วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

วันจัดงานประกวดพระเครื่อง พ.ศ 2557 และ สถานที่จัดงานประกวดพระเครื่อง

วันจัดงานประกวดพระเครื่อง พ.ศ 2557  และ สถานที่จัดงานประกวดพระเครื่อง


วัน จัดงานประกวด  12 มกราคม 2557    งานประกวดพระเครื่อง ณ โรงเรียนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี    คณะผู้ดำเนินงาน  ชมรมพระเครื่องเมืองอู่ทอง

วัน จัดงานประกวด  19 มกราคม พ.ศ. 2557    งานประกวดพระ โรงแรมสุนีย์แกรนด์แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์  คณะผู้ดำเนินงาน  มูลนิธิหลวงปู่มั่น , นักอนุรักษ์พระเครื่องจังหวัดอุบลราชธานี

วัน จัดงานประกวด  วันที่ 26 มกราคม  2557     งานประกวดพระเครื่อง หอประชุมโรงเรียนสิงห์สมุทร อ.สัตหีบ จ.ชลบุร์  คณะผู้ดำเนินงาน   มูลนิธิ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่

วันจัดงานประกวด วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557  งานประกวดพระเครื่องจังหวัดบึงกาฬ ปี 2557 ณ โรงแรมเดอะวัน  คณะผู้ดำเนินงาน   หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับ ชมรมพระเครื่องบึงกาฬ

วัน จัดงานประกวด   วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557   ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนบี ถนนแจ้งวัฒนะ     คณะผู้ดำเนินงาน ประธานบริหารภาคใต้รวมกัน 3 เขต

วัน จัดงานประกวด  วันที่ 2 มีนาคม 2557    งานประกวดพระ ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 ห้างสุขอนันต์ปาร์ค สระบุรี    คณะผู้ดำเนินงาน   ชมรมอนุรักษ์พระเครื่องเมืองสระบุรี ร่วมกับห้างสุขอนันต์ปาร์ค

วันจัดงานประกวด  วันที่ 9 มีนาคม 2557    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนบี ถนนแจ้งวัฒนะ
คณะผู้ดำเนินงาน  นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 29 (พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว)

วันจัดงานประกวด  วันที่ 23 มี.ค.57    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนบี ถนนแจ้งวัฒนะ
คณะผู้ดำเนินงาน   นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 41 (พ.ต.อ.อัครเดช พิมลศรี)

วันจัดงานประกวด  วันที่ 30 มี.ค.2557  งานประกวดพระเครื่องท้องถิ่น  คณะผู้ดำเนินงาน
ชมรมพระเครื่องบางบ่อ จ.สมุทรปราการ

วัน จัดงานประกวด  วันที่4 พฤษภาคม 2557  โรงแรมสยามธานี จ.สุราษฎร์ธานี    คณะผู้ดำเนินงาน  ชมรมพระเครื่องพระบูชาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันจัดงานประกวด   วันที่ 18 พ.ค.2557    กองพันทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี    คณะผู้ดำเนินงาน  พ.อ.นิคม อุดมเลิศวนศิลป์

วัน จัดงานประกวด  วันที่15 มิถุนายน 2557    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซนB ถนนแจ้งวัฒนะ คณะผู้ดำเนินงาน   ชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง สนับสนุนโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

หมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูล งานประกวดพระเครื่อง ปี2557 เพิ่มเติมได้ที่ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โทร.02-952-7898 ปฏิทินงานประกวดพระเครื่อง ที่แจ้งนี้ ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า(บางงานอาจจะเป็นงานในท้องถิ่นจัดขึ้น) อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ บางงานที่แจ้งไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโปรดสอบถามทางผู้จัดในแต่ละงานอีกครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บ.พระเครื่อง ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ 
http://เว็บพระ.net/index.php

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์

สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด วัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาแต่ในอดีต และที่วัดแห่งนี้มีพระเครื่องที่เป็นพระยอดนิยมอยู่หลายยุคหลายสมัย เช่น พระกรุเนื้อผงใบลาน พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ นอกจากนี้ยังมีสร้อยตะกรุดประคำคาบของท่านเจ้าคุณสนิทที่สุดแสนจะหายากใน ปัจจุบันครับ ในส่วนของพระกรุเนื้อผงมีการสันนิษฐานกันไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สร้างไว้ก็มี ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันและนำพระที่หายากของกรุนี้มาให้ชมกันครับ

วัดโมลีโลกยาราม เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังเดิม ปากคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งทิศเหนือ กทม. ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ครั้นต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนพระอารามใหม่เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอถึงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอาราม อื่นๆ อีก และพระราชทานชื่อวัดเสียใหม่ เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังเรียกติดปากกันว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาด นี้เป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษรแด่รัชกาลที่ 4 เมื่อท่านมรณภาพรัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ" โดยหล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุกไก่เถื่อน)


พระกรุเนื้อผงใบลานที่พบในกรุวัดท้ายตลาดนี้ตามประวัติแล้วเป็นพระที่สร้างโดย พระวิเชียรมุนี อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนท่านเจ้าคุณสนิท พร้อมทั้งหลวงพ่อแย้มและหลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกรรมฐาน ผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามแห่งนี้ ได้สร้างบรรจุไว้ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประมาณปีพ.ศ.2431

การเปิดกรุนั้นได้มีคนร้ายลักลอบเจาะ พระเจดีย์ราย 2 องค์ทางด้านทิศใต้อยู่หลายครั้ง และทางวัดก็อุดซ่อมอยู่เสมอ ครั้นในปีพ.ศ.2485 คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ทางราชการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือขอพระเครื่องฯ มายังสำนักนี้ เพื่อมอบให้กับทหารและตำรวจสนาม เช่นเดียวกับที่ขอไปยังสำนักอื่นๆ พระประสิทธิศีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้ดำริให้ขุดพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็น อันมาก กับทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุบี๊บบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 องค์ มอบให้ทางราชการไป เป็นพระพิมพ์ต่างๆ หลายชนิด

นอกจากนี้ที่กรุวัด ท้ายตลาดยังพบตะกรุดเนื้อชินผุๆ อีกจำนวนหนึ่ง ในระยะต่อมาได้พบพระเครื่องแบบพระวัดท้ายตลาดอีกที่วัดนางชี และวัดหงส์อีกด้วย แสดงว่าพระเครื่องวัดท้ายตลาดมีการบรรจุไว้ตามกรุต่างๆ หลายที่ด้วยกัน

พระวัดท้ายตลาดที่พบครั้งนี้เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลาน ลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จปิลันทน์ มีคราบนวลกรุจับที่ผิวของพระและมีไขขาวจับอยู่ทั่วไป ที่ด้านหลังส่วนมากจะมีรอยตราประทับเป็นอักขระกดลึกลงไปในเนื้อพระ มีพิมพ์พระต่างๆ มาก มายหลายแบบ รวมทั้งพระปิดตา ซึ่งพระปิดตาของวัดท้ายตลาดก็มีอยู่หลายพิมพ์เช่นกัน และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาของวัดท้ายตลาด พิมพ์ต่างๆ มาให้ชมกันครับ ในด้านพุทธคุณดีทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ อีกทั้งทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ และทางด้านแคล้วคลาดครับ

ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
 

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์

ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญของจังหวัดนี้และก็เป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ เนื่องมีการพบพระเครื่องในกรุมากมาย และก็พระเครื่องที่มีความนิยมมากที่สุดของกรุนี้ก็คือพระผงสุพรรณ ซึ่งจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคี นอกจากนี้ก็ยังพบพระเครื่องสำคัญๆ อีกมากมายหลากหลายพิมพ์ เช่นพระกำแพงศอก พระมเหศวรเป็นต้น วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรีกันครับ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณ ต่อมากลายเป็น วัดร้างเนื่องจากภัยสงครามระหว่างไทยกับพม่าเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาเสียกรุง ในปีพ.ศ.2310

ในปีพ.ศ.2379 สุนทรภู่กวีเอกของไทย เดินทางมาจังหวัดสุพรรณบุรี นิพนธ์ "นิราศเมืองสุพรรณ" ไว้ตอนหนึ่งว่า

ตะวันเย็นเห็นหาดหน้า ท่ามี

เมืองสุพรรณบุรี รกร้าง

ศาลตั้งฝั่งนที ที่หาด ลาดแฮ

โรงเล่าเขาต้มค้าง ขอบคุ้งหุงสุรา

วัดตะไกรใกล้บ้าน ศรีประจัน

ถามเหล่าชาวสุพรรณ เพื่อนซี้

ทองประศรีที่สำคัญ ข้างวัด แคแฮ

เดิมสนุกทุกวันนี้ รกเรื้อเสือคะนอง

ครับ ในนิราศเมืองสุพรรณนั้น ทำให้พอมองเห็นภาพในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี สุนทรภู่ท่านได้เห็นโบราณสถานรกร้าง แสดงให้ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตและกลับกลายมาเป็นวัดร้างเนื่อง จากภัยสงคราม

จนถึงประมาณปีพ.ศ.2456 มีชาวจีน คนหนึ่งได้มาอยู่ปลูกผักขายใกล้ๆ วัดพระศรีมหาธาตุ และเขาได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ งัดพระประธานซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางขององค์พระปรางค์เขยื้อนออก แล้วลงไปใน กรุลักเอาแก้วแหวนเงินทองหนีไป ต่อมามีข่าวว่ากรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแตก ก็มีคนแอบเข้ามาลงไปในกรุและนำพระและข้าวของออกมาขายในตลาด จนรู้ถึงทางการ ผู้ว่าราชการจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขุดกรุขึ้นมาโดยต้องใช้คนมาก พร้อมทั้งนักโทษมาช่วยกันขนพระขึ้นมา ซึ่งมีจำนวนมหาศาล เป็นหลายเล่มเกวียน นอกจากจะพบพระเครื่องพระบูชาแล้วยังพบลานทอง ที่ยังหลงเหลืออยู่ 2 แผ่น จารึกถึงวาระการสร้างองค์พระปรางค์และพระเครื่องพระบูชาในครั้งนั้น พระเครื่องพระบูชาที่พบ เป็นศิลปะแบบปลายยุคสุโขทัย และศิลปะอู่ทองเป็นหลัก จึงได้นำพระเครื่องพระบูชาและสิ่งของทั้งหมดมาเก็บรักษาไว้ที่จวนผู้ว่าฯ

พระ เครื่องที่พบนอกจากพระผงสุพรรณ พระมเหศวร พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ พระกำแพงนิ้ว พระสุพรรณหลังผาล พระผงใหญ่ พระลีลาละเวง พระสุพรรณขาโต๊ะ พระซุ้มระฆัง พระสุพรรณ ยอดโถ พระตรีกาย พระขุนแผนเรือนแก้ว พระท่า มะปรางค์ พระปทุมมาศ ฯลฯ

ครับพระที่พบน้อย และไม่ค่อยได้เห็นกันนักอย่างหนึ่งก็คือพระปทุมมาศ การตั้งชื่อในสมัยนั้นตั้งได้อย่างเหมาะสมยิ่งนัก ปทุมแปลว่า ดอกบัว มาศแปลว่า ทอง หมายถึงดอกบัวทอง ทรงกรอบดูเผินๆ คล้ายกับดอกบัวตูม องค์พระประทับนั่งปางสมาธิ เหนืออาสนะกลีบบัว มีเส้นซุ้มเป็นครอบแก้ว และมีรัศมีเป็นกลีบบัวอยู่รอบๆ องค์พระ พระพุทธศิลปะเป็นแบบอู่ทอง พระปทุมมาศที่พบเป็นแบบเนื้อ ชินเงิน มีขนาดไม่เขื่องนัก กว้างประมาณ 3.5 ซ.ม. สูง 4.5 ซ.ม. พระปทุมมาศเป็นพระที่พบน้อยมากในกรุ จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปทุมมาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระเครื่องที่หายากของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์

ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระปิดตาเมืองนครราชสีมากันครับ บางท่านอาจไม่รู้ว่ามีพระปิดตาเก่าๆ อยู่ในจังหวัดนี้ครับ พระปิดตาหลวงพ่อพรหมสร (รอด) เป็นพระปิดตาที่ชาวโคราชรู้จักกันมานานแล้วและมักหวงแหนกันมากทีเดียวครับ เหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นก็มีความนิยมมากสนนราคาสูงทีเดียวนะครับ

