ ครึ่งองค์ เหนือบ่าซ้าย มีเลขไทยเป็นลำดับของเหรียญ เหนือขอบและไข่ปลาด้านล่างมีอักษรไทย เขียนคำว่า "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09.09 น. ณ อุโบสถเก่ามหาอุด วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อรวย วัดตะโก, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์, หลวงพ่อเท วัดยี่งอ, หลวงพ่อสัญญา วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย และหลวงพ่อชาญ วัดสระแก้วศรีสรรเพชญ รวม 9 รูป

เหรียญรุ่นนี้ หลายเนื้อหมดหลังสั่งจอง แต่ที่วัดยังพอมีบางเนื้อเหลืออยู่บ้าง

ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลั
มม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์

ชมรมพระเครื่อง

แทน ท่าพระจันทร์

สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และทุกท่านก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรูปเหมือนท่านปีพ.ศ.2466 ที่นิยมกันมาก พระสี่เหลี่ยม ทั้งเนื้อชินตะกั่ว และเนื้อโลหะผสมต่างๆ พระปรกใบมะขาม พระเนื้อผงรุ่นแจกแม่ครัว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาอีกด้วย ซึ่งเราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ครับ

พระปิดตาของหลวงปู่ศุข ท่านได้สร้างไว้หลายพิมพ์เหมือนกัน มีทั้งเนื้อตะกั่วและเนื้อผง และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่า หลวงปู่ท่านเริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ ท่าน ซึ่งจัดขึ้นทุกปี

หลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน วันที่หนึ่ง ไหว้ครูหมอยา วันที่ 2 ไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่ 3 ไหว้ครูทางวิทยาคม

ในงาน ไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรมฯ พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึง วันที่ 3 เสร็จพิธีไหว้ครูแล้วหลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงาน โดยทั่วถึงกันทุกคน

พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากใน กทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่า อาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม. เสด็จในกรมฯ ท่านได้นำไปแจกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วยเป็นบางส่วน

พระปิดทวารพิมพ์แขนชิด เป็นพระรูปแบบลอยองค์ เป็นพระที่พระครูสิหชยสิชฌย์ (ฉอ้อน) เป็นแม่แรงสร้าง ในคราวขุดสระน้ำที่วัดสิงห์สถิต จังหวัดชัยนาท ท่านได้ขอให้หลวงปู่ศุขปลุกเสกให้ แล้วนำพระพิมพ์นี้มาแจก พระพิมพ์นี้จะพบมากที่จังหวัดชัยนาทและอุทัยธานี

พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง เนื้อผงคลุกรัก เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่ศุขท่านได้สร้างแจกเมื่อคราวงานศพโยมมารดาของท่าน พร้อมกับอีกพิมพ์หนึ่งก็คือพระพิมพ์แจกแม่ครัว

พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขท่านแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรม หลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น พระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก และเนื่องจากเป็นพระ ที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขต กทม.เท่า นั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข เนื่องจากผู้ที่ ได้รับจะเป็น เจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ

พระปิด ตาและพระปิดทวารของหลวงปู่ศุขนั้นหายากทุกพิมพ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อตะกั่วหรือเนื้อผงคลุกรัก และพระปิดตาพิมพ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของ หลวงปู่ศุขก็คือพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำ รูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ มาให้ชมกันครับ และพระพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ นี้จะมีการบรรยายโดย คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2557 ที่ห้องประชุม น.ส.พ.ข่าวสด

นอกจากนี้ยังได้นำพระองค์จริงมาแสดงให้ ชมกันมากมายถึง 12 เกจิอาจารย์ยอดนิยมด้วยครับ หากท่าน ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2954-3977-64 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 และ 08-2993-9097, 08-2993-9105 ครับผม

ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระคง กรุช้างค้ำ เชียงใหม่


พระคง กรุช้างค้ำ เชียงใหม่
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


พระ คง เป็นหนึ่งใน "พระสกุลลำพูน" อันลือชื่อของทางเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างในยุคใกล้เคียงกับ "พระรอด กรุวัดมหาวัน" พระยอดนิยมหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี แต่จำนวนพระคงมีมากกว่าจึงทำให้ได้รับความนิยมน้อยกว่าพระรอด แต่ ณ ปัจจุบันสนนราคาก็ไม่ได้เป็นสองรองพระสกุลลำพูนอื่นๆ จะเป็นรองก็เพียงแต่ "พระรอด" เท่านั้น

การค้นพบพระคง นอกจากที่ วัดพระคง จ.ลำพูน แล้ว ยังมีการพบปะปนอยู่กับพระสกุลลำพูนตามวัดอื่นๆ ในจังหวัด รวมถึงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย

กล่าวถึงการค้นพบ พระคง กรุช้างค้ำ จ.เชียงใหม่ นั้น สืบเนื่องจากการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่า "วัดช้างค้ำ" เป็นวัดที่มีมาแต่เดิมก่อนการสถาปนาเวียงกุมกาม ในยุคล้านนา (เวียงกุมกาม เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคอาณาจักรหริภุญชัย ถือเป็นเวียงหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางเหนือของศูนย์กลางอาณาจักรหริภุญชัย) และชื่อ "เวียงกุมกาม" นี้ ก็เริ่มปรากฏเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วงที่เริ่มสถาปนาอาณาจักร ล้านนา เมื่อพระยามังรายยกทัพมาตีอาณาจักรหริภุญชัยได้สำเร็จ โดยตั้งให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา


จากนั้นได้ตั้งเวียงกุมกาม ขึ้นเป็นเมืองหลวง พร้อมกับมีการสร้างวัดในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดิน

ใน ราวปี พ.ศ.2528 กรมศิลปากรได้ขุดค้นโบราณสถานในจุดต่างๆ ภายในอาณาบริเวณ "เวียงกุมกาม" พบว่ามีแนวเขตวัดเก่าตั้งอยู่ทั่วบริเวณ นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุในพื้นที่อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ พระพิมพ์ดินเผาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พระพุทธรูป เงินตราโบราณ และเครื่องปั้น ดินเผา เป็นต้น ซึ่งพระพิมพ์ดินเผาที่พบนั้น ประกอบด้วย พระคง พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระพิมพ์พุทธคยา ฯลฯ ซึ่งสันนิษฐานน่าจะมีอายุสมัยการสร้างราว 800-900 ปีก่อน หรืออยู่ในช่วงปลายของอาณาจักรหริภุญชัย ที่ได้รับทั้งอิทธิพลศิลปะหริภุญชัยและอิทธิพลศิลปะล้านนา

พระคง กรุช้างค้ำ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับที่พบจากกรุดอยคำ จ.เชียงใหม่ ที่มีการพบพระคงเช่นกัน ปรากฏว่ามีลักษณะพิมพ์ทรงเหมือนกัน และมีขนาดใกล้เคียงกัน โดย "กรุดอยคำ" จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย พระทั้งสองกรุนี้มีความแตกต่างกันที่เนื้อหาและคราบกรุ จึงน่าจะเป็นพระที่สร้างขึ้นในยุคปลายหริภุญชัยเหมือนกัน แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ พระคง ลำพูน แล้ว ปรากฏว่า มีพิมพ์ทรงต่างกัน ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย โดย "กรุช้างค้ำ" จะมีเนื้อหาหยาบกว่า คราบกรุส่วนใหญ่เป็นเม็ดทราย ไม่มีดินกรุ ซึ่งตรงกับตามที่เอกสารการเปิดกรุของกรมศิลปากรได้บันทึกเอาไว้ว่า ชั้นดินที่พบพระพิมพ์เหล่านี้เป็นทรายเกือบทั้งหมด

พระคง กรุช้างค้ำ จ.เชียงใหม่ นี้ เป็นหนึ่งในพระกรุเก่าที่สมัยก่อนเรียกได้ว่า "ถูกเมิน" ถึงขนาดให้เป็นของแจกของแถมเมื่อเช่าหาพระหลักๆ แต่ ณ ปัจจุบัน กลายเป็นที่แสวงหาและสนนราคาขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเริ่มมีการกล่าวถึงในหนังสือและนิตยสารพระเครื่องฉบับต่างๆ และด้วยความที่เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ใกล้เคียงกับ พระคง ลำพูน

แถมยังหาดูหาเช่ายากกว่า พระคง ลำพูน อีกด้วยครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระรอด พิมพ์ใหญ่

พระรอด พิมพ์ใหญ่

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


พระรอด สุดยอดแห่งพระพิมพ์ของล้านนา หนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี" อันลือชื่อของไทยที่มีอายุมากที่สุด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา ศิลปะทวารวดี-ศรีวิชัย แบ่งพิมพ์ออกเป็น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น บางตำราก็ว่ามีอีกหนึ่งพิมพ์ คือ พิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง แต่หาดูได้ยากยิ่ง มีพุทธคุณเป็นเลิศด้านแคล้วคลาด รวมทั้ง อยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม อุดมด้วยโภคทรัพย์ เรียกว่าครบเครื่องทีเดียว

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า "พระรอด" สร้างในสมัยทวาราวดีเมื่อนับพันปีมาแล้ว สมัยที่พระนางจามเทวี ปกครองเมืองหริภุญไชย พระนางทรงสถาปนาพระอาราม ชื่อ จตุรพุทธ ปราการ (วัดมหาวัน) ขึ้น จึงดำริให้สร้างพระเจดีย์ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรจุ "พระรอด" ไว้ โดย พระสุมณานารทะฤๅษี เป็นผู้สร้าง