หลวงพ่อพรหมสร (รอด) ท่านเกิด เมื่อปีพ.ศ.2414 โยมบิดาชื่อโข่ โยมมารดา ชื่อพูน หลวงพ่อรอดเกิดที่บ้านสระขวัญ ต่อมาโยมนีซึ่งเป็นโยมป้าได้ขอท่านมาอุปการะที่บ้านกระถิน อำเภอโนนสูง และเมื่อท่านโตขึ้นก็ได้ช่วยโยมป้าเลี้ยงวัวฝูง จนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2436 ที่วัด บ้านสะพาน ตำบลขามเฒ่า โดยมีพระอุปัชฌาย์อยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระ ธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐานจนแตกฉาน และถือธุดงค์เป็นหลัก จนได้พบกับพระอาจารย์ต่างๆ มากมาย ได้ศึกษาวิปัสสนาและพุทธาคม ต่างๆ มากมาย ต่อมาท่านจึงได้เริ่มสร้างวัดต่างๆ ในโคราชหลายวัด เช่น ในปีพ.ศ.2453 ท่านได้สร้างวัดบ้านดอนผวา ปีพ.ศ.2452 สร้าง วัดบ้านขามเฒ่า ปีพ.ศ.2467 สร้างวัดบ้านหนองเคลือขุด ปีพ.ศ.2470 สร้างวัดบ้านหนองพลอง ปีพ.ศ.2490 สร้างวัดบานไพ หลวงพ่อรอดท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่ใดท่านก็ได้สร้างความเจริญ โดยการสร้างวัดให้แก่ที่นั่น ซึ่งเมื่อท่าน จำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใด ท่านก็ได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยากเสมอมา ด้วยความเมตตาของท่าน และชาวบ้านต่างก็พากันมาฟังเทศน์และเคารพเลื่อมใส ท่านมาก เมื่อท่านจะทำกิจการอันใดชาวบ้านก็ร่วมใจกันมาช่วยจนสำเร็จลุล่วงด้วยดีทุก ครั้ง

ในสมัยนั้นก็มีคนลือกันมากว่าท่านให้หวยแม่น และก็มีผู้คนมาขอหวยท่านกันมาก ท่านมีญาณแก่กล้าล่วงรู้ว่าใครจะมาหา และด้วยเรื่องอะไร เมื่อมาถามเรื่องหวยท่านจะดุเอาว่าเป็นเรื่องงมงาย และไม่เคยใบ้หวยเลย แต่ผู้คนก็มักเอาไปตีเป็นหวยกันเอง และก็มักจะถูกเสียด้วย บางรายถูกจนร่ำรวยก็มี และก็นำเงินมาช่วยสร้างวัดก็มาก จึงเป็นที่มาของเรื่องใบ้หวย

วัตถุมงคลของหลวงพ่อรอดนั้นท่าน ได้สร้างไว้หลายอย่าง เช่น รูปเหมือนหล่อของหลวงพ่อ พระปิดตา เนื้อทองเหลือง มีอยู่หลายพิมพ์ สีผึ้ง นางกวัก ผ้ายันต์ รอยมือรอยเท้า และเหรียญ เป็นต้น เหรียญรุ่นแรกนั้นคหบดีชาวลพบุรีเป็น ผู้สร้างถวายในราวปีพ.ศ.2492 ครั้งที่ท่าน จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านไพ วัตถุมงคลของหลวงพ่อรอดนั้นชาวโคราชทราบกันดีจากประสบการณ์ต่างๆ ในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

หลวงพ่อพรหมสร (รอด) ท่านมรณ ภาพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 65 ท่านยังคงเป็นที่รักเคารพของชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียงเสมอตลอดมาครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อ ทองเหลือง ของหลวงพ่อรอดมาให้ชม กันครับ


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

หลวงพ่อผิว สีลวิสุทโธ พระเกจิดังปราจีนบุรี

หลวงพ่อผิว สีลวิสุทโธ พระเกจิดังปราจีนบุรี

คอลัมน์ อริยะโลกที่6

"พระครูสีลวิสุทธาจารย์" หรือ "หลวงพ่อผิว สีลวิสุทโธ" วัดสง่างาม เจ้าคณะตำบลบางบริบูรณ์ พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองปราจีนบุรี เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมของพระครูปราจีนมุนี หรือหลวงพ่อทอง วัดหลวงปรีชากุล เกจิคณาจารย์เรืองวิทยาคุณในยุคก่อนปี พ.ศ.2460

ชาติภูมิ เป็นชาวบ้านท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เกิดเมื่อปีมะโรง ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2435 เยาว์วัยช่วยพ่อแม่ทำนา อาศัยศึกษาเรียนรู้อยู่กับพระที่วัดเลียบ ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน จนอ่านออกเขียนได้ทั้งหนังสือไทยและขอม

พออายุ 21 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดเลียบ เมื่อเดือนมิ.ย.2456 มีพระครูปราจีนมุนี (หลวงพ่อทอง) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี วัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหร่ำ วัดเลียบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา สีลวิสุทโธ

อยู่ จำพรรษาและเล่าเรียนพระธรรมวินัยเป็นเวลา 10 พรรษา จึงย้ายมาอยู่วัดสง่างาม ซึ่งอยู่ห่างออกมาทางทิศตะวันออกของวัดเลียบคนละฝั่งแม่น้ำประมาณ 3 กิโลเมตร โดยได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 7 ปกครองวัดอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2466-2528

หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี ท่านมีตำแหน่งหน้าที่และสมณศักดิ์ เริ่มจากปี พ.ศ.2466 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.2475 เป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) บางบริบูรณ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี พ.ศ.2482 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนาม "พระครูสีลวิสุทธาจารย์" พ.ศ.2506 เลื่อนเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม พ.ศ.2513 เลื่อนเป็นเทียบ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก

หลวงพ่อผิว เป็นพระที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ตั้งแต่เริ่มปกครองวัดก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพระศาสนาและพุทธศาสนิกชนอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะด้านการศึกษาท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก ของวัด และปรากฏว่าในสมัยนั้นมีพระหลายรูปที่สอบได้นักธรรมตรี โท และเอก ซึ่งลูกศิษย์ของท่านที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้เป็นเปรียญหลายรูป

สำหรับ ผลงานที่โดดเด่นที่สุด คือ โบสถ์หลังปัจจุบันของวัดสง่างาม ซึ่งท่านได้ใช้ความสามารถก่อสร้างเสร็จในระยะเวลา 5 ปี สิ้นงบประมาณไปเกือบ 2,000,000 บาท

คุณวิเศษอย่างหนึ่งของหลวงพ่อผิว ที่เล่าขานกัน คือ ความเป็นพระผู้มีเมตตาธรรมสูง โดยได้ใช้วิชาความรู้ด้านการแพทย์โบราณช่วยเหลือสงเคราะห์ อนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บป่วย เช่น แขนหัก ขาหัก กระดูกหัก จนหายได้อย่างน่าอัศจรรย์ รวมไปถึงสัตว์ต่างๆ อาทิ ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ขาหักท่านก็ช่วยรักษามา นับไม่ถ้วน

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นหนึ่งในบรรดาพระเกจิอาจารย์ดังที่มักได้รับอาราธนาไปในพิธีพุทธา ภิเษกพระเครื่องหลายต่อหลายรุ่น ซึ่งครั้งที่เป็นเกียรติประวัติ คือ ได้รับฎีกาเข้าไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระแก้วมรกต ภปร.ในพระบรมมหาราชวัง ในงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ.2525

พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ท่านสร้างปรากฏความขลังในด้านพุทธคุณ มีประสบ การณ์ดีทั้งด้านเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย เหรียญบางรุ่นยังพอเช่าหาได้ในราคาไม่แพง แต่ถ้าเป็นเหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2502 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง หาได้ยากมาก

หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม เป็นพระเถระที่สูงด้วยอายุและพรรษากาล มีชื่อเสียงโด่งดังองค์หนึ่งทางภาคตะวันออก มีผู้เคารพนับถือทุกระดับชั้น ทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในจังหวัด และในถิ่นที่ห่างไกล

ภาพ ลักษณ์ของท่าน คือ พระนักพัฒนา ที่เก่งทั้งพัฒนาวัตถุนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่อาราม และเก่งในการพัฒนาบุคคลจนได้ดีมีชื่อเสียงจำนวนมาก

ยิ่งในเรื่องวัตถุมงคลล้วนเป็นที่สนใจของบรรดานักสะสม ด้วยมีพุทธคุณเด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด คงกระพันชาตรี ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญซึ่งมีอยู่หลายรุ่นด้วยกัน อาทิ เหรียญรูปไข่รุ่นแรกปี 2502, รุ่น 2 ปี 2512, รุ่น 3 ปี 2515 ที่ระลึกครบ 80 ปี, รุ่น 4 ปี 2517 รูปอาร์ม, รุ่น 5 ปี 2519 รูปหยดน้ำ เป็นต้น

ยังมีพระสมเด็จเนื้อ ว่านรุ่นแรก ปี 2502 หลังปั๊มรูปเหรียญรุ่นแรก, พระสมเด็จ 9 ชั้น, รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก ปี 2515, แหนบลงยา, ล็อกเกตภาพสี ฯลฯ

บั้นปลาย ชีวิต หลวงพ่อผิวเริ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคแทรกอีกหลายโรค โดยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปาโลฯ กรุงเทพฯ และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นครั้งคราว

จนกระทั่งวาระสุด ท้าย ท่านมรณภาพลงอย่างสงบ ที่วัดสง่างาม เมื่อวันที่ 16 ก.พ.2528 เวลา 08.45 น. สิริอายุ 93 พรรษา 72 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 16 มี.ค.2529 มีพระปราจีนมุนี เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธาน

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จ วัดระฆัง "พ.อ.นรชัย ภาเวส"

พระสมเด็จ วัดระฆัง "พ.อ.นรชัย ภาเวส"

พระเครื่องคนดัง

"ผม สะสมพระเครื่องเพื่อเป็นสิ่งยึด เหนี่ยวจิตใจ พระเครื่องเปรียบเสมือนตัวแทนพระพุทธองค์ ที่ท่านสอนให้เราคิดดี ทำดี ปฏิบัติดี เป็นการเตือนสติให้กระทำ แต่ความดี ประพฤติดี ละเว้นการทำความ ชั่วหรือการกระทำที่ผิดศีลธรรม และเชื่อ ว่า การกระทำความดีนั้นไม่มีที่สิ้นสุดทำ ได้ตลอดเวลา ที่ยังมีลมหายใจอยู่" เป็นคติความเชื่อของ "พ.อ.นรชัย ภาเวส" รองเจ้ากรมสวัสดิการทหารบก

พ.อ.นรชัย หรือที่พี่น้องในแวดวงทหารหาญ เรียกขานด้วยความสนิทสนมว่า "เสธ.นร" เป็นอีกหนึ่งนายทหารที่ชื่นชอบสะสมพระเครื่อง

เสธ.นร เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 18 (ตท.18) ที่ผ่านราชการภาคสนามมามากมาย ชื่นชอบสะสมพระเครื่องมานาน

พ.อ.นรชัย บอกเล่าถึงการสะสมวัตถุมงคล ว่า "การสะสมพระเครื่องของผมนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปหาเช่าบูชาที่ไหนเลย มีแต่ผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือมอบให้มาทั้งสิ้น ซึ่งผมคิดว่า ผู้ที่ให้พระมานั้น คือ ผู้ที่รักและปรารถนาดีกับตัวเรา มีความตั้งใจที่ดี เมื่อได้รับมาก็ถือว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิริมงคลกับตัวมาตลอด"

สำหรับ พระที่แขวนขึ้นคอติดตัว พ.อ.นรชัย มีอยู่หลายองค์ ซึ่งพระเครื่องส่วนใหญ่ที่สะสมเป็นพระสมเด็จ พระในชุดเบญจภาคี และพระพุทธชินราช

"จะว่าไปแล้ว ผมมีความคุ้นเคยกับพระเครื่องมานานกว่า 40 ปี เพราะสมัยคุณปู่ ท่านเป็นคนชอบสะสมและแลกเปลี่ยนพระเครื่องวัตถุมงคล ผม ก็ชอบเดินตามคุณปู่ถือกระป๋องนมที่ใส่พระเครื่อง เดินไปย่านสะพานควาย นั่งตามร้านกาแฟ ใครไปใครมาก็มานั่งส่องพระกัน จนทำให้ผมได้รับความรู้เรื่องพระเครื่องติดตัวไปด้วยตั้งแต่นั้นมา

ผม คิดอยู่เสมอว่าพระทุกองค์ที่คล้องอยู่ในคอ มีพุทธคุณที่ดี ก่อนเดินทางออกจากบ้าน ก็จะอาราธนาท่านเพื่อให้คุ้มครอง ให้แคล้วคลาด ปลอดภัย ซึ่งทำให้เรามีกำลังใจ และมั่นใจในการทำงาน"

ความเชื่อส่วน ตัวของพ.อ.นรชัย เชื่อว่า พระเครื่องทุกองค์ท่านมีพุทธคุณที่ดีมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมวลสารที่ผสมอยู่ในองค์พระ ที่เป็นมวลสารที่สิริมงคล ประกอบกับการจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ที่มีการสวดบทวิชาคาถา ที่เป็นสิริมงคล ทั้งสิ้น พระที่มาร่วมพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หรือเป็นพระสุปฏิปันโนอยู่แล้ว

ปัจจุบัน พ.อ.นรชัย เก็บสะสมเครื่องรางของขลัง ซึ่งเป็นมรดกของคุณพ่อ อาทิ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน, หนุมานหลวงพ่อสุ่น ด้วยมีอำนาจบารมีอยู่ในเนื้อมวลสารของเครื่องรางนั้นอยู่แล้ว ส่วนใหญ่แล้วตนจะเปลี่ยนการคล้องพระเป็นประจำทุกเดือน เพราะพระสมเด็จของตนเองมีหลายองค์ เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม หรือพระสมเด็จวัดเกศชัยโย จะสลับเปลี่ยนกันคล้อง ซึ่งบารมีของแต่ละองค์ มีพุทธคุณที่ดีมาก

เสธ.นรบอกเล่าว่า "ช่วงเวลาว่าง ผมมักนำพระเครื่องมาส่องดู เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะส่วนใหญ่ พระที่ได้มาก็ได้มาจากผู้ใหญ่ เพื่อนๆ และลูกน้อง พระที่ได้ทุกองค์ ผมถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่า ที่เขาตั้งใจมอบมาให้เรา ต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี และนำทุกองค์มาศึกษาดูประวัติ เพื่อเป็นความรู้"

"ทหาร เป็นรั้วของชาติ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามชายแดนปกป้อง อธิปไตยที่ต้องตื่นตัวและมีความเสี่ยงอยู่ทุกขณะ ทำให้ต้องไขว่คว้าหา สิ่งยึดเหนี่ยวใจ ซึ่งใจชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในช่วงของชีวิตนั้น เมื่อทราบว่าที่ใดมีพระอาจารย์หรือเกจิอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติดี ก็จะไปกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์หรือขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลจากท่าน"

เส ธ.นรกล่าวทิ้งท้ายว่า หากเรามีสะสมไว้ก็ควรที่จะศึกษาถึงประวัติ และอย่าลืมว่าพระเครื่องเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เราคิดดี ทำดี และระลึกถึงพระคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์

ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์


สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมมีพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าหรือไม่ครับเราอาจจะลืมเลือนกันไปบ้างว่าเมืองนี้ก็มีพระเครื่องที่เป็นพระกรุอยู่เหมือนกัน แต่การพบก็มีไม่มากนัก และจำนวนก็ไม่มากเช่นกัน ดังนั้นอาจจะไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันบ่อยนัก ในวันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุของนครปฐมกันบ้างดีกว่านะครับ

นครปฐม เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ ซึ่งมีความเป็นมาเป็นพันปี ความรุ่งเรืองมากที่สุดก็จะเป็นครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดี ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-15 ก็มีหลากหลายชนชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในแถบนี้ เช่น ชนชาติมอญ ชนชาติละว้า และชนชาติขอม เมืองนครปฐมเป็นแหล่งอารยธรรมชุมชนโบราณสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีการค้นพบโบราณสถาน และโบราณวัตถุมากมาย โบราณวัตถุที่พบ มีตั้งแต่เสมาธรรมจักร และพระพุทธรูปศิลปะอินเดีย ทวารวดี จนถึงศิลปะแบบทวารวดีผสมอู่ทองหรือผสมลพบุรี (ฝีมือช่างอู่ทอง 1) โดยส่วนใหญ่จะพบประติมากรรมรูปเคารพขนาดใหญ่ที่งดงามยิ่ง นอกจากนี้ก็มีการ ค้นพบพระเครื่อง-พระพิมพ์ที่เป็นแบบเนื้อ ดินเผา และพระเครื่องเนื้อชินอีกด้วย

พระเครื่องที่เป็นที่รู้จักกันมากก็ คือพระเครื่องของกรุวัดกลาง ในปีพ.ศ.2495 ได้มี ผู้พบพระที่บริเวณวัดกลาง ซึ่งมีพระพิมพ์ต่างๆ เช่น พระร่วงยืน พระร่วงนั่งข้างรัศมี พระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่องอีกหลาย พิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพุทธรูปบูชาศิลปะ ทวารวดีด้วย แต่ที่เป็นพระเครื่องนั้นจะเป็นพระร่วงยืน และพระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระทั้งสองอย่างนี้จำนวนพระมีไม่มากนัก จึงค่อนข้างหายากมาก

พระร่วงยืน เป็นพระพิมพ์ประทานพร ยกพระหัตถ์ขวาประทับทรวง และทอดพระหัตถ์ซ้ายแนบขนานกับลำพระองค์ ลักษณะเป็น พระตัดชิดลำพระองค์ไม่มีปีก มีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก

พระร่วงนั่งข้างรัศมี เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยเหนือฐานบัวสองชั้น มีปีกขององค์พระเป็นรัศมีอยู่ทั้งสองข้าง

พระ ทั้งสองชนิดเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เต็มตลอดทั้งองค์ มีไขขาวจับแซมอยู่ทั่วไป ตัวสนิมแดงจะมีลักษณะแตกปริ เป็นเส้นใยแมงมุมซึ่งแสดงถึงอายุความเก่าของเนื้อโลหะ ศิลปะของพระทั้งสองชนิด เป็นพระที่สร้างแบบศิลปะผสมทวารวดี หรือทวารวดียุคปลาย

นอกจากพบพระร่วงยืนและพระร่วงนั่งข้างรัศมีที่ กรุวัดกลางแล้ว ยังมีการพบพระแบบเดียวกันที่วัดพระประโทนอีกด้วย แต่ก็พบจำนวนน้อยมาก สันนิษฐานว่าพระส่วนใหญ่อาจจะชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา จึงพบพระที่สมบูรณ์น้อยมาก

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระร่วงของกรุวัดกลาง นครปฐม ทั้งพระร่วงยืนและพระร่วงนั่งมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

"นางกวัก" รูปเคารพการค้า

"นางกวัก" รูปเคารพการค้า

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

นางกวักนับเป็นรูปเคารพที่ผู้คนให้ความนับถือและนิยมอย่างมากมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

ด้วย ความเชื่อสืบต่อกันมาว่าสามารถดลบันดาลโชคลาภแก่ผู้กราบไหว้บูชา ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น และมีเสน่ห์เมตตามหานิยม โดยเฉพาะผู้มีอาชีพค้าขาย จะสังเกตได้ว่าตามร้านค้าแทบทุกร้านจะมีรูปบูชานางกวักตั้งอยู่บนหิ้งบูชา ลิ้นชักเก็บเงิน หรือแม้แต่ตะกร้าเก็บเงิน บางที่ขนาดตั้งโชว์เด่นเป็นสง่าอยู่หน้าร้านเลยก็มี

ซึ่งนอกจากความ เชื่อดังกล่าวแล้ว นามของ "นางกวัก" เองก็ยังมีนัยเป็นการ "กวัก" เรียกผู้คนมาอุดหนุนร้านค้า จึงสร้างกระแสนิยมในการแสวงหามาไว้บูชาเพิ่มมากขึ้น

นางกวักมีรูป ลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงิน และจารึกอักขระขอม เป็น "หัวใจพระสีวลี" ผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ คือ นะ ชาลีติ เป็นต้น

ความเป็นมาของ "นางกวัก" นั้น ตามประวัติ "พุทธสาวก" ในสมัยพุทธกาลมีความตอนหนึ่งว่า ที่เมืองมิจฉิกาสีณฑนครซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากเมืองสาวัตถี มีครอบครัวหนึ่งประกอบอาชีพซื้อขายเลี้ยงชีพ

สองสามีภรรยามีลูกสาว คนหนึ่งชื่อ "สุภาวดี" ต่อมาสุจิตตพราหมณ์ผู้เป็นพ่อได้ซื้อเกวียนมา 1 เล่ม เพื่อนำสินค้าไปเร่ขายในต่างถิ่น สุภาวดีขออนุญาตเดินทางไปด้วยเพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ณ จุดนี้เองทำให้สุภาวดีได้มีโอกาสพบกับพุทธสาวกแห่งพระพุทธองค์ถึง 2 องค์ ในหลายครั้งหลายครา คือ พระกัสสปเถรเจ้า และพระสิวลีเถรเจ้า ซึ่งหลังจากแสดงธรรมแล้วทั้งสองได้กำหนดจิตประสิทธิ์ประสาทพรให้สุภาวดีและ ครอบครัวทุกครั้ง โดยเฉพาะสุภาวดี ซึ่งรับฟังอย่างตั้งใจจึงมีความรู้แตกฉานในหลักธรรมต่างๆ เป็นอันมาก

เวลา ผ่านไปไม่นาน ครอบครัวนี้ก็ทำการค้าได้กำไรร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี เทียบได้กับธนัญชัยเศรษฐี บิดาของวิสาขาแห่งแคว้นโกศล โดยบิดารู้ว่าสุภาวดีคือผู้ที่เป็นสิริมงคลที่แท้จริง เป็นที่ไหลมาแห่งทรัพย์สมบัติของครอบครัว จึงยึดมั่นปฏิบัติธรรมด้วยความศรัทธา และใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากบุญบารมีของลูกสาวทำนุบำรุงศาสนามาโดยตลอด

ผู้ คนต่างรับรู้เรื่องราวและบารมีของ สุภาวดี หรือนางกวัก ที่เป็นที่มาแห่งความร่ำรวยและโชคลาภทางการค้า ทั้งเป็นผู้มีศีลธรรมและคุณธรรม แม้สุภาวดีจะตายไปแล้วแต่อิทธิฤทธิ์ในทางโชคลาภและการค้าก็ยังคงเล่าสืบต่อ กันมาถึงคนรุ่นหลัง มีผู้นับถือมากมายถึงกับปั้นรูปสุภาวดีไว้บูชา ขอให้การค้ารุ่งเรือง และความเชื่อดังกล่าวก็แพร่หลายเข้ามายังสุวรรณภูมิ

ตำนาน "นางกวัก" ของไทยเราก็มีเช่นกัน เป็นการกล่าวถึงธิดาของ "ปู่เจ้าเขาเขียว" โดยสืบเนื่องมาจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามออกตามหานางสีดา ความว่า พระรามได้พบกับท้าวอุณาราชพญายักษ์เจ้านครสิงขร จึงแผลงศรมาถูกยอดอกท้าวอุณาราช แล้วสาปให้ศรตรึงท้าวอุณาราชอยู่ภายในถ้ำเขาวงพระจันทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของ จ.ลพบุรี และจะต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในถ้ำจนกระทั่งถึงศาสนาพระ ศรีอาริย์

นาง ประจันทร์ ธิดาของท้าวอุณาราช ทราบเรื่องก็เข้ามาเฝ้าปรนนิบัติและปฏิบัติธรรมเป็นเพื่อนบิดา ทั้งยังเอาใยบัวมาทอทำเป็นจีวรเตรียมไว้ถวายเมื่อถึงคราวพระศรี อาริย์เสด็จมา เพื่อสร้างกุศลอุทิศให้บิดา แต่ชาวเมืองเกรงว่าท้าวอุณาราชจะฟื้นคืนชีพจึงพากันขับไล่และกลั่นแกล้งนาง ประจันทร์ต่างๆ นานา

จนความทราบถึง "ปู่เจ้าเขาเขียว" ผู้เป็นสหายของท้าวอุณาราช จึงส่งธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีรูปโฉมงดงามเป็นที่สุด เป็นที่เสน่หาแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน มาเป็นเพื่อนนางประจันทร์ ปรากฏว่านับแต่ธิดา (แม่นางกวัก) ของปู่เจ้าเขาเขียวมาอยู่เป็นเพื่อนนางประจันทร์ ประชาชนผู้เคยเกลียดชังก็ต่างรักใคร่ช่วยเหลือเกื้อกูลไม่ขาด ความเกลียดชังที่เคยท่วมท้นนั้นเสื่อมสลายไปสิ้น

ด้วยเหตุนี้นางประจันทร์จึงตั้งชื่อให้ธิดาของปู่เจ้าเขาเขียวว่า "นางกวัก"

"นางกวัก" ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักใคร่ เมตตา อุปถัมภ์เกื้อกูล อีกทั้งความหมายของนาม "กวัก" ทำให้ "รูปบูชานางกวัก" กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีพระเกจิคณาจารย์นิยมสร้างขึ้นมากมายหลายสำนัก ที่มีชื่อเสียงมีอาทิ นางกวัก งาแกะหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, นางกวักงาแกะหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, นางกวัก หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง และนางกวัก หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม เป็นต้น