เอกลักษณ์สำคัญของ "พระรอด" คือ เป็นพระกรุเก่าแก่ที่มีการค้นพบเฉพาะที่ วัดมหาวัน จ.ลำพูน เท่านั้น และแรกเริ่ม "พระรอด" คงบรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณแต่ต่อมาพระเจดีย์ได้โค่นล้มลง พระรอดจึงตกอยู่ในดินกระจัดกระจายทั่วไป จึงมีการแตก กรุของ "พระรอด" ในหลายครั้งหลายครา

ครั้งแรก ปีพ.ศ.2435-2445 สมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้ปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ ทำให้พบพระรอดจำนวนมากภายใต้ซากเจดีย์เก่า ประมาณปีพ.ศ.2451 สมัยเจ้าหลวงอินทิยงยศ เห็นว่ามีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกบริเวณฐานพระเจดีย์วัดมหาวัน และมีรากชอนลึก จนทำให้พระเจดีย์มีรอยร้าวหลายแห่ง จึงให้ช่างรื้อฐานและปฏิสังขรณ์ใหม่ ก็พบพระรอดจำนวน 1 กระเช้า จึงนำแจกจ่ายบรรดาญาติวงศ์เจ้าลำพูน ในปีพ.ศ.2497 มีการปฏิสังขรณ์วิหาร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พบพระรอดไม่กี่องค์ แต่พบ พระคง พระบาง พระสาม พระสิบสอง และพระรอดหลวง

ปี พ.ศ.2498 ปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ในการขุดเพื่อลงรากฐานก่อสร้าง พบพระรอดกว่า 200 องค์ แทบทุกองค์เป็นพระที่งามและเนื้อจัด มีหลายพิมพ์ทรง และหลังปีพ.ศ.2500 ก็ยังมีการขุดหาพระรอดโดยรอบบริเวณวัดมหาวันอยู่

สำหรับ "พระรอด" ที่นับได้ว่าเป็นองค์สำคัญในชุดเบญจภาคี คือ "พระรอด พิมพ์ใหญ่" ซึ่งมีพุทธลักษณะและพุทธศิลปะที่งดงาม และนับเป็นพิมพ์ที่มีการทำเทียมสูงสุด มีหลักการพิจารณาในเบื้องต้น ดังนี้

- แยก "กลุ่มโพธิ์" ให้ได้ 6 กลุ่ม โดยจะมีก้านโพธิ์กั้น

- ผนังซ้ายมือขององค์พระ จะมี "เส้นพิมพ์แตก" ลากจากพระกรรณยาวลงมาถึงโพธิ์ข้างหัวไหล่

- ปลายพระกรรณ เป็น "ขอเบ็ด"

- สะดือเป็นหลุมคล้าย "เบ้าขนมครก"

- มี "เส้นน้ำตก" ลากผ่านหน้าตักจนถึงชั้นฐาน

- มี "ฐาน" 4 ชั้น

- หัวแม่มือขวา กางอ้าปลายตัด

- ใบโพธิ์กลางชุดที่ 2 เป็น "โพธิ์ติ่ง"

- ใบโพธิ์จะตั้งเป็นสันนูนขึ้นมา คล้ายทรงพีระมิด

- เนื้อองค์พระจะละเอียดมาก ด้านหลังเป็นรอยคล้ายลายนิ้วมือ

- ก้นมีสองชนิด คือ ก้นเรียบและก้นแมลงสาบ (ก้นพับ)

การจะหาดูหาเช่า "พระองค์สำคัญ" ระดับ ประเทศ นั้น ต้องรอบรู้ รอบคอบ ละเอียด ถี่ถ้วน สดับตรับฟังกูรู

และควรหาผู้ไว้เนื้อเชื่อใจได้เพื่อช่วยดูช่วยตัดสินใจครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระวิสุทธิสมาจาร วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี

พระวิสุทธิสมาจาร วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี

อริยะโลกที่ 6

พระวิสุทธิสมาจาร (ศรี พรหมโชติ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี และอดีตเจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคตะวันออก อ.เมือง จ.ชลบุรี ที่มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมและเป็นเจ้าตำรับวัตถุมงคลพระปิดตาหลังกระบองไขว้ อันเลื่องชื่อแห่งยุค

มีนามเดิมว่า ศรี ยูถะสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2414 ที่ ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายทองและนางเอียง ยูถะสุนทร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอ่างศิลา มีพระอธิการยิ้ม วัดอ่างศิลา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการแสง วัดอ่างศิลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสุวรรณาทร (เที่ยง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เป็นพระเถระที่มีศีลาจารวัตรอันดี งาม เป็นผู้เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ถือกิจการงานพระศาสนาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงสังขารของท่านเองว่าเป็นอย่างไร ถึงแม้ยามเมื่อท่านชราภาพมาก เดินไม่ค่อยไหว ยังอุตส่าห์นั่งรถเข็นให้พระภิกษุสามเณรช่วยเข็นลงอุโบสถเป็นประจำ เว้นไว้แต่อาพาธหนักเท่านั้น

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2449 รักษาการเจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี พ.ศ.2451 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา พ.ศ.2453 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2456 เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง

พ.ศ.2459 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี และเจ้าคณะแขวงอำเภอศรีราชา พ.ศ.2476 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบางละมุงอีกตำบลหนึ่ง

พ.ศ.2482 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2456 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูสุนทรธรรมรส

พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญในราชทินนามที่ พระวิสุทธิสมาจาร
นอก จากเป็นพระเถระที่มีความเชี่ยวชาญด้านพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม ท่านยังเป็นผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้าเชี่ยวชาญ ด้วยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากพระอธิการยิ้มและพระอาจารย์แสง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าด้านพุทธาคม

นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลังคือ ตะกรุด กับพระอธิการจั่น ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย กับหลวงพ่ออี๋แห่ง วัดสัตหีบ 2 พระเกจิอาจารย์เจ้าตำรับเขี้ยวเสือกับปลัดขิกอันโด่งดัง

พ.ศ.2468 วัดอ่างศิลาได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศรี เนื่องในงานสร้างโรงเรียน นับ ได้ว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของท่าน

กระ ทั่งพ.ศ.2500 ท่านได้สร้างวัตถุมงคลพระปิดตาครั้งแรก ประกอบด้วยพระปิดตา รุ่นลองพิมพ์ คือ สร้างเพื่อให้หลวงปู่ศรีพิจารณา แต่รูปพิมพ์ไม่ค่อยสวย หลวงปู่จึงดำริให้สร้างพิมพ์ใหม่ มีน้อยมาก เพียงไม่กี่สิบองค์เท่านั้น, พระปิดตาหลังยันต์กระบองไขว้ โดยใช้ยันต์กระบองไขว้เป็นหลัก แต่กดพิมพ์ได้ 2 วัน บล็อกชำรุด จึงสร้างบล็อกใหม่, พระปิดตาหลังอิอะ, พระปิดตาหลังเรียบ, พระปิดตาพิมพ์แม่ครัว หรือพิมพ์จิ๋วหลังเรียบ

พระปิดตารุ่น 2 เรียกว่า พิมพ์นักกล้าม พระปิดตา รุ่น 3 พิมพ์สุรพล พิมพ์นิยม

ผง ที่หลวงปู่ศรีนำมาสร้างวัตถุมงคล เก็บรวบรวมผงดินสอที่เขียนอักขระบนกระดานดำสอนบาลีไวยากรณ์แก่พระภิกษุ สามเณรในวัด นำมาผสมกับผงอักขระคุณพระที่เรียกว่า ผงพุทธคุณ หรือ ผงมหาราช อันประกอบด้วย ผงอิทธิเจ ผงปถมัง กลายเป็นผงอิทธิฤทธิ์ พร้อมทั้งได้นำเกสรดอกไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ และเนื้อไม้ บดให้ละเอียด แล้วผสมกับผงวิเศษอิทธิฤทธิ์

เมื่อผสมผงรวมกันได้ดีแล้ว ได้ใช้น้ำยางรักผสมเข้ากับผงประสานให้ผงยึดแน่น

ขณะเดียวกันก็นำเอาใบลานหรือคัมภีร์เก่าที่เก็บสะสมไว้ เผาบดรวมกับพระปิดตาที่ท่านสร้างไว้ด้วย

ต่อมาได้สร้างพระปิดตาขึ้นอีก 2 รุ่นคือ ในปีพ.ศ.2504 และพ.ศ.2507 นับเป็นรุ่นสุดท้ายของท่าน

หลวงพ่อศรี มรณภาพเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2510 สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความรักอัน "ยิ่งใหญ่" ที่ไม่มีวัน...เสื่อมคลาย
คือความรักของ "พ่อและแม่"
" อย่าลืม ดูแลคนที่คุณรัก....
...และรักคุณดุจดวงใจกันนะค่ะ

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลวงพ่อโศก สุวัณโณ

หลวงพ่อโศก สุวัณโณ
อริยะโลกที่6

ในจังหวัดเพชรบุรีมีพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าๆ อยู่หลายท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว

"พระครูอโศกธรรมสาร" วัดปากคลองบางครก เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากรูปหนึ่ง โดยเฉพาะวัตถุมงคลเครื่องราง คือ พระขรรค์ แกะจากเขาควายเผือก เป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมเครื่องรางของขลัง

พระครูอโศกธรรมสาร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง (ชาวบ้านชอบเรียกว่า วัดปากคลองบางครก) ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ปีพ.ศ.2415 ที่บ้านแควใหญ่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายพันธุ์ และนางนาก พันธ์โพธิ์ทอง

เมื่อท่านอยู่ในวัยอันสมควรบิดาได้นำไปฝาก เรียนหนังสือกับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ท่านเป็นคนที่สนใจในการศึกษาเล่าเรียน จึงสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว

หลังจากนั้นพออายุครบบวช บิดา-มารดา ได้ให้บุตรชาย อุปสมบทที่วัดปากคลอง ในปีพ.ศ.2435 โดยมีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเพิ่ม วัดทุ่งสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า สุวัณโณ

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ ได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์พอสมควรแล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดมหาธาตุ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บาลีไวยากรณ์ และวิปัสสนากัมมัฏฐานในสำนักพระอธิการครุฑ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ ศึกษาอยู่ได้ปีเศษ พระอธิการครุฑท่านถึงแก่มรณภาพ หลวงพ่อท่านจึงได้ศึกษาต่อกับพระสุวรรณมุนี (ฉุย) วัดคงคารามฯ

ต่อมาในปีพ.ศ.2447 พระอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ลาออกจากตำแหน่ง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุสืบแทน แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเศษเท่านั้น วัดปากคลองก็ว่าง เจ้าอาวาสลง ชาวบ้านบางครกต่างก็มานิมนต์หลวงพ่อโศกให้ไปช่วยเป็นเจ้าอาวาส และช่วยพัฒนาวัดให้

หลวงพ่อจึงต้องกลับมาเป็น เจ้าอาวาสวัดปากคลอง

หลัง จากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลองแล้ว ได้จัดระเบียบและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้เรียบร้อย สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงเรียน พระอุโบสถ จนวัดปากคลองเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ในปีพ.ศ.2452 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดบางครก พ.ศ.2465 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม และเป็นพระครูอโศกธรรมสาร

หลวงพ่อโศกออกบิณฑบาตทุกวันและทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาด ท่านมีเมตตาปรานีแก่ทุกผู้ทุกนาม จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก

ด้าน วัตถุมงคล หลวงพ่อโศกจัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง แต่ที่ขึ้นชื่อ อาทิ พระเครื่องรุ่นเนื้อเกสร และเนื้อชินต่างๆ ตะกรุดจันทร์เพ็ญ ตะกรุดจันทร์ตรี ตะกรุดสามเพ็ญ ผ้ายันต์ราชสีห์ ผ้ายันต์บัวคว่ำบัวหงาย ปลาตะเพียน น้ำมันมนต์ น้ำเต้ากันไฟ แต่ที่ลือชื่อมากที่สุดคือ เหรียญพระจันทร์ครึ่งซีก เนื้อโลหะทองเหลืองและเนื้อชิน กึ่งกลางเหรียญทำเป็น รูปพระจันทร์เสี้ยว เหนือพระจันทร์เป็นอุณาโลม ข้างล่างพระจันทร์เขียนคำว่า อุ และพระขรรค์เขาควายเผือก ใช้สำหรับการปราบภูตผีปิีศาจ และคุ้มกันอันตราย และปลัดขิกทำด้วยไม้คูน (การะพริก) ตายพรายลงอาคม มีอานุภาพป้องกันสรรพอันตรายร้อยแปด และปัจจุบันยังเป็นวัตถุมงคลที่ยังได้รับความศรัทธาสูง

หลวงพ่อโศกมรณภาพอย่างสงบ วันที่ 11 ก.พ. 2482 อายุ 67 พรรษา 47


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"พระยอดธง วัดชะเมา" พล.ต.รณชัย มัญชุสุนทรกุล

"พระยอดธง วัดชะเมา" พล.ต.รณชัย มัญชุสุนทรกุล

พระเครื่องคนดัง

"การ ทำงานต้องยึดหลักคุณธรรม ยุติธรรม และจริยธรรม" เป็นคติการบริหารงานของ "พล.ต.รณชัย มัญชุสุนทรกุล" เจ้ากรมจเรทหารบก ที่เป็นคนมีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม ชื่นชอบการเข้าวัดทำบุญปฏิบัติธรรมเป็นประจำ เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่สมัยเด็กที่ได้รับการปลูกฝังจากครอบครัว

เสธ.มอญ เป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่นที่ 16 จบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 27 ถือเป็นนายทหารอีกนายหนึ่ง ที่ชื่นชอบสะสมพระเครื่อง

"เมื่อก่อนผม ไม่ค่อยได้สนใจสะสม พระเครื่อง อาจเป็นเพราะที่บ้านมีห้องพระและมีพระสมัยที่คุณพ่อท่านได้รับมอบ ก่อนนำมาบูชาที่ห้องพระ กระทั่งผมได้มีโอกาสรู้จักและศึกษาพระเครื่องในช่วงที่คุณพ่อนำพระที่เก็บ ไว้ออกมานั่งดูยามว่าง ผมเห็นพระที่มีพุทธศิลป์ของไทยที่งดงาม มีพุทธคุณที่ดี จึงเริ่มเก็บสะสมพระจากการที่เพื่อนพ้องในแวดวงทหารและผู้ใหญ่ที่เคารพ นับถือมอบให้ในโอกาสต่างๆ มีทั้งพระเนื้อผง เนื้อว่าน เนื้อโลหะ เนื้อสัมฤทธิ์ หรือพระกริ่ง เป็นต้น"

สำหรับพระเครื่องที่ เสธ.มอญ แขวนติดกายมีอยู่ด้วยกันหลายองค์ แต่ที่นำมาสวมคล้องคออยู่เป็นประจำ คือ พระหลวงปู่ทวด, หลวงพ่อพุทธชินราช และพระยอดธง วัด ชะเมา ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

เสธ.มอญบอกว่า พระยอดธง กรุวัดชะเมา หรือวัดประตูเขียน อ.เมือง นครศรีธรรมราช เป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน อาทิ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด มหาอำนาจ มหานิยม เสริมบารมีและโชคลาภ กล่าวกันว่า ใครมีไว้ในครอบครอง จะประสบแต่ความสำเร็จ ดั่งเป็นเคล็ดตามตำราพิชัยสงครามเมื่อครั้งโบราณกาล ที่สร้างพระยอดธงไว้ประจำธงชัยในการออกรบ"

"ช่วงแรกที่ได้มา ผมไม่คิดอะไรมาก อาราธนาขึ้นมาแขวนคอทันที ไม่ได้ศึกษาประวัติความเป็นมา จนคิดว่าน่าจะศึกษาพระเครื่องที่ได้มา โดยสอบถามจากผู้รู้และศึกษาจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ต"

"ผมคิดอยู่เสมอ ว่าพระทุกองค์ที่คล้องอยู่ในคอ ก่อนเดินทางออกจากบ้าน พระทุกองค์ท่านมีพุทธคุณที่ดี ก็จะอาราธนาท่านเพื่อให้คุ้มครองในการเดินทางให้แคล้วคลาด ปลอดภัย ซึ่งทำให้เรามีกำลังใจ และมั่นใจในการทำงาน"

ความเชื่อส่วนตัวของ "เสธ.มอญ" นั้นเชื่อว่า พระเครื่องทุกองค์ท่านมีพุทธคุณที่ดีมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมวลสารที่ผสมอยู่ในองค์พระที่เป็นสิริมงคล ประกอบกับการจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ที่มีการ สวดบทวิชาคาถา ที่เป็นสิริมงคล ทั้งสิ้น พระที่มาร่วมพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หรือเป็นพระสุปฏิ ปันโนอยู่แล้ว

เสธ.มอญ ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการสะสมพระเครื่อง ว่า พระเครื่องมีมาหลายร้อยปี มองว่าสิ่งนี้เป็นวิถีของคนไทยอีกแนวหนึ่ง ที่ถือ ได้ว่าอยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน ดูได้จากคนไทยนับถือศาสนาพุทธ จะมีพระพุทธรูปอยู่บนหิ้ง หรือในห้องพระไว้บูชาทุกบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลกับครอบครัว แต่พระเครื่องที่สามารถนำติดตัวไปกับเรานั้น คนไทยมีความเชื่อเรื่องพุทธคุณ เป็นเครื่องเตือนใจให้เราทำ แต่ความดี หากเรามีพระดีมีพุทธคุณสูง แต่คนที่มีไว้บูชา ไม่เคย เข้าวัดทำบุญ ไม่ทำความดี พระท่านก็ไม่คุ้มครอง

"การ ที่เราแขวนพระนั้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คอยปกป้องคุ้มครองและเตือนสติเราให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ก่อนออกจากบ้าน มาทำงานก็จะอาราธนาขอให้ปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น ปฏิบัติงาน สิ่งใดก็ให้เสร็จสิ้นตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ด้วยสติ ความรู้ ความสามารถ และที่สำคัญ ให้เรามีสติปัญญา ในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งดีให้กับกองทัพและประเทศชาติ" เสธ.มอญกล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