นอกจากนี้ บางรายยังเลือกซื้อจากร้านสังฆภัณฑ์ต่างๆ ตามแบบที่ต้องการ แล้วนำไปให้พระเกจิอาจารย์ที่เคารพปลุกเสกสำทับ ก็มีความเข้มขลังเช่นกัน
ด้วยศรัทธาของผู้บูชาครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

ธนวัฒน์ วงศ์วาน เซียนพระสิงห์ปาย

ธนวัฒน์ วงศ์วาน เซียนพระสิงห์ปาย

คอลัมน์ มองอย่างเซียน
วิชัย ทาเปรียว


"เมื่อ อยู่กับวัดต้องศึกษาธรรมะหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าถึง เข้าใจแล้วต้องศึกษา ประวัติของวัดแต่ละแห่งให้รู้แท้รู้จริงด้วย ผมสนใจศึกษาพระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ปาย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปาย และเป็นพระพุทธรูปประธานวัดศรีดอนชัย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ศิลปะเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัยเชียงแสนสิงห์ยุคแรก สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อายุราวประมาณ 700-800 ปี" เซียนธนวัฒน์ หรือชาวบ้านเรียกว่า อาจารย์ธนวัฒน์ วงศ์วาน ทำหน้าที่ไวยาวัจกรหรือมัคนายกของวัดศรีดอนชัย ตั้งอยู่เลขที่ 18 หมู่ 8 ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์

นายธนวัฒน์บอกว่า สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธรูปดังแห่งเมืองเชียงใหม่ จนมีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ปาย ปางมารวิชัยเชียงแสน

วัดศรีดอนชัย ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นวัดแรกของเมืองปาย สร้างในปีพุทธศักราช 1855

พระสิงห์ปายเป็นพระพุทธรูปศิลปะยุคเชียงแสน ยุคแรก เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองชาวปายมาแต่โบราณกาล

ในแต่ละปีวัดศรีดอนชัยจัดประเพณีการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) ทุกวันที่ 13 เม.ย.เป็นประจำ โดยตลอดตั้งแต่โบราณกาล

เซียน ธนวัฒน์บอกเล่าว่า เราศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธรูปเก่าแก่ รวมไปถึงเหรียญวัตถุมงคลพระพุทธรูปดัง แต่ไม่ได้ถึงขนาดเก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมากถึงขั้นเป็นเซียนพระใหญ่ แต่จะศึกษาในเชิงวิชาการ ถึงความเป็นมา สาเหตุแห่งการสร้าง เป็นต้น

"สำหรับ พระสิงห์ปายได้รับการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระพุทธรูปบูชาองค์จำลองหรือเหรียญวัตถุมงคลเป็นจำนวนหลายครั้ง ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระและนักสะสมนิยมพระเครื่องมาโดยตลอด เช่น ในปีพ.ศ.2553 วัดศรีดอนชัยจัดสร้างวัตถุมงคลพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) รุ่นแรก จำลอง ขนาดหน้าตัก 9 นิ้วขึ้น สร้างเป็นเนื้อโลหะสำริด จำนวนสร้าง 156 องค์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ย.2553 ปรากฏว่าถูกสั่งจองเช่าบูชาหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว"

ปัจจุบันวัดศรี ดอนชัยจัดสร้างเหรียญพระสิงห์ปายให้เช่าบูชาไว้ เพื่อนำรายได้บูรณะวัด คือ นำไปสร้างกำแพงโบราณที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่ อาคารสถานปฏิบัติธรรมที่กำลังก่อสร้างอยู่เช่นกัน

เซียนธนวัฒน์บอก ถึงหลักในการศึกษาพระสิงห์ปายว่า "หลักในการศึกษาพระพุทธรูปของผมไม่ได้แตกต่างจากการศึกษาพระเครื่องวัตถุ มงคลของบรรดาเซียนพระแต่อย่างใด เริ่มต้นคือต้องมีความชอบ จากนั้นก็เริ่มมาหาข้อมูลจากตำราหรือหนังสือก่อน หาข้อมูลพื้นฐานของพระที่เราสนใจ ไม่เข้าใจก็ถามผู้ชำนาญหรือคนที่เราเชื่อถือ ที่สำคัญต้องหมั่นดูให้เข้าใจให้รู้ในเนื้อหาต่างๆ ของพระองค์นั้นๆ โดยนำข้อมูลจากตำรามาประกอบกับองค์จริง"

มีโอกาสเดินทางไปเที่ยว อ.ปาย จ.แม่ ฮ่องสอน เดินทางไปกราบไหว้พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ปาย ประดิษฐานไว้ในวิหารลายคำ สามารถทำบุญหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพระสิงห์ปายได้ทุกวัน

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

หลวงพ่อประพิน ฉันทโก พระวิปัสสนา-นักพัฒนา

หลวงพ่อประพิน ฉันทโก พระวิปัสสนา-นักพัฒนา

คอลัมน์ อริยะโลกที่6
เชิด ขันตี ณ พล


"พระครูประภาสธรรมรังษี" หรือ "หลวงพ่อประพิน ฉันทโก" เป็นพระนักปฏิบัติที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย และยังเป็นพระนักพัฒนา ทำให้เป็นที่นับถือศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนในจังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียง

ปัจจุบัน อายุ 67 พรรษา 47 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแสงสว่างบุ่งคล้า ต.ลาดพัฒนา อ.เมือง จ.มหาสารคาม และเป็นเจ้าคณะตำบลลาดพัฒนา

มีนามเดิมว่า ประพิน สอนสุชน เกิดเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2490 ที่บ้านบุ่งคล้า ต.ลาดพัฒนา อ.เมือง จ.มหาสารคาม

วัยเยาว์เรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านบุ่งคล้า ก่อนย้ายตามครอบครัวไปทำมาหากินที่จังหวัดอุดรธานี

ครั้น เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเรียบธายาราม ต.กุดจับ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีพระครูสถิตธรรมรัต เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แหวน สุวัณโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังจากนั้นท่านได้จำ พรรษาอยู่ที่วัดบรมสมพร อ.กุดจับ จ.อุดรธานี ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก

นอกจากนี้ ยังเรียนสายสามัญสอบได้ชั้น ม.ศ.3 จากโรงเรียนวัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น และสอบชุดวิชาครูพ.ก.ศ. ได้ในปีพ.ศ.2523

พ.ศ.2524 วัดแสงสว่างบุ่งคล้า ขาดแคลนพระผู้ใหญ่ที่จะพัฒนาวัด บรรดาญาติโยมจึงได้ไปนิมนต์หลวงพ่อประพิน ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาวัด

ปกครอง วัดแสงสว่างบุ่งคล้า ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาวัดแห่งนี้ ให้เจริญรุ่งเรืองในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปการปรากฏให้เห็นมากมายใน เวลาเพียงไม่กี่ปี อาทิ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง กุฏิ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับชุมชนพัฒนาตัดถนนเชื่อมหมู่บ้านใกล้เคียงถึง 7 สาย ทำให้การไปมาหาสู่กันสะดวกมากยิ่งขึ้น

ส่วนด้านการศึกษา หลวงพ่อตั้งสำนักเรียนขึ้นที่วัดแสงสว่างบุ่งคล้า พร้อมกับรับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมมาโดยตลอด

หลวง พ่อประพินเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก พระภิกษุสามเณรที่มาเรียนกับท่านจะต้องประพฤติอยู่ในกรอบพระธรรมวินัยอย่าง เคร่งครัด ทำให้สำนักเรียนแห่งนี้มีชื่อเสียงขจรไกล แต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก

พร้อม จัดหาทุนการศึกษาให้พระภิกษุสามเณรที่เรียนดี ส่วนผู้เรียนไม่ดีหากปฏิบัติงานอื่นๆ มีความรับผิดชอบในหน้าที่สูง จะมีรางวัลเป็นกำลังใจให้เช่นกัน

ตั้งหน่วยอบรมประจำตำบล และหน่วยอบรมเคลื่อนที่ออกอบรมประชาชนตามหมู่บ้าน ตามโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งมอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนทุกปี

เนื่องจากหลวงพ่อเป็น พระหน่วยพัฒนาการทางจิตรุ่นที่ 11 ของมูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย กรุงเทพฯ จึงต้องออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆ บางครั้งนำภาพยนตร์ธรรมะไปฉายทั่วภาคอีสาน อาทิ นครราชสีมา อุดรธานี และมหาสารคาม ฯลฯ

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2538 ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลลาดพัฒนา พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานพัดยศเจ้าคณะตำบลชั้นโท

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโทที่ พระครูประภาสธรรมรังสี

ด้วย คุณงามความดีที่ทำปรากฏมากมาย ท่านได้รับโล่รางวัลอนุรักษ์สมุนไพรตามโครงการพระราชดำริ และได้เข้ารับรางวัลสาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี 2543

จึงเป็นเนื้อนาบุญของชาวมหาสารคามอย่างแท้จริง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

พระเครื่องคู่กาย- 5 องค์ พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร

พระเครื่องคู่กาย- 5 องค์ พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร

พระเครื่องคนดัง

"การแขวนพระเครื่อง เพื่อใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และระลึกอยู่เสมอให้ทำความดี หลายคนคล้องพระเครื่องเต็มคอ แต่เมื่อประมาทก็ต้องพบจุดจบ ผมเชื่อมั่นในการทำความดีและไม่ประมาท การที่พกพาพระเครื่องติดตัวไว้ตลอดเวลาเพราะมีความเลื่อมใสศรัทธา และยังเป็นการช่วยเตือนสติตนเองให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท พุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนดี ประกอบแต่กรรมดี มีเมตตา เมื่อเราทำดีก็ต้องได้ดีกลับมา หากทำชั่วก็ต้องได้ชั่ว" พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร เจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร กระทรวงกลาโหม เปิดเผยความเชื่อ

พล.ท.พัชราวุธ หรือบิ๊กตู่ เป็นอีก ผู้หนึ่งที่มีความชื่นชอบสะสมวัตถุมงคลพระเครื่องมายาวนานกว่า 40 ปี ด้วยเชื่อว่าการมีพระเครื่องกับตัว เสมือนเป็นองค์แทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เรารำลึกนึกถึงการทำสิ่งที่ดีงาม การปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในธรรม

อดีต นักเรียนเตรียมทหาร (ตท.) 17 จปร. รุ่น 28 ผ่านตำแหน่งสำคัญในกองทัพมากมาย จบจากโรงเรียนนายร้อย ติดยศร้อยตรี ที่ ร.2 พัน.1 รอ. จ.ปราจีนบุรี ในปี 2524 อยู่ราชการสนามชายแดนไทย-กัมพูชา

มีพระเครื่องคล้องติดตัวอยู่ เป็นประจำ 5 องค์ ประกอบด้วย หลวงปู่ทวดปี"97, หลวงปู่ทวดปี"05, พระสมเด็จเกษไชโย, พระสมเด็จบางขุนพรหมอกครุฑ และพระร่วงรางปืน

"พระ เครื่องชุดนี้เป็นพระที่คุณพ่อได้มอบให้ผม หลังจากจบการศึกษาและประจำอยู่ชายแดน ผมมีความเชื่อส่วนตัวตั้งแต่สมัยอยู่ราชการทหารว่า เวลาจะออกราชการสนาม ต้องสวดมนต์ขอพร ให้พระท่านคุ้มครอง ทั้งตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนที่ออกปฏิบัติหน้าที่ ทำอย่างนี้ทุกครั้งและก็ปลอดภัยแคล้วคลาดทุกคน เป็นความเชื่อส่วนตัวอย่างหนึ่ง"

สำหรับพระที่นำมาขึ้นคอทุกองค์ บิ๊กตู่มีความเชื่อมั่นว่าทุกองค์มีพุทธคุณดี ใส่แล้วสบายใจ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ตั้งตนในความไม่ประมาท ยึดมั่น ถือมั่น ในพุทธคุณคุ้มครอง จึงทำให้เราทำอะไรที่ถูกที่ควร คนเราถ้าเป็นคนดีมีศีลธรรม บุญบารมี-เมตตามหานิยมจะตามมาเอง

หลังจากนั้น พล.ท.พัชราวุธเริ่มศึกษาพระเครื่องด้วยความเลื่อมใสศรัทธามาโดยตลอด ทั้งด้านพุทธคุณ

"การ ศึกษาเรื่องพระเครื่องถือว่าเป็นมรดกไทย เป็นศิลปะของไทย ที่มีการเตือนใจ ให้ผู้ที่แขวนพระได้รู้จักทำดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และพระเครื่องยังแฝงไปด้วยคำสอนทางศาสนาลงไปด้วย ถือว่าพระเครื่องเป็นสิ่งที่ขัดเกลาจิตใจคนเราทางอ้อม"