อยากให้ลูกๆทุกคนในโลกนี้ได้เข้าใจถึงใจของพ่อแม่ว่า

อยากให้ลูกๆทุกคนในโลกนี้ได้เข้าใจถึงใจของพ่อแม่ว่า
"หยาดเหงื่อทุกหยดของเพื่ออนาคตของลูก"


อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php


วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระวัดป่ามะม่วง พระเด่นสุโขทัย

พระวัดป่ามะม่วง พระเด่นสุโขทัย

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
เสฐียรพงษ์ วรรณปก


วัดป่ามะม่วง ตั้งอยู่ภายนอก ?อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย? นับเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตามประวัติศาสตร์ปรากฏความว่า

...สมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ทรงขยายอาณาเขตกว้างไกลจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช และทรงอาราธนาพระมหาเถระที่ได้ไปบวชเรียนตามพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แบบ หินยานจากประเทศลังกามายังกรุงสุโขทัย โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น ?สมเด็จพระสังฆราช? ทรงสร้าง "วัดป่ามะม่วง" ในบริเวณที่เงียบสงบเหมาะแก่การเจริญภาวนาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันเป็น กิจของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช พร้อมโปรดให้เป็นที่แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาจัดให้เป็นที่ว่าราชการงานเมืองแก่ข้าราชบริพาร

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 6 (จารึกวัดป่ามะม่วง) ภายในวัด กล่าวถึง

...พระ มหาธรรมราชาลิไทเสด็จออกจากเมืองศรีสัชนาลัย เพื่อปราบจลาจลในเมืองสุโขทัย และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ต่อมาได้ทรงนิมนต์พระมหาสามีสังฆราช จากเมืองพัน (เมืองของมอญ) มาจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง และเพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ โดยพระองค์ทรงจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.1905...อีกด้วย

วัดป่ามะม่วง ยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากที่วัดนี้มีพระพิมพ์เก่าแก่ที่มีกิตติศัพท์เป็นเลิศในด้านคงกระพัน ชาตรี ซึ่งนับว่ามีชื่อเสียงเป็นที่นิยมสะสมและหวงแหนของชาวสุโขทัยและจังหวัดใกล้ เคียง นั่นคือ "พระวัดป่ามะม่วง"

"พระวัดป่ามะม่วง" หรือบางท่านเรียกว่า "หลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง" เป็นพระเนื้อดินแบบครึ่งซีก มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อมวลสารมีส่วนผสมของเนื้อว่านและเกสร จึงแลดูนุ่มและปรากฏคราบรารักอยู่โดยทั่วไป สีส่วนใหญ่เป็นสีแดงและเหลือง

เนื่อง จากเป็นพระที่บรรจุกรุจึงปรากฏคราบนวลกรุอยู่ทั่วองค์พระ พุทธลักษณะเป็นพระรูปทรงกลีบบัว ทรงพิมพ์ติดคมชัดเจน องค์พระประธานมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยแบบขัดสมาธิราบ บนฐานหมอน 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้วเส้นคู่ขนาน

ปลายด้านล่างสุดงอนขึ้นคล้ายเศียร พญานาค พระเกศ แบบเกศบัวตูมอยู่บนมุ่นเมาลี พระศก นูนเด่นชัดเจนเชื่อมต่อลงมาเป็นพระกรรณ หรือที่เรียกกันว่า "ชฎาเลื้อย" พระพักตร์กลมป้อม ปรากฏ พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์อย่างชัดเจน ปรากฏเส้นวาดแสดงลำพระศอต่อจากพระพักตร์ถึงพระอังสา ในองค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นเส้นพระศอด้วย พระอุระอวบอูม และลาดเว้าลงมาเป็นพระอุทร กลมกลืนสง่างาม เส้นสังฆาฏิ เป็นเส้นคู่ขนาน ลากยาวลงมาจนถึงพระนาภีซึ่งเป็นหลุมลึกชัดเจน

จุดสังเกตประการสำคัญ ที่นับเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะ คือ พระพักตร์ช่วงหน้าจะมีลักษณะหักลงมา และพิมพ์ด้าน หลังมีลักษณะโค้งมน ซึ่งพระวัดป่ามะม่วงที่พบในกรุวัดอื่นๆ อาทิ วัดมหาธาตุ และวัดสระศรี ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกประการ

ยกเว้นพระพักตร์จะไม่หักและพิมพ์ด้านหลังจะเป็นพิมพ์หลังแบนครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลวงพ่อทองเหลือ ปาลิโต พระเกจิเรืองนามวัดท่าไม้เหนือ

หลวงพ่อทองเหลือ ปาลิโต พระเกจิเรืองนามวัดท่าไม้เหนือ

อริยะโลกที่6
สมภพ สินพิพัฒนฤดี


"พระครูสุนทรคุณวัฒน์" หรือ "หลวงพ่อทองเหลือ ปาลิโต" อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดท่าไม้เหนือ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ผู้เรืองวิทยาคม

มีนามเดิมว่า ทองเหลือ อินสาแล เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 6 พ.ย.2452 ที่หมู่ 5 ต.บ้านหม้อ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ในช่วงวัยเยาว์สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านท้ายน้ำ ต.บ้านหม้อ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

อุปสมบท เมื่อวันที่ 15 เม.ย.2488 ณ วัดกลาง ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมี พระไฝ สิริมังคโล วัดคลองโพธิ์ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์พระสิทธิ์ วัดคลองโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ประสงค์ วัดธรรมาธิปไตย เป็นพระอนุสาว นาจารย์

หลังอุปสมบท มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2478 สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท

นอก จากนี้ หลวงพ่อทองเหลือในสมัยเป็นพระหนุ่ม ศึกษาวิทยาคมกับพระอุปัชฌาย์ไฝ และฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อกล่อม วัดป่ากะพี้ พระเกจิดัง พร้อมหาประสบการณ์ด้านการปฏิบัติธรรม ด้วยการเดินธุดงค์ไปยังสถานที่หลายแห่งทั้งในประเทศไทย พม่าและลาว เพื่อศึกษาวิทยาคมนำมาช่วยสงเคราะห์ญาติโยม

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าไม้เหนือ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พ.ศ.2497 เป็นพระกรรม วาจาจารย์

ผลงานด้านการศึกษา พ.ศ.2519 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศาสนศึกษา วัดท่าไม้เหนือ พ.ศ.2529 เป็นกรรมการคุมสอบธรรมสนามหลวง

ผล งานการศึกษาสงเคราะห์ พ.ศ.2533 เป็นประธานจัดหาอุปกรณ์การเรียนบริจาคให้แก่นักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติดี แต่ยากจน บริจาคปัจจัยซื้อหนังสือสูตรพระปริยัติธรรมชั้นตรี แจกให้กับนักเรียนที่ตั้งใจเรียนและพระผู้บวชใหม่เพื่อให้ได้มีโอกาสศึกษา พระธรรมวินัย, มอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุของวัดท่าไม้เหนือที่เข้าสอบธรรมและผู้ที่สอบได้ ตามสมควร

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2530 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสุนทรคุณวัฒน์

ด้าน วัตถุมงคลของหลวงพ่อทองเหลือ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ปรารถนาของบรรดานักสะสมนิยมวัตถุมงคล คือ เหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ.2534 ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อทองเหลือ ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์สามเกลอกินน้ำบ่อเดียว มีทั้งเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองแดง จำนวน 5,000 เหรียญ หาทุนสร้างกำแพงวัด พ.ศ.2539 สร้างรูปหล่อเหมือน ตะกรุดโทนเรียกทรัพย์เงินล้าน ตะกรุดโทนเสาร์ห้าเมตตา โดยหลวงพ่อจะดำลงไปในแม่น้ำน่านเพื่อนั่งบริกรรมคาถาปลุกเสก และปลุกเสกเดี่ยวในพระอุโบสถตลอดพรรษา มอบให้กับศิษยานุศิษย์ไว้ป้องกันตัว จัดทำครั้งละไม่เกิน 9 ดอก ทั้งตัดแผ่นทอง ลงอักขระ ม้วนบริกรรมคาถา ลงรักและมัดด้วยสายสิญจน์ พร้อมเข้าพิธีใหญ่จึงเสร็จสมบูรณ์

พ.ศ.2544 หลวงพ่อทองเหลือ จัดสร้างวัตถุมงคลของดีเมืองพิชัย 92 ปี รายได้บำรุงการศึกษาพระปริยัติของสงฆ์ในอำเภอพิชัยและสมทบทุนสร้างศาลา ธรรมสังเวช ประกอบด้วย ล็อกเกตรูปเหมือนทรงรูปไข่และสี่เหลี่ยม, พระปิดตาภควัมบดีเนื้อโลหะ, พระสังกัจจายน์ เม็ดกระดุม

พ.ศ.2545 จัดสร้างรูปเหมือน หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว สำหรับซื้อเครื่องช่วยหายใจให้กับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พร้อมรูปหล่อขนาดเล็ก รุ่นพิเศษ อายุ 93 ปี พระครูวิสุทธิปัญญาสาร ลูกศิษย์ใกล้ชิดได้รับอนุญาต จัดสร้างเป็นรุ่นสุดท้าย หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษา

กระทั่งหลวงพ่อทองเหลือ มรณภาพลงอย่างสงบ ที่วัดท่าไม้เหนือ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2545 เวลา 13.53 น. สิรอายุ 94 ปี พรรษา 57

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระกริ่งมหาชัย ฉลองพุทธชยันตี

พระกริ่งมหาชัย ฉลองพุทธชยันตี

เปิดตลับพระใหม่

วัดมหาชัย (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี สร้างขึ้นพร้อมกับการตั้งเมืองมหาสารคาม สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สร้างโดยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม

ครั้งแรกเรียกชื่อว่าวัดเหนือ ตาม สภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัด ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2472 พระสารคามมุนี (สาร ภวภูตานนท์ฯ) อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 18 เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคามขณะนั้น ได้ขอเปลี่ยนชื่อจาก "วัดเหนือ" เป็น "วัดมหาชัย"

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2527 วัดมหาชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ปัจจุบันมี พระเทพสิทธาจารย์ (น้อย ญาณวุฒโฑ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม

พ.ศ.2555 วัดมหาชัยร่วมกับพุทธศาสนิก ชนชาวคุ้มวัดมหาชัย มีมติจัดสร้างวัตถุมงคลพระบูชาพระพุทธกันทรวิชัย และพระกริ่งมหาชัยขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้บูรณะเสนาสนะวัดมหาชัย หาทุนสมโภชพระอารามหลวง และเพื่อเป็นอนุสรณ์ฉลองพระพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สำหรับวัตถุมงคลของวัดมหาชัยรุ่นนี้ นอกจากสร้างพระบูชาแล้วยังจัดสร้างพระกริ่งมหาชัย นับเป็นรุ่น 1 ที่วัดจัดสร้างขึ้น ลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิประทับนั่งบนบัลลังก์ บริเวณผ้าทิพย์จะมีตราเสมาธรรมจักษ์ ปรากฏให้เห็นชัดเจน บริเวณใต้ฐานอุดกริ่งพร้อมตอกอักขระยันต์หนึ่งตัว เวลาเขย่าดูจะได้ยิ่นเสียงกริ่งดังกังวาน

พระกริ่งมหาชัย จัดสร้างรวม 4 เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนที่สั่งจอง เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 299 องค์ เปิดให้บูชาองค์ละ 2,499 บาท เนื้อเงิน สร้าง 299 องค์ บูชาองค์ละ 1,499 บาท เนื้อนวโลหะ สร้าง 5,555 องค์ บูชาองค์ละ 299 บาท

สำหรับมวล สารศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาหลอมเป็นชนวนประกอบด้วยฉนวนพระกริ่งวัดสุทัศนเทพวรา รามราชวรมหาวิหาร เหรียญพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศและในท้องถิ่น อาทิ หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 22 ธ.ค. 2555 ณ อุโบสถ วัดมหาชัย มีนายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ประธานฝ่ายฆราวาส, พระเทพสารคามมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานจุดเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ประกอบด้วย หลวงปู่เหรียญชัย จ.อุดร ธานี, หลวงปู่หนูอินทร์ จ.กาฬสินธุ์, พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ จ.มหาสาร คาม เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกตลอดคืนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น จากนั้นได้เปิดให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชาปรากฏว่าได้รับความสนใจมากพอสมควร

สนใจสอบถามที่วัดมหาชัยหรือศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคามบางแห่ง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
 

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลวงพ่อเลือน สุมังคโล ทายาทธรรมหลวงปู่สาม

หลวงพ่อเลือน สุมังคโล ทายาทธรรมหลวงปู่สาม

อริยะโลกที่6

"หลวงพ่อเลือน สุมังคโล" อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาลวภ บ้านตาลวภ ต.กังแอน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นพระวิปัสสนา จารย์ชื่อดังที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย และยังเป็นพระนักพัฒนา ที่นับถือศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียง

เกิดในสกุล เฉลียวไว เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2458 ที่บ้านตาลวภ ต.กังแอน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

ในวัยเยาว์เรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านสีโค แล้วออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง

ครั้น อายุ 19 ปี เข้าพิธีบรรพชา ที่วัดสุวรรณวิจิตร เป็นการบวชตามประเพณีไทยที่ว่าครอบครัวใดมีลูกชาย หากจะไปแต่งงาน ต้องให้บวชเรียนเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดา เป็นเวลา 1 พรรษา

ต่อมา แต่งงานกับนางสร้อย มีบุตรสืบสกุล 10 คน

พ.ศ.2523 นางสร้อย ภรรยาถึงแก่กรรมลง ขณะที่บุตรธิดาต่างเติบโตบรรลุนิติภาวะ ได้แยกย้ายไปมีครอบครัว ทำให้นายเลือนเกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก จึงนึกอยากบวชอีกครั้ง

พ.ศ.2524 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดนิคมพัฒนาราม มี พระมหาญาต เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านอยู่ จำพรรษาที่วัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว เพื่อฝึกเรียนพระธรรมวินัยและปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่สาม อกิญจโน พระเกจิดัง พร้อมกับได้ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเวลานานกว่า 2 ปี ก่อนเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อคืน วัดป่าบ้านคู หน้าเรือนจำจังหวัดสุรินทร์ และมีโอกาสช่วยพัฒนาสร้างวัด

พ.ศ.2526 ได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านขี้เหล็ก ต.กังแอน อ.ปราสาท ครั้งหนึ่ง แบ่งมรดกทรัพย์สินทั้งหมดให้กับบุตรธิดาเป็นจำนวนเท่ากัน ทั้งที่นาและที่ดิน บ้านตาลวภ หมู่ที่ 11 ถนนสุรินทร์-ปราสาท ส่วนที่เหลือเป็นที่ดินเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ท่านนำไปสร้างวัดแห่งใหม่ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พ.ศ.2528 หลวงพ่อเลือนเริ่มพัฒนาปลูกสร้างกุฏิ-ศาลาปฏิบัติธรรมชั่วคราวขึ้น สวนป่าร่มรื่น

ปัจจุบัน วัดป่าบ้านตาลวภ ปลูกสร้างถาวรวัตถุ สร้างซุ้มประตู สร้างกุฏิพักสงฆ์หลังเล็กเรียงรายรอบวัด

หลวง พ่อเลือนมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง พระภิกษุสามเณรลูกวัด ท่านได้กำหนดกฎระเบียบเข้มไว้ปกครองเป็นแนวปฏิบัติ คือ ห้ามมิให้ติดตั้งโทรทัศน์และฟังวิทยุ หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดฝ่าฝืน จะถูกลงโทษทางวินัย สถานเบาถูกตักเตือน สถานหนักถูกไล่ออกจากวัด

อุทิศ ตนรับใช้พระพุทธศาสนามาอย่างไม่รู้เหน็ด เหนื่อย มีความสำรวมในหลักพระธรรมวินัย ตามหลักคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตั้งมั่นอยู่ในสายธรรมยุต ควรอยู่อย่างสันโดษ ใช้ชีวิตสมถะเรียบง่ายต่อการดำรงชีวิต

แม้จะบวชเรียนเข้าสู่ร่ม กาสาวพัสตร์ในวัยชรา แต่หลวงพ่อเลือนยังหมั่นฝึกฝนปฏิบัติตามคำสั่งสอนครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่สาม อกิญจโน ทำให้เกิดความซึมซับ โดยตั้งปณิธานไว้ว่า จะละสังขารในเพศบรรพชิต

คณะศิษยานุศิษย์ของท่าน ต่างคุ้นเคยในจริยวัตรอันงดงาม แม้ว่าท่านจะไม่ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคม เพราะไม่เห็นด้วยกับวัตถุงมงาย มุ่งแต่สร้างสมบารมี ด้วยการปฏิบัติธรรม แผ่เมตตาให้ญาติโยม

ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัยด้วยความไม่เที่ยงของ สังขาร หลวงปู่มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง ดวงตาเริ่มพร่ามัว มองไม่ค่อยจะเห็น ประสาทหูรับฟังไม่ชัด ต้องพูดเสียงดัง กระทั่งวันที่ 2 มี.ค. 2551

มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุ 94 พรรษา 27

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

ยันต์ลงตะกรุด ๙ ปล่อง หลวงพ่อพาน

ยันต์ลงตะกรุด ๙ ปล่อง หลวงพ่อพาน

ยันต์ลงตะกรุด๙ปล่องหลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง : ชั่วโมงเซียน อ.โสภณ
               ตะกรุดของพระครูประวัติศีลาจาร หรือ หลวงพ่อพาน สุขกาโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกะสัง) ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ แม้แต่หลวงพ่อยิดยังยกย่องตลอด (เรียกว่าเป็นพี่เบิ้มของพระอาจารย์แถบภาคกลางตอนล่างในยุคนั้น) หลวงพ่อยิดท่านพูดว่า ของฉันเก่งก็เก่งจริง แต่ถ้าทำไม่ดี เดี๋ยวคุ้มไม่ได้ ของหายบ้าง เสื่อมบ้าง อะไรบ้าง แต่ของหลวงพ่อพานคุ้มได้หมด นั่นคือวัตถุมงคลของหลวงพ่อพานท่านคุ้มครองแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่หลวงพ่อคูณเอง ถ้ามีคนจากภาคกลางหรือภาคใต้ไปเยี่ยมท่าน ท่านจะบอกว่าให้ไปไหว้หลวงพ่อพานแทน หลวงพ่อคูณท่านว่า “ไปไหว่หลวงพ่อพานนู่น เก่งกั่วกู๋อี๊ก” (ไปไหว้หลวงพ่อพานนู่น เก่งกว่ากูอีก)

               อ.ไชยา อ่ำสำอางค์ "เซียนใหญ่พระหลวงพ่อยิด" และเจ้าของฉายา "ศิษย์พ่อยิด" บอกว่า "ท้องที่กุยบุรีแล้วท่านเป็นอันดับหนึ่งเรื่องคงกระพันชาตรีหนังเหนียวยิ่ง นัก มีประสบการณ์จนเป็นที่กล่าวถึงและเรื่องเล่ากันมากมาย สิ่งที่เป็นสุดยอดแห่งความต้องการของบรรดาลูกศิษย์ก็คือ ตะกรุดโทน หรือ ตะกรุด ๙ ปล้อง ท่านจะลงจารเองทุกดอกและจะลงช่วงในพรรษาแค่ ๑๐๘ ดอกเท่านั้น"

               โดยนิสัยส่วนตัวแล้วจะมีนิสัยเป็นคนขี้สงสัย และต้องหาคำอธิบายให้คลายสงสัยให้ได้ โดยเฉพาะตะกรุดที่อาจารย์แต่ละท่านทำนั้น พระเกจิอาจารย์จารด้วยคาถาอะไร บทไหน สามารถคลี่ออกมาดูได้หรือไม่ ด้วยความคุ้นเคยกับหลวงพ่อพาน หลวงพ่อยิด วันหนึ่งระหว่างที่อยู่วัดหนองจอก ไม่มีญาติโยมมาหา จึงได้ถามหลวงพ่อยิดถึงข้อสงสัยที่อยากรู้มานานว่า ตะกรุดสามารถคลี่ออกมาได้หรือไม่ หรือว่าคลี่แล้วคาถาที่ใช้กำกับจะเสื่อมหรือไม่ และได้รับคำตอบที่ทำให้คลายข้อสงสัยได้ โดยหลวงพ่อยิดตอบว่า

               ในสมัยก่อนคนเขาเล่นอาคมกัน สมมุติว่าเราไปมีเรื่องกับใคร แล้วเราอาจจะยิงเขา หรือฟันแทงเขา แต่ว่าไม่ว่าจะยิงฟันแทงอย่างไรก็ไม่สามารถทำอะไรคู่ต่อสู้ได้เสียที ฝ่ายเราที่ทำอะไรเขาไม่ได้ก็ต้องสืบเสาะหาดูว่า อีกฝ่ายหนึ่งครูบาอาจารย์เขาลงคาถาอะไรให้ลูกศิษย์ เมื่อทราบว่าใช้คาถาแบบไหนเราจะได้แก้อาคมของเขา เมื่อแก้ได้แล้วคราวนี้เราก็สามารถจะยิงฟันแทนคู่ต่อสู้ของเราได้ เรื่องมันเป็นอย่างนี้แหละ แต่ยุคหลังเขาไม่หวงวิชากันเหมือนกับหลวงพ่อที่จารและเสกเป่าแล้วให้ลูก ศิษย์ม้วนตะกรุดนั้นได้ จึงคลายข้อสงสัยว่า "เหตุใจเขาจึงไม่คลี่ตะกรุดกัน"

               อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีใครกล้าคลี่ตะกรุด ๙ ปล้อง ของหลวงพ่อพานดู โดยเกรงว่าอาคมจะเสื่อม แต่ยังมีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดและเป็นกรรมการวัดเท่านั้นจึงได้รับมอบผ้ายันต์ จากมือหลวงพ่อพานเมื่อครั้งยังที่ท่านมีชีวิตอยู่ สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ "ยันต์ที่ลงผ้ากับยันต์ที่ลงตะกรุดเหมือนกัน โดยเขียนเป็น ๙ ช่องทั้งแนวนอนและแนวตั้ง รวมแล้วมียันต์ทั้งหมด ๘๑ ตัว" ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า "ตะกรุด ๙ ปล้อง"

               ตะกรุด ๙ ปล่อง ซึ่งมียันต์ ๙ แถว แจกลูกศิษย์ ออกดอกละ ๑,๐๐๐ บาท เพื่อสมทบทุนซื้อปูนสร้างโบสถ์ ลักษณะการลงยันต์ในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการลงยันต์แบบตัวเดียว หรือเรียกว่ายันต์โดด แต่ละตัวมีความหมายเป็นเอกลักษณ์มีความหมายเฉพาะตัว ไม่ได้คล้องเป็นบทเดียวกัน ตะกรุดจารมือของหลวงพ่อพานแต่ละดอกจึงมียันต์ไม่เหมือนกัน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น

               แถวแรก มียันต์ ๙ ตัว ประกอบด้วย

               อิ มาจาก อิติปิโสรัตนมาลา ใช้ทางคงกระพัน

               สัม มาจาก สัม มา สัม พุท โธ ใช้ได้ทุกทาง

               โร มาจากตัวท้ายของคำว่า อะ นุ ตธ โร โส ทา ยะ

               วา มาจากตัวท้ายของ ภควา หัวใจพระเจ้าดำเนิน ใช้ทาง คุ้มกัน

               ชา มาจาก นะ ชา ลิ ติ คาถาหัวใจพระฉิม (คาถาข่ายเพชรพระพุทธเจ้า)

               วิ มาจาก วิชชาจรณะสัมปันโน

               สะ มาจาก สัตถาเทวมนุษสานัง

               โน มาจาก สัมปันโน แปลว่าสมบูรณ์

               ตะ มาจาก ตะมัตถังปากาเสโต

               แถวที่ ๒ นะ มาจากจาก นะ โม พุท ธา ยะ คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์

               คะ มาจา คะพุทปันทูทะวะคะ  เป็นคาถาประจำวันเกิด

               ระ ไม่มีความหมาย

               สัม มาจาก สัมมาอะระหัง

               ปุ มาจาก อะสังวิสุโลปุสะพุภะ

               โธ มาจาก พุทโธ

               คะ มาจา คะพุทปันทูทะวะคะ  เป็นคาถาประจำวันเกิด

               สะ มาจาก สัตถาเทวะ ใช้ในทางอำนาจ

               พุท มาจาก พุทโธ ซึ่งเป็นนามพระพุทธเจ้า

               ในการเขียนยันต์ของหลวงพ่อพานนั้น แต่ละตัวไม่สัมพันธ์กันเลย นอกจากนี้บางตัวแปลความไม่ได้ยาก เข้าใจว่า "ระหว่างการลงยันต์นั้น หากท่านนึกยันต์ตัวใดได้ก็จะเขียนตัวนั้นลงไป" ด้วยเหตุนี้หากนำตะกรุดหลายๆ ดอกมาคลี่ดู จะเห็นว่า "ตำแหน่งของการลงยันต์แต่ละช่องไม่เหมือนกันเลย" 

คาถาฤาษี๑๐๘
               คาถา บูชาฤาษีมีอยู่หลายหลายตน ฤาษีที่คนไทยคุ้นเคย เช่น

               คาถาบูชาพระฤาษี ทั่วๆ ไปใช้ "โอม อมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปริภุญชันตุ ทุติยัมปิ อมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปริภุญชันตุ ตะติยัมปิ อมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปริภุญชันตุ"

               คาถาบูชาพ่อแก่ ที่ว่า "อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพพัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาศสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ทุติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพพัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาศสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพพัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาศสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม"

               คาถาบูชาพ่อปู่ฤาษีนารอด ที่ว่า "ฤ ฤา อะระหัง อยู่แล้วหรือยัง พ่อปู่นารอด ขอเชิญเสด็จมาอยู่หัว เอหิ มาบังเกิด ฤ ฤา ภะคะวา อุทธัง อัทโธ จะภะกะสะ คงคงอะ"

ปาฏิหาริย์ที่มีตัวตนจริง
               ในการจัดพิมพ์หนังสือประวัติและวัตถุมงคล "หลวงพ่อพาน สุขกาโม" โดย ด.ต.วิรัตน์ อาจสัญจร ผบ.หมู่งานจราจร สน.บางยี่ขัน กทม. ผู้สะสมและรวบรวมปาฏิหาริย์พระหลวงพ่อพาน ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติหลวงพ่อพาน การจัดสร้างวัตถุมงคล และประสบการณ์จริงไว้เกือบ ๗๐ เรื่อง โดย "รายได้จากการจำหน่ายหนังสือเล่มนี้มอบแก่วัดโป่งกะสัง"

               ด.ต.วิรัตน์ ได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ฉีกแนวของหนังสือพระเครื่องทั่วๆ ไปเลยทีเดียว โดยการนำเอาผู้ที่มีประสบการณ์จริงๆ จากการใช้วัตถุมงคลของท่าน ที่ยังมีชีวิตอยู่มาถ่ายทอดลงหนังสือด้วยตนเอง แถมยังใส่เบอร์โทรศัพท์ของผู้เล่าลงไป เพื่อให้ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้คลายความสงสัยในเรื่องที่ตนเองได้อ่านว่า ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นมาหลอกคนอ่านหนังสือ