"พระพุทธ ศาสนาสอนให้เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมว่าทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ดังนั้น หากเราประกอบแต่ความดี มีเมตตาธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น พุทธคุณย่อมจะคุ้มครองเราตลอดไป แม้ในช่วงเวลาคับขันก็ยังสามารถแคล้วคลาดปลอดภัยได้"

พล.ท.พัชราวุธ มีคติในการใช้ชีวิตที่ว่า "คนดีต้องไม่เบ่ง คนเก่งต้องไม่โม้ คนโตต้องไม่อวด เราทำงานในหน้าที่เราให้ดีที่สุด ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีที่สุด สามารถสนองงานรับใช้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนอย่างเต็มความสามารถ กรมอุตสาหกรรมทหาร เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องประสานงานกับภาคเอกชน ที่ต้องใช้วัตถุอุปกรณ์ด้านยุทธภัณฑ์ทหาร เพื่อขับเคลื่อนงานด้านอุตสาหกรรมของประเทศให้ก้าวหน้า"

ท้ายที่สุด บิ๊กตู่กล่าวว่า การมีพระเครื่องราคาสูงๆ หรือเป็นของเก่าโบราณไว้บูชานั้น ไม่ได้แสดงว่าเป็นคนที่มีดีกว่าคนอื่น แต่การมีพระเครื่องไว้ในครอบครอง ควรใช้เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เตือนสติในการดำเนินชีวิต ไม่ให้อยู่ในความประมาท

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ


หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน พระเกจิแห่งลุ่มน้ำมหาชัย

หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน พระเกจิแห่งลุ่มน้ำมหาชัย
อริยะโลกที่6

วัดโกรกกราก ต.โกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นหนึ่งในวัด เก่าแก่ที่มีทั้งพระพุทธรูปชื่อดัง และพระเกจิอาจารย์ทรงวิทยาคม โดยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ก็คือ "หลวงพ่อปู่" ซึ่งประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวลุ่มน้ำมหาชัยและใกล้เคียงมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นเป็นที่กล่าวขวัญด้วยการสวมแว่นตาดำ

ส่วนพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง คือ พระครูธรรมสาคร หรือ "หลวงปู่กรับ ญาณวัฑฒโน" อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 5 และอดีตเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต 2 พระสงฆ์ทรงวิทยาอาคม

ท่าน มีนามเดิมว่า "กรับ เจริญสุข" เกิดเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2436 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเส็ง จุลศักราช 1255 สมัยรัชกาลที่ 5 ที่บ้านบางปิ้ง ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นบุตรนายไข่ นางลอย ไข่ม่วง มีพี่น้องต่างมารดา 2 คน ร่วมมารดาเดียวกัน 11 คน

อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์ รังสรรค์ ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทร สาคร ตรงกับวันที่ 12 มี.ค.2456 โดยมี พระครูสมุทรคุณากร วัดตึกมหาชยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการโต วัดโกรกกราก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการชิด วัดราษฎร์รังสรรค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวัฑฒโน

จำ พรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดราษฎร์รังสรรค์ จากนั้นย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโกรกกราก จนกระทั่งในปี พ.ศ.2463 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก

ริเริ่ม พัฒนาวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และในปี พ.ศ.2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต 2 ต่อมาในปี พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทาน เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนาม พระครูธรรมสาคร

หลวงปู่กรับ เป็นพระที่ทรงวิทยาคมสูง จนมีผู้กล่าวขวัญกันว่า "ถ้ามีเหรียญหลวงปู่กรับแขวนคอแล้ว จะแคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งปวง ถึงจะตกระกำลำบากอยู่ที่ใด ก็จะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย"

หลวงปู่กรับ ประกอบคุณงามความดีและประพฤติพรตพรหมจรรย์มั่นคงตลอดมา ตั้งแต่ได้รับบรรพชาอุปสมบท จนถึงกาลละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.ย.2517 สิริอายุ 81 ปี

วัดโกรกกราก หล่อรูปเหมือนของท่านไว้ให้ลูกศิษย์ และ ผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ โดยมีผู้นำแผ่นทองมาปิดองค์ท่านจนเหลืองอร่าม และนำแว่นตามาถวายท่านเช่นเดียวกับหลวงพ่อปู่ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องตา มีความเชื่อว่าจะช่วยให้ดีขึ้นด้วยบารมีของท่านทั้งสอง

สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในสมัยหลวงปู่กรับ อาทิ เหรียญหลวงพ่อปู่ พิมพ์เสมา รุ่นแรกปี 2502 เนื้อเงินและทองแดงกะไหล่ทอง, เหรียญรูปไข่หลวงปู่กรับ รุ่นแรก ปี 2510 เหรียญหลวงปู่กรับพิมพ์อาร์ม และพิมพ์เสมา หันข้างปี พ.ศ.2515 นอกจากนี้ ยังมีพระสมเด็จรุ่นวัวชน ปี 2505 พระสมเด็จ ปี 2515

ในช่วงนี้ วัดโกรกกราก จัดเทศกาลงานประจำปี 2557 ปิดทองนมัสการหลวงพ่อปู่ หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ระหว่าง วันที่ 14-20 ม.ค.2557

ถ้า มีโอกาสอย่าพลาดไปกราบสักการะบนบานขอความเป็นสิริมงคลจากหลวงพ่อปู่ และหลวงปู่กรับสักครั้ง สิ่งที่มุ่งหวังอาจจะสมปรารถนา รวมทั้งร่วมสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังใหม่ วัดโกรกกราก การเดินทางไปมาสะดวกสบาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากพระครู วิสุทธิ์สิทธิคุณ (พระมหาสัมฤทธิ์ วิสุทธสีโล) เจ้าอาวาสรูปปัจุบัน พระสงฆ์นักพัฒนาที่ทำให้จนเจริญรุดหน้า โทร.0-3441-1400

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา วัดพระบาทปางแฟน

เหรียญท้าวมหาพรหมธาดา วัดพระบาทปางแฟน

เปิดตลับพระใหม่

"พระครูปลัดกฤต ฐิตวิริโย" (พระอาจารย์โต) เจ้าอาวาสวัดพระบาทปางแฟน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียง ใหม่ จัดสร้างวัตถุมงคลท้าวมหาพรหมธาดา รุ่นพรหมประสิทธิ กำหนดจัดสร้างในฤกษ์เสาร์ 5 ตรงกับวันที่ 28 ม.ค.2555 มี พล.อ.ชัยพัฒน์ ธีรธำรง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก ในฐานะประธานจัดสร้าง และนายกร ทัพพะรังสี อดีต รองนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา และ พ.อ.สายัณห์ เมืองศรี ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 5 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ในฐานะที่ปรึกษาจัดสร้าง ร่วมกับคณะศรัทธาประชาชนทั่วประเทศ เข้าร่วมพิธี

การ จัดสร้างวัตถุมงคลดังกล่าว ได้รับเมตตาจากหลวงปู่ซา คำแดง พระเกจิจากประเทศกัมพูชา เป็น ผู้จารแผ่นยันต์และอธิษฐานจิต ชนวนมงคล พร้อมอธิษฐานจิตขอบารมีองค์ท้าวมหาพรหมธาดา รุ่นพรหมประสิทธิ

นอกจาก นี้ ยังมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เดินทางร่วมประกอบอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อสมชาย พุทธสโร วัดโพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่, หลวงปู่แขก ปภาโส อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาส จ.พระนครศรีอยุธยา และพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ บริกรรม คาถา เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2555

วัตถุ ประสงค์ในการจัดสร้าง เป็นทุนในการบูรณะอุโบสถวัดพระบาทปางแฟน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ให้เป็น สถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ ผู้จัดสร้างคือกองทุน บารมีสมเด็จองค์ปฐม วัดพระบาทปางแฟน

ชาวไทยจำนวนไม่น้อย ให้ความเลื่อมใสศรัทธาองค์ พระพรหม ด้วยมีความเชื่อว่า องค์พระพรหม สามารถบันดาลความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน สติปัญญา เมตตา โชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย

ส่วนวัตถุมงคลท้าวมหาพรหมธาดา รุ่นพรหมประสิทธิ ประกอบด้วย รูปหล่อองค์ท้าวมหาพรหม ใต้ฐานฝังแร่เขา อึมครึม ขนาด 12 นิ้ว ฐาน 21 นิ้ว เนื้อโลหะเพนต์สี, องค์ท้าวมหาพรหมธาดา ใต้ฐานฝังแร่ ขนาด 7 นิ้ว ฐาน 12 นิ้ว เนื้อโลหะเพนต์สี, เหรียญองค์ท้าวมหาพรหมธาดา เนื้อโลหะฤทธิ์ ชนวนมงคลนำฤกษ์, พญาครุฑจิตสุบรรณ รุ่นมหาราช มีเนื้อชนวนขวานฟ้าผ่าและสายล่อฟ้า เนื้อเหล็กไหลเขาอึมครึม, รูปหล่อท้าวเทพสุวรรณ เนื้อทองระฆัง โบราณ, กุมารทองเก้าโกฏิ เนื้อผงอาถรรพ์นครวัด, พระราหู เนื้อแร่เหล็กไหล และแหวนพญาครุฑจิตสุบรรณ มีเนื้อเงินบรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์ และเนื้อทองระฆัง

เหรียญท้าวมหาพรหม เนื้อสัตโลหะ ชนวนนำฤกษ์ ผสมขวานฟ้าผ่ากายสิทธิ์

สร้างครั้งแรกและครั้งเดียว ตาม ตำราโลหธาตุกายสิทธิ์ เสกกำกับ ด้วยพุทธาคมทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

เหรียญหล่อหลวงพ่อคูณ ร.ศ.233-พิมพ์นับแบงก์

เหรียญหล่อหลวงพ่อคูณ ร.ศ.233-พิมพ์นับแบงก์


วัดสำนักตะคร้อ อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา ในอดีตมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังนาม "หลวงพ่อผ่อง มหินทโร"

ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อคง วัดถนนหักใหญ่ เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา

ประวัติ ความเป็นมาวัดสำนักตะคร้อ คำว่าสำนักนั้นหมายที่พัก ในสมัยก่อนนั้นกองคาราวานของพวกพ่อค้า หรือพวกพรานและพวกหาของป่า เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณต้นตะคร้อใหญ่ และมีคลองน้ำอยู่จึงพากันพักแรมที่ต้นตะคร้อ จึงเรียกติดปากกันว่า สำนักตะคร้อ หมายถึงที่พักแรมต้นตะคร้อ

พระครูวิภัชธรรมสาร (หลวงพ่อแช่ม กิตติสาโร) เจ้าอาวาสวัดสำนักตะคร้อรูปปัจจุบัน เห็นสภาพของโบสถ์หลังเก่า ชำรุดทรุดโทรม จึงได้ปรึกษากับคณะกรรมการวัดและญาติโยมร่วมกันสร้างโบสถ์หลังใหม่ในปี พ.ศ.2540

หลวงพ่อแช่ม กิตติสาโร เจ้าอาวาสวัดสำนักตะคร้อ และเจ้าคณะอำเภอเทพารักษ์ จ.นครราชสีมา มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก สมัยนั้นหลวงพ่อคูณยังไม่มีชื่อเสียงแต่อย่างใด ท่านไปมาหาสู่กันบ่อย ไปช่วยสร้างวัดกันหลายแห่ง

หลวงพ่อแช่ม จะเรียกขานหลวงพ่อคูณด้วยความเคารพว่า "หลวงอา" ในภายหลัง ทุกครั้งที่หลวงพ่อคูณได้รับนิมนต์ ไม่ว่าจะเป็นงานปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ทั้งในโคราช ลพบุรี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ หลวงพ่อคูณจะนำหลวงพ่อแช่มไปด้วยแทบทุกครั้ง

หลวง พ่อแช่ม เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ก.พ.2488 นามเดิมว่า แช่ม พิขุนทด มีพี่น้องด้วยกันสิบคน ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปีพ.ศ.2509 ที่วัดสำนักตะคร้อ โดยมีหลวงพ่อผ่อง มหินชโร เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อวิรัช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อเฉลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า กิตติสโร

เพื่อ เป็นการระลึกถึงครูบาอาจารย์ หลวงพ่อแช่ม พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์และข้าราชการทุกภาคส่วน ได้ขออนุญาตจัดสร้างรูปหล่อยืนหลวงพ่อคูณ ขนาด 1.75 เมตร และนำมาประดิษฐาน ณ ดอยเจดีย์ เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2547 ประกอบพิธีบรรจุเส้นเกศา ประคดเอว หลวงพ่อคูณ และใบโพธิ์จากต้นศรีมหาโพธิ์ ประเทศอินเดีย ณ ฐานรูปหล่อหลวงพ่อคูณ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2548 เวลา 10.09 น.

ปี พ.ศ.2555 ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์ศรีเทพารักษ์ (ครอบยอดเจดีย์อันเก่า) ณ ดอยเจดีย์ ต.บึงปรือ อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2555 เวลา 09.09 น. ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างหลายล้านบาท

หลวงพ่อแช่มจึงได้นำเอาวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ ที่ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่งไปให้หลวงพ่อคูณอธิษฐานจิตปลุกเสกอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2556 เพื่อมาหล่อหลอมจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อคูณขึ้นใหม่ในรูปแบบ "เหรียญหล่อ ร.ศ.๒๓๓ พิมพ์นับแบงก์"

จัดพิธีพุทธาภิเษกรวมพลังศิษย์เอกหลวงพ่อคูณที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังนั่งปรก อธิษฐานจิตปลุกเสก กำหนดเปิดให้บูชาเป็นวันแรกในวันปิดทองฝังลูกนิมิตวัดสำนักตะคร้อ วันที่ 26 ม.ค.2557 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ หลวงพ่อแช่ม พระเกจิชื่อดังเมืองโคราช จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถ ในวันที่ 26 ม.ค. ถึงวันที่ 1 ก.พ.2557 (7 วัน 7 คืน)

อุโบสถหลังดังกล่าว หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นประธานวางศิลาฤกษ์และมอบวัตถุมงคลของท่านจำนวนหนึ่ง สำหรับหาทุนก่อสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ

การจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อ คูณ เหรียญหล่อ ร.ศ.๒๓๓ พิมพ์นับแบงก์ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ สร้าง 9 เหรียญ, เนื้อเงิน สร้าง 399 เหรียญ, เนื้อนวโลหะแก่เงิน สร้าง 999 เหรียญ, เนื้อแร่เหล็กน้ำพี้ สร้าง 1,999 เหรียญ, เนื้อชนวนเก่าหลวงพ่อคูณ สร้าง 3,999 เหรียญ และเนื้อทองแดง สร้าง 9,999 เหรียญ

ทุกเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ รายได้นำมาจัดสร้างเจดีย์ศรีเทพารักษ์

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่ดี จัตตมโล พระเกจิดังสุพรรณบุรี

หลวงปู่ดี จัตตมโล พระเกจิดังสุพรรณบุรี

อริยะโลกที่6

"หลวงปู่ดี จัตตมโล" หรือ พระครูสุนทรสุวรรณกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระเกจิชื่อดังเมืองสุพรรณบุรี ต้นตำรับพระปิดตา และพระผงสุพรรณ ปี 2514

มีนามเดิมว่า นายดี ศรีขำสุข เกิดเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2454 ที่บ้านคันลำ ต.ดอนตาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายปั้น และนางหรุ่น ศรีขำสุข มีพี่น้อง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

ในช่วงวัยเยาว์ ได้ติดตามพี่ชาย คือ พระอาจารย์เผื่อน ปุสสชิโน (ศรีขำสุข) ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ มาอยู่อาศัยที่วัดพระรูป ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมกับพระอาจารย์คง วัดไชนาวาส จ.สุพรรณบุรี และเรียนหนังสือไทยกับพระอาจารย์ช้าง เจ้าอาวาสวัดพระรูป

ครั้นอายุ 23 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัด ไชนาวาส มีพระครูสมณการพิสิฐ (หลวงพ่อท้วม) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูถาวรสุวรรณคุณ (หลวงพ่อคำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญ วัดไชนาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระรูป และมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในปี พ.ศ.2524 ได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระรูป

พ.ศ.2488-2520 หลวงปู่ดีร่วมกับคณะกรรมการวัด พระภิกษุ-สามเณร บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ

พ.ศ.2512-2514 หลวงปู่ดีสร้างพระเครื่องและ พระบูชาแบบต่างๆ เพื่อหาเงินสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ โดยท่านได้ตั้งจิตอธิษฐาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ชุมนุมเทวดา ก่อนปฏิญาณตนต่อหน้าพระพุทธรูปว่า

"ข้าพเจ้าขอสร้างพระชนิดต่างๆ เพื่อนำเงินมาบูรณะวัดพระรูป จะไม่นำเงินส่วนนี้มาใช้ส่วนตัวเป็นอันขาด ถ้าข้าพเจ้าเอาไปใช้ส่วนตัวขอให้ตกนรก อย่าได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีกเลย"

หลวง ปู่ดีนิมนต์พระคณาจารย์ รวบรวมดอกไม้ร้อยแปด ว่านร้อยแปด แร่ธาตุต่างๆ และผงกรุต่างๆ นำมาสร้างพระเครื่องขึ้น ดังนี้ พระผงสุพรรณ, พระนางพญา, พระซุ้มกอ, พระสมเด็จ, พระรอด, พระกำแพงศอก, พระพุทธรูปบูชา 3 สมัย คือ เชียงแสน สุโขทัย และอู่ทอง โดยมีพิธีพุทธาภิเษก ครบไตรมาส 3 เดือนเต็ม จึงได้นำออกมาให้เช่าบูชา

นอกจากนี้ ยังมีพระขุนแผน รุ่นปี"13 พระกรุของ วัดพระรูป ชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วยพระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ พระนาคปรกชุมพล รวมทั้งพระกรุขุนแผนไข่ผ่าซีก เป็นพระกรุยอดนิยม ที่เซียนพระทั้งประเทศรู้จักกันดี

พระเครื่องทุกแบบ ทุกพิมพ์ ทุกรุ่นที่หลวงปู่ดีสร้าง ปรากฏว่าได้รับความนิยม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่งถึงระดับประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศอีกรูปหนึ่ง ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา สามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

จนกระทั่ง เมื่อเวลา 18.40 น. วันที่ 18 ก.พ. 2551 พระลูกศิษย์ใกล้ชิดได้เข้าไปถวายภัตตาหารหลวงปู่ดีที่นอนพักผ่อนในกุฏิ ปรากฏว่าขณะที่หลวงปู่ดีลุกขึ้นรับอาหารเสริมได้ล้มหงายแน่นิ่งบนที่นอน

พระลูกศิษย์ใกล้ชิดรีบเข้าไปพยุง แต่ปรากฏว่าหลวงปู่ดีได้ละสังขารไปแล้ว สิริอายุ 96 พรรษา 73

นับ เป็นการสูญเสียครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนชาว จ.สุพรรณบุรี และลูกศิษย์ที่เคารพนับถือของหลวงปู่ดี ซึ่งมีอยู่มากมายทั้งใน จ.สุพรรณบุรี และต่างจังหวัด

ทั้งนี้ วัดพระรูป แจ้งว่า หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้ว ได้สั่งไว้ว่าให้จัดการศพให้เสร็จภายใน 30 วัน ในการจัดพิธีบำเพ็ญกุศล พิธีสรงน้ำศพ และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 16 มีนาคม 2551

แม้วันนี้หลวงปู่ดีจะละสังขารไปจากโลกนี้แล้ว แต่กุศลผลบุญแห่งความดียังคงปรากฏอยู่ในใจผู้ที่เคารพนับถือตลอดไป

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

พระพุทธชินราชอินโดจีน

พระพุทธชินราชอินโดจีน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นับเป็นพระกริ่งยอดนิยมมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ด้วย หนึ่ง .. เจตนาการสร้างที่ต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงคราม เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และปกป้องภยันตราย สอง .. เป็นการจำลองรูปแบบ "พระพุทธชินราช" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองพิษณุโลก ที่มีความงดงามและสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน สาม .. ด้วยพิธีกรรมที่ถือว่ายิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น เป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังจำนวนมากเข้าร่วม ปลุกเสกและอธิษฐานจิต และ สี่ .. พุทธคุณเป็นเลิศปรากฏเป็นที่กล่าวขานมากมาย ดังบทกวีที่ว่า ...

พุทธชินราชเสริกไสร้ ปฏิมา

งามเงื่อนตามสมญา ยิ่งแท้

พุทธคุณกว่าใคร กำหนด พระเอย

คุ้มใจคุ้มภัยแน่ ศึกสิ้น อินโดจีน

การ จัดสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นั้น ทางคณะกรรมการพุทธสมาคมเป็นผู้ริเริ่ม โดยจำลองรูปแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นพระ "ปางชนะมาร" หรือ "ปางสะดุ้งมาร" มี ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ โดยประกอบพิธีเททองหล่อตาม "ตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์" ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485

จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ 21 มีนาคม 2485 โดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน ประกอบด้วยเหล่าคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณลือเลื่องรวม 82 รูป อาทิ สมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์, พระครูวรเวทย์มุนี (อี๋) วัดสัตหีบ, พระครูกรุณา วิหารี (เผือก) วัดกิ่งแก้ว, พระครูสิทธิสารคุณ (จาด) วัดบางกะเบา, สมเด็จพระสังฆราช ชื่น วัดบวรนิเวศฯ, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ฯลฯ

ส่งผลให้ พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง ทำให้การทำเทียมเลียนแบบจึงเกิดขึ้นมากมาย ที่สำคัญคือ ฝีมือการปลอมทำได้ใกล้เคียงกับของแท้มากอีกด้วย บางองค์พระแท้แต่โค้ดปลอม เพื่ออัพสนนราคา ขณะที่บางองค์ปลอมทั้งพระปลอมทั้งโค้ดก็มี เอาเป็นว่าฉบับนี้เรามาดูหลักการพิจาราณาตำหนิแม่พิมพ์ เพื่อพอเป็นพื้นฐานเบื้องต้นกัน ... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

เริ่มด้วยพิมพ์ที่เป็นที่นิยมกัน คือ "พิมพ์สังฆาฏิยาว หน้านาง นิยม A" มีดังต่อไปนี้

จุดที่ 1 - เส้นคู่ขนานจะพบที่เส้นรองซุ้มเรือนแก้วด้านบนขวาขององค์พระ

จุดที่ 2 - มีเนื้อเกินที่นูนขึ้นมาเป็น "ตุ่ม" เล็กๆ ตรงจุดนี้

จุดที่ 3 - อุณาโลมใหญ่และรูปร่างคล้ายๆ ปลายเนกไท

จุดที่ 4 - พระกรรณทั้งสองข้างจะมีขีดขวาง ขีดข้างซ้ายยาวกว่าข้างขวาเล็กน้อย

จุดที่ 5 - พระนาสิกเป็นก้อนๆ เหมือนเนื้อโลหะเกาะรวมตัวกันอยู่

จุดที่ 6 - มีติ่งเล็กๆ เป็นเนื้อเกิน ที่หัวพระเนตรข้างซ้ายขององค์พระ

จุดที่ 7 - นิ้วพระหัตถ์ข้างขวาองค์พระคล้ายมี 3 นิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นิ้วโป้งแยกออก แต่มีรอยแตกระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง

จุดที่ 8 - มีเส้นน้ำตกเป็นแนวตั้งเล็กๆ ต่อระหว่างพระชงฆ์ข้างขวาองค์พระกับกลางฝ่าพระบาทข้างซ้ายองค์พระ

จุดที่ 9 - มีเส้นแตกวิ่งเป็นแนวเกือบขนานกับฐานเขียง บางองค์อาจไม่พบเพราะได้รับการตกแต่งแล้ว

จุดที่ 10 - มีเนื้อเกินระหว่างซอกกลีบบัวตรงจุดนี้แทบทุกองค์

อย่าง ไรก็ตาม การจะเช่าจะหาถ้าไม่แน่จริงหรือยังไม่แน่ใจ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจโดยลำพังทีเดียว ควรหากูรูที่ไว้ใจได้ หรือขอหลักประกันจากผู้ขายว่าถ้าพระไม่แท้ต้องรับคืนเงิน ก็ยังพอทำเนาอยู่ครับผม

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

หมอ ท่าแซะ เซียนพระสายใต้

หมอ ท่าแซะ เซียนพระสายใต้

มองอย่างเซียน

"วิสุทธิ์ ศุกลสกุล" หรือ "หมอ ท่าแซะ" เซียนพระสายใต้ เคยเป็นเจ้าหน้าที่แอร์พอร์ตดิวตี้ฟรี สนามบินดอนเมือง ก่อนผันชีวิตกลายมาเป็นเซียนพระชื่อดัง

จุดเริ่มต้นเริ่มศึกษาพระเครื่องของ "หมอ ท่าแซะ" เล่าว่า "ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องประมาณปี"25-26 เมื่อครั้งเรียนหนังสือสายพาณิชย์ ตอนนั้นเรียนอยู่ชั้นปี 2 ก็ย้ายมาอยู่กับญาติที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร รวมทั้งเพื่อนๆ ในห้องบางคนก็ชอบพระเครื่องก็หามาดูมาแลกมาพูดคุยกัน ตอนนั้นก็เริ่มจากพระทั่วไป ชอบใจอะไรก็มาดูกัน จนกระทั่งอาจารย์ต้องบอกให้เก็บพระก่อนแล้วให้ตั้งใจเรียน ตอนนั้นยอมรับว่าไม่ค่อยสนใจเรียน จะคุยแต่เรื่องพระเครื่อง เรียกว่าเป็นตัวตั้งตัวตีในห้องเรียน"