               จากประสบการณ์จริงเมื่ออ่านจบแล้วคุณจะไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมขนาด หลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ยังกล่าวชมท่านตอนที่ชาวบ้านโป่งกะสังเหมารถบัสใหญ่หลายคัน มากราบนมัสการท่านว่า “พวกเองไม่ต้องมาหาข้าถึงที่นี่ด๊อกมันไกล พ่อพานเองเก่งยิ่งกว่ากูอีก” หรือแม้แต่ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ที่ว่าเก่ง ยังให้ลูกศิษย์ของตนเองไปเอาของดีจากท่าน หนังสือเล่มนี้จะให้คำตอบคุณได้เป็นอย่างดี

               หลวงพ่อพาน มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ รวมอายุ ๘๔ ปี สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย ถูกเก็บไว้ในโลงไม้เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ชมบารมี ปัจจุบันวัดโป่งกะสังมีพระครูถาวรธรรมประสิทธิ์ เป็นเจ้าอาวาส งานหนึ่งที่ท่านสานต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อพานคือ สร้างโบสถ์ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๔ ผ่านไปกว่า ๔๐ ปี โบสถ์ที่หลวงพ่อพานสร้างไว้ยังไม่แล้วเสร็จ ผู้มีจิตศรัทธาเข้ากราบสรีระหลวงพ่อพาน และร่วมบุญสร้างโบสถ์ได้ที่ โทร.๐-๓๒๘๒-๓๐๙๒  และ ๐๘-๙๙๘๐-๖๖๗๐

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก วัตถุมงคลเมืองอุตรดิตถ์

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก วัตถุมงคลเมืองอุตรดิตถ์

สมภพ สินพิพัฒนฤดี

เมื่อ เร็วๆ นี้ ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัช กิตตินภดล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระฤกษ์ ยกอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก วีรบุรุษคนสำคัญของชาติ ฐานปัจจุบันไปยังแท่นที่จำลอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของอนุสาวรีย์ เป็นเวลา 120 วัน

โดยยกฐานให้สูงขึ้นจากเดิม 2 เมตร เพิ่มอีก 2.50 เมตร รวมเป็น 4.50 เมตร เพื่อให้สมเกียรติและเกิดความสง่างาม พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์รอบอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ให้เหมาะสมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา สักการะเคารพบูชา ด้วยเหตุที่ฐานเดิมชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา

อนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหัก ออกแบบโดยกรมศิลปากร ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือติดด้ามดาบป้องกันดาบหลุดมือ ดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา ปั้นแบบโดย นายสนั่น ศิลากรณ์ ปฏิมากรเอก ชั้นครู ศิลปินแห่งชาติ ศิษย์เอกของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และศาสตรา จารย์โคราโด เฟโรจี ชาวอิตาลี

อนุสาวรีย์มีขนาดใหญ่กว่าคนปัจจุบันจริง 3 เท่า หล่อด้วยทองเหลืองผสมโลหะ โดยกรมศิลปากร วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2511 ก่อสร้างเสร็จเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2512 พร้อมจัดสร้างเหรียญพระยาพิชัย ในปีพ.ศ.2513 ออกแบบโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์

พระยาพิชัยดาบหัก นามเดิม จ้อย เกิดเมื่อ พ.ศ.2284 ณ บ้านห้วยคาเมืองพิชัย ในวัยเด็กบิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดมหาธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

อายุ 14 ปี เกิดชกต่อยกับลูกเจ้าเมืองพิชัย หนีออกจากวัด เปลี่ยนชื่อเป็น "ทองดี" ฝึกฝนมวยไทยฟันดาบจนมีฝีมือ เดินทางไปถึงเมืองตาก ขึ้นชกมวยในงานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ปราบครูมวยชื่อดัง จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "หลวงพิชัยอาษา" ร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราช รบสู้กับพม่าชนะศึกหลายครั้งหลายคราว สู้รบจนดาบหักกลางสนามสมรภูมิไปข้างหนึ่ง ได้รับฉายาพระยาพิชัยดาบหักมาถึงปัจจุบันนี้

สำหรับ "เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก" จัดสร้างขึ้นหลังจากมีการวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ บริเวณหน้าศาลา กลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานคณะกรรมการจัดสร้าง นำโดย พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 และ นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ รองประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการที่ปรึกษาสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก มีมติให้จัดสร้างเหรียญพระยาพิชัย

ด้านหน้าเหรียญ มีรูปพระยาพิชัยดาบหัก ชุดแม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือติดด้ามดาบเพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ ดาบข้างขวาหัก มุมขอบล่างปรากฏตัวหนังสือ "พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์"

ด้าน หลังเหรียญ อัญเชิญมหายันต์อัน ศักดิ์สิทธิ์ เช่น มหายันต์เกราะเพชร หรือ ยันต์อิติปิโส 8 ทิศ หรือ ยันต์กระทู้ 7 แบก ประกอบอักขระขอมและยันต์ตัวนะต่างๆ พร้อมกับมีตัวหนังสือ "๑ ก.พ. ๒๕๑๓" ด้านล่างของเหรียญ จำนวนจัดสร้างทั้งสิ้น เนื้อทองคำ 189 เหรียญ เนื้อเงิน จำนวน 999 เหรียญ และเนื้อทองแดง จำนวน 99,999 เหรียญ

เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2513 จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก มีพระเกจิ อาจารย์และสุดยอดคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม จากทั่วประเทศ จำนวนกว่า 100 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง, หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อ.ตรอน อุตรดิตถ์, หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อ.เมือง อุตรดิตถ์, หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส อ.ลับแล อุตรดิตถ์, หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อ.ด่านลานหอย สุโขทัย, หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ สุโขทัย, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์, หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี เป็นต้น

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก ทางคณะกรรมการได้เปิดจำหน่ายเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ในงานประจำปีที่ กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-7 ก.พ.2513 เพื่อให้ผู้มาเที่ยวงานได้บูชากันเป็นการน้อมรำลึกถึง บรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาติ

ปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ถือเป็นความสง่างามต่อพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งเป็นวีรบุรุษผู้กล้าแก่ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และผู้เคารพศรัทธาทั่วไป

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์ พระหมอแผนไทยปากน้ำโพ

หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์ พระหมอแผนไทยปากน้ำโพ

คอลัมน์ อริยะโลกที่6


ย้อน กลับไปสมัยที่การแพทย์ด้านศัลยกรรมยังไม่เจริญดังเช่นปัจจุบัน หากใครที่ประสบอุบัติเหตุแขนขาหัก มักจะรักษาไม่หายขาด ถูกตัดแขนตัดขาทิ้งไปบ้างก็มี

แต่สำหรับคนในพื้นที่เขตจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง หากประสบอุบัติเหตุแขนขาหัก ส่วนใหญ่จะมุ่งตรงไปหาหลวงพ่ออินทร์ แห่งวัดเกาะหงษ์

"หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต" วัดเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงทางด้านการรักษาโรคกระดูกหัก แขนหัก ขาหัก โดยใช้วิธีรักษาด้วยสมุนไพรและคาถาอาคม วิธีการรักษาของหลวงพ่ออินทร์เลื่องลือไปไกล มีผู้มาขอให้รักษามากมาย

หลวง พ่ออินทร์มีนามเดิมว่า ทองอิน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย พ.ศ.2425 ที่บ้านท่าประชุม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี สกุลเดิมของบิดาท่านเป็นจีน อยู่เมืองสวรรคโลก จ.สุโขทัย มีอาชีพทำไร่ ต่อเรือ และค้าไม้ซุง

ต่อมาได้อพยพมาทำมาค้าขายที่ ต.เกรียงไกร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จากนั้นย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี มีอาชีพเป็นช่างทอง และค้าขายจนได้เป็นนายอากร ก่อนเลิกกิจการค้าขายอพยพไปประกอบอาชีพที่จังหวัดปราจีนบุรี

เมื่อ อายุได้ 9 ขวบ บิดาถึงแก่กรรม มารดาได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่บ้านเกาะ ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และได้นำไปฝากไว้กับพระอาจารย์รุ่ง วัดบ้านเกาะ เพื่อเรียนหนังสือไทยและอักษรขอม จนย่างเข้าสู่วัยรุ่นจึงออกมาช่วยโยมมารดาประกอบอาชีพ

ครั้นอายุครบบวชจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านเกาะ มีพระอาจารย์กัน เป็นพระอุปัชฌาย์

หลัง อุปสมบทท่านตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย พรรษาที่ 5 ได้รับนิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกรด 1 พรรษา แล้วกลับมาอยู่วัดบ้านเกาะตามเดิม

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2472 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะหงษ์

ลำดับ สมณศักดิ์ พ.ศ.2464 เป็นพระสมุห์ฐานานุกรมในพระครูสวรรค์นัคราจารย์ เจ้าคณะจังหวัด พ.ศ.2468 เป็นพระปลัดฐานานุกรมท่านพระครูองค์เดิม

พ.ศ.2485 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระครูนิโรธธรรมประยุต

เกียรติคุณ วิเศษของหลวงพ่ออินทร์ คือ ด้านการแพทย์แผนโบราณ ท่านได้ศึกษาและรวบรวมตำรายาสมุนไพรไว้มากมาย และมีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษากระดูก กระดูกหัก กระดูกแตก

นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังมีพลังจิตรักษาพิษสุนัขบ้าได้อย่างชะงัดอีกด้วย

วิธี การรักษาโรคกระดูกของหลวงพ่ออินทร์ รักษาด้วยน้ำมันมนต์ ท่านได้หุงน้ำมันต่อกระดูกทุกชนิด ถ้ากระดูกหักและแตกจะเข้าเฝือก ใช้มนต์คาถาเป่า การเข้าเฝือกสมัยก่อนจะเข้าโดยการน้ำไม้ไผ่ผ่าซีก 5-7 อัน กว้างประมาณ 1 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้ด้ายสายสิญจน์เป็นตัวยึดซีกไม้ซึ่งผูกรอบแขนหรือขา บริเวณที่กระดูกหัก แล้วชโลมทาด้วยน้ำมันมนต์ทุกวันจนกว่ากระดูกที่หักจะต่อติดกัน จึงนำเฝือกออก

หลวงพ่ออินทร์เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และเป็นที่พึ่งของผู้เจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ท่านยังมีความชำนาญในงานนวกรรม พ.ศ.2472 ท่านได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโรงเรียนปริยัติธรรม พ.ศ.2494 ได้ก่อสร้างพระอุโบสถ และสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดเกาะหงษ์

ตลอด ชีวิตของหลวงพ่ออินทร์ท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีทั้งด้านอบรมสั่งสอนให้ชาว บ้านประพฤติดีปฏิบัติชอบ ให้ความเมตตาสงเคราะห์ผู้ประสบทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วยและเป็นพระนักพัฒนา ที่ยิ่งใหญ่รูปหนึ่ง นอกจากได้ก่อสร้างศาสนสถานในวัดเกาะหงษ์แล้ว ท่านยังเป็นผู้นำในการก่อสร้างโบสถ์ ศาลาอีกหลายแห่ง เช่น อุโบสถวัดกลางแดด วัดหนองกรด วังดงชะพลู วัดนากลาง วัดโกรกพระเหนือ เป็นต้น

หลวงพ่ออินทร์มรณภาพเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2513 สิริอายุ 88 ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกของบรรดาศิษยานุศิษย์

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

วันจัดงานประกวดพระเครื่อง พ.ศ 2557 และ สถานที่จัดงานประกวดพระเครื่อง

วันจัดงานประกวดพระเครื่อง พ.ศ 2557  และ สถานที่จัดงานประกวดพระเครื่อง


วัน จัดงานประกวด  12 มกราคม 2557    งานประกวดพระเครื่อง ณ โรงเรียนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี    คณะผู้ดำเนินงาน  ชมรมพระเครื่องเมืองอู่ทอง

วัน จัดงานประกวด  19 มกราคม พ.ศ. 2557    งานประกวดพระ โรงแรมสุนีย์แกรนด์แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์  คณะผู้ดำเนินงาน  มูลนิธิหลวงปู่มั่น , นักอนุรักษ์พระเครื่องจังหวัดอุบลราชธานี

วัน จัดงานประกวด  วันที่ 26 มกราคม  2557     งานประกวดพระเครื่อง หอประชุมโรงเรียนสิงห์สมุทร อ.สัตหีบ จ.ชลบุร์  คณะผู้ดำเนินงาน   มูลนิธิ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่

วันจัดงานประกวด วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557  งานประกวดพระเครื่องจังหวัดบึงกาฬ ปี 2557 ณ โรงแรมเดอะวัน  คณะผู้ดำเนินงาน   หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับ ชมรมพระเครื่องบึงกาฬ

วัน จัดงานประกวด   วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557   ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนบี ถนนแจ้งวัฒนะ     คณะผู้ดำเนินงาน ประธานบริหารภาคใต้รวมกัน 3 เขต

วัน จัดงานประกวด  วันที่ 2 มีนาคม 2557    งานประกวดพระ ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 ห้างสุขอนันต์ปาร์ค สระบุรี    คณะผู้ดำเนินงาน   ชมรมอนุรักษ์พระเครื่องเมืองสระบุรี ร่วมกับห้างสุขอนันต์ปาร์ค

วันจัดงานประกวด  วันที่ 9 มีนาคม 2557    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนบี ถนนแจ้งวัฒนะ
คณะผู้ดำเนินงาน  นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 29 (พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว)

วันจัดงานประกวด  วันที่ 23 มี.ค.57    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนบี ถนนแจ้งวัฒนะ
คณะผู้ดำเนินงาน   นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 41 (พ.ต.อ.อัครเดช พิมลศรี)

วันจัดงานประกวด  วันที่ 30 มี.ค.2557  งานประกวดพระเครื่องท้องถิ่น  คณะผู้ดำเนินงาน
ชมรมพระเครื่องบางบ่อ จ.สมุทรปราการ

วัน จัดงานประกวด  วันที่4 พฤษภาคม 2557  โรงแรมสยามธานี จ.สุราษฎร์ธานี    คณะผู้ดำเนินงาน  ชมรมพระเครื่องพระบูชาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันจัดงานประกวด   วันที่ 18 พ.ค.2557    กองพันทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี    คณะผู้ดำเนินงาน  พ.อ.นิคม อุดมเลิศวนศิลป์

วัน จัดงานประกวด  วันที่15 มิถุนายน 2557    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนB ถนนแจ้งวัฒนะ คณะผู้ดำเนินงาน   ชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง สนับสนุนโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

หมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูล งานประกวดพระเครื่อง ปี2557 เพิ่มเติมได้ที่ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โทร.02-952-7898 ปฏิทินงานประกวดพระเครื่อง ที่แจ้งนี้ ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า(บางงานอาจจะเป็นงานในท้องถิ่นจัดขึ้น) อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ บางงานที่แจ้งไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโปรดสอบถามทางผู้จัดในแต่ละงานอีกครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บ.พระเครื่อง ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ 
http://เว็บพระ.net/index.php

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์

สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด วัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาแต่ในอดีต และที่วัดแห่งนี้มีพระเครื่องที่เป็นพระยอดนิยมอยู่หลายยุคหลายสมัย เช่น พระกรุเนื้อผงใบลาน พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ นอกจากนี้ยังมีสร้อยตะกรุดประคำคาบของท่านเจ้าคุณสนิทที่สุดแสนจะหายากใน ปัจจุบันครับ ในส่วนของพระกรุเนื้อผงมีการสันนิษฐานกันไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สร้างไว้ก็มี ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันและนำพระที่หายากของกรุนี้มาให้ชมกันครับ

วัดโมลีโลกยาราม เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังเดิม ปากคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งทิศเหนือ กทม. ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ครั้นต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนพระอารามใหม่เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอถึงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอาราม อื่นๆ อีก และพระราชทานชื่อวัดเสียใหม่ เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังเรียกติดปากกันว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาด นี้เป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษรแด่รัชกาลที่ 4 เมื่อท่านมรณภาพรัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ" โดยหล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุกไก่เถื่อน)


พระกรุเนื้อผงใบลานที่พบในกรุวัดท้ายตลาดนี้ตามประวัติแล้วเป็นพระที่สร้างโดย พระวิเชียรมุนี อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนท่านเจ้าคุณสนิท พร้อมทั้งหลวงพ่อแย้มและหลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกรรมฐาน ผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามแห่งนี้ ได้สร้างบรรจุไว้ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประมาณปีพ.ศ.2431

การเปิดกรุนั้นได้มีคนร้ายลักลอบเจาะ พระเจดีย์ราย 2 องค์ทางด้านทิศใต้อยู่หลายครั้ง และทางวัดก็อุดซ่อมอยู่เสมอ ครั้นในปีพ.ศ.2485 คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ทางราชการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือขอพระเครื่องฯ มายังสำนักนี้ เพื่อมอบให้กับทหารและตำรวจสนาม เช่นเดียวกับที่ขอไปยังสำนักอื่นๆ พระประสิทธิศีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้ดำริให้ขุดพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็น อันมาก กับทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุบี๊บบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 องค์ มอบให้ทางราชการไป เป็นพระพิมพ์ต่างๆ หลายชนิด

นอกจากนี้ที่กรุวัด ท้ายตลาดยังพบตะกรุดเนื้อชินผุๆ อีกจำนวนหนึ่ง ในระยะต่อมาได้พบพระเครื่องแบบพระวัดท้ายตลาดอีกที่วัดนางชี และวัดหงส์อีกด้วย แสดงว่าพระเครื่องวัดท้ายตลาดมีการบรรจุไว้ตามกรุต่างๆ หลายที่ด้วยกัน

พระวัดท้ายตลาดที่พบครั้งนี้เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลาน ลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จปิลันทน์ มีคราบนวลกรุจับที่ผิวของพระและมีไขขาวจับอยู่ทั่วไป ที่ด้านหลังส่วนมากจะมีรอยตราประทับเป็นอักขระกดลึกลงไปในเนื้อพระ มีพิมพ์พระต่างๆ มาก มายหลายแบบ รวมทั้งพระปิดตา ซึ่งพระปิดตาของวัดท้ายตลาดก็มีอยู่หลายพิมพ์เช่นกัน และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาของวัดท้ายตลาด พิมพ์ต่างๆ มาให้ชมกันครับ ในด้านพุทธคุณดีทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ อีกทั้งทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ และทางด้านแคล้วคลาดครับ

ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