"ตอนที่เริ่มทำงานเก็บเงินได้ ก็นำเงินมาเช่าพระ ก็เริ่มเช่าหลวงปู่ทวดก่อน พวกเตารีด เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ ตอนนั้นผมเช่าบูชาตั้งแต่ราคา 2,800 บาท เมื่อ 20 ปีก่อน นอกนั้นก็จะเป็นพระทางสายใต้ทั่วไป"

เซียนหมอ ท่าแซะ เล่าให้ฟังอีกว่า ตั้งแต่เกิดมาก็รู้จักหลวงปู่ทวด ยิ่งมีตำนานเล่าขานว่า "หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ก็ยิ่งเกิดความศรัทธา รวมทั้งสายเลือดคนใต้ซึ่งผมเป็นคนจังหวัดชุมพร อ.ท่าแซะ ก็เลยเกิดความรักความศรัทธาในหลวงปู่ทวดเป็นอย่างมาก

"การศึกษาพระ เครื่องของผมก็เริ่มศึกษาจากหนังสือหาข้อมูลก่อน จากนั้นก็จะไปเช่าพระมาจากเซียนที่เขารับประกัน และเราก็เอาองค์นั้นมาศึกษาเป็นครูของเรา"

"ก่อนที่จะเข้าสู่วงการ พระเครื่องเป็นอาชีพ ผมเป็นเจ้าหน้าที่แอร์พอร์ตดิวตี้ฟรีมา 14 ปี ช่วงนั้นก็มีรายได้จึงเริ่มสะสมพระเครื่อง พอช่วงคิงเพาเวอร์มาเทกโอเวอร์ ผมก็ต้องหาลู่ทางอาชีพการงานใหม่ สนใจที่จะเปิดร้านพระเครื่อง ประกอบกับพรรคพวก แนะนำผมก็สนใจ เลยมาเปิดที่พันธุ์ทิพย์ เมื่อ 8 ปีก่อน กระทั่งวันนี้ก็เปิดที่นี่แห่งเดียว"

เซียนพระสายใต้กล่าวต่ออีกว่า "หลายต่อหลายคนสงสัยว่าทำไมทุกคนจึงเรียกผมว่า หมอ หรือผมเป็นคุณหมอหรือเปล่า? ที่ทุกคนเรียกผมว่าหมอก็เนื่องจากสมัยที่ผมทำงานที่ดิวตี้ฟรี ดอนเมือง ผมชอบพระเครื่องมาก จะมีมาให้พรรคพวกที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ในการบินไทยบ้าง ได้ซื้อขายพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทุกคนเลยตั้งสมญานามให้ผมว่า หมอ นั่นก็คือผู้รู้เรื่องพระเครื่องและก็ทำให้ทุกคนเรียกผมว่า หมอ ตั้งแต่วันนั้น"

เซียนหมอ ท่าแซะ บอกถึงเคล็ดการดูพระเครื่อง "หลักขั้นต้นในการที่จะศึกษาพระเครื่องนั่นคือ ต้องเริ่มจากใจรักก่อน รักชอบอะไรก็ศึกษาหาข้อมูลก่อน จากนั้นก็ไปเช่าองค์ครูมาศึกษา ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ผมเคยเรียนรู้มา"

"กับลูกค้าผมยึดความซื่อ สัตย์และจริงใจเป็นหลัก เพราะคนที่เป็นเซียนในวงการพระเครื่อง ควรต้องยึดหลักความจริงใจและซื่อสัตย์กับลูกค้าเป็นสำคัญ"

"ผมคิดว่า คนเรามีพระติดตัวเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่บอกว่าอย่างน้อยคนนั้นน่าจะเป็นคนมีจิตใจที่ดีอยู่บ้าง แต่ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า คนเราเมื่อมีพระดีแต่คนทำไม่ดีก็จะไม่ได้ดี"

นัก นิยมสะสมพระหลวงปู่ทวด ที่ต้องการจะซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือเข้าไปขอคำแนะนำ เข้าไปหาเซียนหลวงปู่ทวดสายตรง "หมอ ท่าแซะ" ได้ทุกวันที่ชมรมพระเครื่องมรดกไทย พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น 3 รับรองไม่มีผิดหวัง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

เหรียญเปิดบาตรรับทรัพย์ เปิดตลับพระใหม่

เหรียญเปิดบาตรรับทรัพย์
เปิดตลับพระใหม่


"พระอาจารย์ สุริยันต์ โฆสปัญโญ" เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นใหม่ ที่มีชื่อเสียง ได้รับ ความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนในพื้นที่มหาสารคาม สืบทอดวิทยาคมหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิชื่อดังภาคอีสาน

ปัจจุบัน พระอาจารย์สุริยันต์ อายุ 35 พรรษา 15 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบูรพาเทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬ สินธุ์ และเจ้าอาวาสวัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

แม้จะมีอายุและพรรษาน้อย แต่เป็นพระปฏิบัติ มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย

สำหรับ วัตถุมงคลหลายต่อหลายรุ่นได้รับความสนใจจากนักนิยมสะสมพระเครื่อง แต่ที่กระแสกำลังเริ่มแรงและได้รับความสนใจ คือ "เหรียญเปิดบาตรรับทรัพย์" จัดสร้างขึ้นในปี 2556 จำนวน 3,776 เหรียญ เพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมไม้สักทองเสา 108 ต้น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

เหรียญรุ่นนี้ลักษณะเป็นเหรียญทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ด้านเหรียญยกขอบสองชั้น บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์อยู่ในท่ากำลังเปิดบาตร ด้านขวาของเหรียญเป็นอักขระยันต์มหาปรารถนา ด้านซ้ายเป็นยันต์เศรษฐี ส่วนด้านล่างเป็นตัวอักษร เขียนว่า "พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ"

ส่วน ด้านหลังเหรียญ มีรูปฝ่ามือสองข้างเป็นสัญลักษณ์ของการกราบไหว้บูชาพระรัตนตรัย และมีอักขระยันต์ 2 แถวอ่าน ว่า นะ มะ พะ ทะ จะ พะ กะ สะ เป็นยันต์หัวใจมหาระรวย ด้านล่างเขียนคำว่า "วัดป่าวังน้ำเย็น อ.เมือง จ.มหาสารคาม"

จำนวนการสร้าง 3,776 เหรียญ เนื้อทองแดง 3,400 เหรียญ ให้บูชา 300 บาท อัลปาก้า 340 เหรียญ บูชา 300 บาท เนื้อเงิน 34 เหรียญ บูชา 3,000 บาท และเนื้อเงินพิเศษกรรมการ 2 เหรียญ

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดป่าวังน้ำเย็น เมื่อคืนวันที่ 13 ก.พ.2556 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังของภาคอีสาน อาทิ หลวงปู่เฉย วัดสระเกษ อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น, หลวงปู่คำบุ จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่หนูอินทร์ กิตติสาโร จ.กาฬสินธุ์, หลวงปู่เจียม จ.สกลนคร เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ต่อเนื่องตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 14 ก.พ.2556 หลังเสร็จพิธี เปิดให้เช่าบูชา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชน ทำให้เหรียญรุ่นนี้หมดลงในเวลาเพียงแค่วันเดียว

เหรียญเปิดบาตรรับทรัพย์ เป็นวัตถุมงคลที่มีวัตถุประสงค์การจัดสร้างชัดเจน เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ที่มีอนาคตไกล

ผู้สนใจที่มีความประสงค์อยากได้วัตถุมงคลรุ่นนี้ไว้บูชาติดตัว สามารถเสาะหาได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม บางแห่ง

ราคาอยู่ประมาณหลักร้อยปลายเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

เหรียญท้าวมหาพรหม-เจ้าสัว หลวงพ่อบุญเกิด วัดเขาดิน

เหรียญท้าวมหาพรหม-เจ้าสัว หลวงพ่อบุญเกิด วัดเขาดิน

ย้อนอดีตไปเมื่อ 40-50 ปี พื้นที่หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท ค่อนข้างทุรกันดาร ด้วยสภาพพื้นที่ที่ชุกชุมไปด้วยชุมโจรปล้นวัวปล้นควาย ประกอบกับอีกหลากหลายปัญหานานัปการ

ชาวบ้านในชุมชนต้องก
ารที่อาศัยพึ่งพิง โดยเฉพาะพระเถระที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสศรัทธาและเข้มขลังด้วยวิทยาคม ช่วยสงเคราะห์ ให้ชุมชนมีความร่มเย็นเป็นสุข

พระภิกษุรูปนั้นคือ "หลวงพ่อเกิด ปัณฑิโต" หรือ "พระครูอุดมชัยกิจ" เจ้าอาวาสวัดเขาดิน ต.หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท ปัจจุบันอายุ 81 ปี พรรษา 61

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2495 ณ วัดเขาดิน มีพระครูสิงหชัยสิทธิ์ (ฉะอ้อน) วัดพาณิชย์ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการสมทบ วัดศรีสโมสร อ.วัด สิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการบรรจง วัดเขาดิน ต.หนองมะโมง อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ท่านเจ้าขุนวาปินทร์ (หรือเจ้าขุนน้อยแห่งบ้านหนองขุ่น) ศิษย์ฆราวาสก้นกุฏิรุ่นอาวุโสของหลวงปู่ศุข อีกท่านหนึ่ง ศึกษาวิชาแก้วิชาถอนวิชาป้องกันรักษาและวิทยาคมต่างๆ จาก ท่านเจ้าขุนโดยตรง รวมถึงวิทยาคมที่มีพุทธคุณครอบจักรวาล ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

นอกจากนี้ ท่านยังศึกษาวิชากับพระครูฉะอ้อน หรือหลวงพ่อฉะอ้อน พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในขณะนั้นซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิด หลวงปู่ศุข ศึกษาสรรพวิทยาการครบถ้วน ทั้งวิชาปรอทจากหมอยาเฒ่า วิชาเสกขี้ผึ้ง วิชาทำตะกรุด ลูกสะกดมหาระงับต่างๆ เขียนอักขระเลขยันต์ และฝึกวิชากัมมัฏฐาน จากหลวงพ่อชื้น วัดเขาพลอง จ.ชัยนาท

ด้านการพัฒนาศาสนกิจนั้น หลวงพ่อบุญเกิดทำหน้าที่ทั้งด้านคันถธุระ (การศึกษา และเผยแพร่) และวิปัสสนาธุระ (การฝึกจิตเพื่อความหลุดพ้นทางใจ)

พ.ศ.2519 หลวงพ่อเกิดได้รับแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะตำบลกุดจอ-หนองมะโมง

พ.ศ.2536 วัดเขาดินได้รับเลือกให้เป็น วัดพัฒนาดีเด่นประจำปี และพ.ศ.2537 หลวงพ่อเกิดได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนาม ที่พระครูอุดมชัยกิจ

นับเป็นครั้งแรกที่วัดเขาดิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท จัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ "เหรียญท้าวมหาพรหม เหรียญหล่อเจ้าสัว และตะกรุดลูกสะกด" ชื่อรุ่นเป็นมงคลว่า "รุ่นพรหมปาฏิหาริย์"

วัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว หลวงพ่อบุญเกิดอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 23 ส.ค.2556 อีกทั้งวัตถุมงคลทั้งหมดยังนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดถ้ำตะเพียนทอง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2556 โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังนั่งปรกอธิษฐานจิตเป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงปู่ทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง จ.ลพบุรี, หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดโพธิ์เทพประสิทธิ์ จ.ลพบุรี, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี, พระอาจารย์เสือ วัดดอนยายเผื่อน, หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี, หลวงพ่อรุ่ง วัดบ้านดอนน้อย จ.นครราชสีมา, หลวงปู่จันทร์ วัดจันทรังษี จ.ขอนแก่น, หลวงปู่แฉล้ม วัดพุทธประดิษฐ์ จ.มหาสารคาม ฯลฯ

เหรียญท้าวมหาพรหม รุ่นพรหมปาฏิหาริย์ จัดสร้างขึ้นด้วยการนำรูปลักษณ์มงคล ของท้าวมหาพรหม ผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์ ประดิษฐานบนเหรียญพิมพ์รูปไข่ ด้านหน้านูน ด้านหลังท้องกระทะ ซึ่งลักษณะเป็นแอ่ง มีความหมายกักเก็บสิ่งดี เงินทองยศถาบรรดาศักดิ์ พร้อมอักขระยันต์สำเร็จ

เหรียญเจ้าสัว รุ่นพรหมปาฏิหาริย์ เป็นเหรียญหล่อห่วงเชื่อมหลังเรียบจารมือ

ตะกรุดลูกสะกด รุ่นพรหมปาฏิหาริย์ จัดสร้างขึ้นแบบพิเศษทำด้วยไม้พยุงหรือพะยูงจารมือ ซึ่งไม้พะยูงเป็นไม้มงคลนาม ช่วยพยุงผู้ที่มีปัญหาให้ตั้งเนื้อตั้งตัวได้

ผู้ที่สนใจร่วมทำบุญได้ที่ วัดเขาดิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนบูรณะเสนาสนะภายในวัด และพระมหาเจดีย์ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ให้เสร็จสิ้น


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

พระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียง


ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์

พระครูอุตรการบดี


สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าอันมีชื่อเสียงโด่งดังมา ตั้งแต่อดีต และในวันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงหลวงพ่อที่ชาวบ้านในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตมัก เรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" ครับท่านก็คือ พระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตกนั่นเองครับ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของนครปฐม ที่น่าค้นคว้าประวัติของท่านมาก

เนื่องจากท่านเกิดตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3 จึงได้พบประวัติของท่านคลาดเคลื่อนไปบ้างก็มี การสืบค้นประวัติของท่านจากการบันทึกจากปากคำของศิษยานุศิษย์ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคต่อๆ มาอีกหลายรูปเช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พระครูพรหมวิสุทธิ์ (วงศ์) วัดทุ่งผักกรูด พระอุปัชฌาย์ เต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น และค้นหลักฐาน รูปถ่ายคู่กับพัดยศ ระบุ ร.ศ.127 (พ.ศ.2452) ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป ก็พอจะสรุปดัง ต่อไปนี้

หลวงพ่อทา วัดเนียงแตก ท่านเป็นชาวโพธาราม จังหวัดราชบุรี บางกระแสว่า โยมบิดาของท่านมีเชื้อสายมาจากทางเวียงจันทน์ จากการนับอายุจากปีที่ท่านมรณภาพก็พอสันนิษฐานได้ว่าท่านเกิดปี พ.ศ.2366 เมื่อท่านมีอายุได้ 6 ขวบ โยมบิดา มารดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือที่วัดโพธาราม จนอ่านออกเขียนได้ และพอท่านอายุได้ 15 ปี พ.ศ.2381 ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ที่วัดโพธารามโดยมีหลวงพ่อทา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น

จน กระทั่งท่านมีอายุครบบวช ปีพ.ศ.2386 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านฆ้อง (วัดฆ้อง) อ.โพธาราม ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียง โด่งดังมาก ท่านก็ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์มอญรูปหนึ่ง ซึ่งมีวิทยาคมกล้าแข็งมาก

หลวง พ่อทาท่านเป็นผู้ที่ขยันใฝ่ศึกษาหาความรู้และปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงเป็นที่รักใคร่ของพระอาจารย์ทั้งสอง และถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด ท่านอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดฆ้องอยู่หลายปี ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญแล้ว ท่านจึงได้กราบขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์ไปยังป่าเขาลำเนาไพรเพื่อแสวงหาวิเวกและปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ท่านออกธุดงค์ไปกราบพระพุทธชินราชที่พิษณุโลกและย้อนกลับมากราบรอยพระ พุทธบาทที่สระบุรี อีกทั้งธุดงค์เข้าไปยังนครวัด นครธม ย้อนกลับมาเข้าประเทศพม่าถึงชเวดากอง ท่านธุดงค์ตามป่าเขาดงดิบอยู่หลายปี ท่านพบพระเกจิอาจารย์ในป่าที่มีจิตกล้าแข็งท่านก็ได้ศึกษาพุทธาคมด้วย

จน ถึงประมาณปี พ.ศ.2417 ท่านได้ธุดงค์มาถึงตำบลพะเนียงแตก (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นตำบลมาบแค) ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 51 ปี ท่านได้พบสถานที่เป็นป่ารกชัฏนอกเมือง ท่านเห็นว่าเป็นที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรม ท่านจึงได้ ปักกลดพักแรมและได้ทราบต่อมาว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่กลับมาเป็นวัดร้างรกเรื้อ ชาวบ้านได้มาพบ ปักกลดพักจำวัดอยู่ที่นี่ จึงพากันขอนิมนต์หลวงพ่อทาจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ ท่านก็อยู่จำพรรษาและได้พัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ.2430 พร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆ และพระอุโบสถ

นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างวัด อื่นๆ ในแถบนั้นอีกพร้อมๆ กันคือ วัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ และวัดสองห้อง เป็นต้น หลวงพ่อทา ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านรักและเคารพนับถือมาก ท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีพระ เณร มาบวชอยู่ที่วัดพะเนียงแตกมากมาย ท่านดำริจะสร้างอะไรก็มีชาวบ้านและศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันร่วมสร้างให้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หลวงพ่อทาท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากมีลูกศิษย์ไปทั่วทั้งในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกมาก

พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอๆ ดังจะเห็นได้ว่า พระราชพิธีหลวงต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้นิมนต์หลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตกเสมอ เช่น พิธีหลวงการพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และรับถวายพัด เนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งปรากฏรูปถ่ายของหลวงพ่อทาในปี พ.ศ.2452 พัดที่อยู่ทางด้านขวาของท่านเป็นพัดยศพุดตานปักลายใบเทศรักร้อย และทางด้านซ้ายของท่านเป็นพัดรองการพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์และเฉลิมพระเกียรติองค์พระปฐมเจดีย์ ประจำทิศทั้ง 4 คือ

1.พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระเถระคือหลวง พ่อทาได้รับการแต่งตั้งเป็นรูปแรกของตำแหน่งนี้

2.พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระเถระคือหลวงพ่อเงิน วัดสรรเพชร

3.พระครูปริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก พระเถระคือ หลวงพ่อคต วัดใหม่

4.พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตก พระเถระคือ หลวงพ่อนาค วัดห้วยจระเข้

หลวง พ่อทาท่านเป็นที่รักเคารพของประชาชนมาก และเป็นที่เกรงขามของบรรดานักเลงหัวไม้ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้ว่างานวัดพะเนียงแตกในสมัยหลวงพ่อทานั้น ท่านไม่เคยขอให้กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือทางตำรวจมารักษาความสงบเลย และในสมัยนั้นในงานวัดทุกวัดก็จะเป็นการรวมพวกนักเลงหัวไม้ต่างถิ่นที่เข้า มาเที่ยวในงานวัดทุกวัด และมักจะมีเรื่องตีรันฟันแทงกันอยู่เนืองนิตย์ แต่ที่วัดพะเนียงแตกกลับไม่มีใครกล้าจะมีเรื่องในเขตวัดเลย หลวงพ่อแช่มวัดตาก้องเล่าให้ฟังว่า พวกนักเลงตำบลตาก้องกับตำบลพะเนียงแตกต่างก็ไม่ถูกกันเจอกันที่ไหนก็มักจะ ต้องมีเรื่องกันทุกที แต่ที่ในงานวัดพะเนียงแตกกลับไม่กล้าตีกัน เนื่องจากหลวงพ่อทาท่านจะถือไม้พลองตรวจตราทั่วงาน เป็นที่ยำเกรงแก่พวกหัวไม้ทั้งหลาย ขนาดคนเมาเอะอะ พอเห็นหลวงพ่อเดินมาก็แทบจะหายเมาเลยทีเดียว ทุกคนต่างเคารพยำเกรงหลวงพ่อทามาก จนมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" หลวงพ่อทาท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 76

วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างก็มีอยู่หลายอย่างเช่นตะกรุด พระปิดตาทั้งเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อเมฆพัด มีหลายแบบ ทั้งเกลอเดี่ยวและสามเกลอเป็นต้น อีกทั้งเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่นสอง ทุกอย่างล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้นครับ ในวันนี้ผมได้นำพระปิดตาเนื้อเมฆพัด พิมพ์เกลอเดี่ยวขมวดมวย พร้อมทั้งรูปถ่ายคู่กับพัดยศมาให้ชมกันครับ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่กลีบ พุทธรักขิโต พระเกจิดัง"วัดตลิ่งชัน"

หลวงปู่กลีบ พุทธรักขิโต พระเกจิดัง"วัดตลิ่งชัน"

คอลัมน์ อริยะโลกที่6

"วัดตลิ่งชัน" เป็นอารามเก่าแก่แห่งหนึ่งในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ.2310 ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์

ยุคที่วัดตลิ่งชันเจริญ รุ่งเรืองที่สุด คือ สมัยพระครูทิวากรคุณ หรือ หลวงปู่กลีบ พุทธรักขิโต เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และอดีตเจ้าคณะตำบลคลองชักพระ

เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยเมตตา และมีวิทยาคมเข้มขลัง วัตถุมงคลของท่านหลายรุ่นปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสม

ใน สมัยของหลวงปู่กลีบ นับว่าวัดตลิ่งชันเจริญรุ่งเรืองมาก ลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพเลื่อมใสในความเข้มขลังของท่าน ให้ความร่วมมือในการพัฒนาวัดเป็นลำดับ หลวงปู่กลีบ จึงไม่ใช่แต่เป็นพระสังฆาธิการที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวัดเท่านั้น แต่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีคุณวิเศษสูง ซึ่งกิตติคุณความขลังของท่านยังปลุกให้เกิดแรงศรัทธามาจนทุกวันนี้

ประวัติ ชีวิตหลวงปู่กลีบ ที่ได้รับการบันทึกไว้ ท่านเป็นบุตรของนายสิงห์ และนางห่วง สิงห์โต คหบดีผู้มั่งคั่งย่านต.คลองชักพระ อ.ตลิ่งชัน จ.ธนบุรี (สมัยนั้น) ถือกำเนิดเมื่อวันพุธที่ 21 มี.ค.2419 ปีขาล พี่น้องรวม 8 คน

ใน วัยเยาว์ เรียนอยู่ในสำนักเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน ศึกษาอักษรสมัยทั้งไทย บาลี พระคัมภีร์และพระธรรมบท จำจดได้เชี่ยวชาญและแตกฉานเป็นอันดี ก่อนที่จะเข้าอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปีที่วัดตลิ่งชันนั่นเอง เจ้าอธิการม่วง วัดนายโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธัมม สรมหาเถร) วัดพระเชตุพนฯ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระอมรเมธาจารย์ และพระอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร เป็นคู่กรรมวาจาจารย์

พรรษาที่ 2 ย้ายไปอยู่สำนักวัดมหาธาตุ ฝั่งพระนคร ศึกษาพระปริยัติธรรมประมาณหนึ่งพรรษาก็ย้ายมาอยู่สำนักวัดสุทัศนเทพ วราราม เรียนหนังสือไทยและพระปริยัติธรรม จบมูลกัจจายน์ และเรียนคัมภีร์พระธรรมบท บังเอิญเกิดอาพาธเป็นเหตุให้ต้องหยุดพักกลับมารักษาตัวที่วัดตลิ่งชัน

เมื่อ หายเป็นปกติก็พอดีกับตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง พระครูธรรมจริยาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัด คฤหบดี จึงเสนอคณะสงฆ์ให้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปกครองดูแลวัดตลิ่งชันสืบต่อมาในปี 2448

พ.ศ.2455 รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวดบริหารกิจการของวัดและการคณะทั้งฝ่ายปริยัติและ บริหาร พ.ศ.2467 ในรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูทิวากรคุณ ตำแหน่งเจ้าคณะหมวด พ.ศ.2469 รับตราตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์

ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูพิเศษ เปลี่ยนพัดยศ จ.ป.ร. แต่ปรากฏว่าท่านมรณภาพเสียก่อน

หลวง ปู่กลีบ มีความชำนาญทั้งงานพัฒนา เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ และด้านวิทยาคม โดยเฉพาะการทำผงทุกแขนง แต่ท่านไม่โอ้อวดเท่านั้น จะทราบกันในหมู่ศิษย์ที่ใกล้ชิด

อีกทั้ง ท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 2485 ซึ่งพระเกจิอาจารย์ยุคนั้น รับประกันได้ในความเข้มขลังด้านพลังพุทธาคม

ภาพลักษณ์ของท่านเป็น แบบคนโบราณ นิยมฉันพืชผัก รักสงบและสมถะ มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา ตลอดเวลาที่ปกครองดูแลวัดตลิ่งชัน ท่านไม่ทำให้ชาวบ้านผิดหวัง เพราะสร้างทั้งวัตถุไว้มากมาย และสร้างคนจนได้ดิบได้ดีเยอะแยะ

วัตถุมงคลท่านโด่งดังมาแต่ครั้งสงครามอินโดจีน อาทิ ตะกรุดฝาบาตร เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ฯลฯ มีประสบการณ์เล่าขานกันไม่จบ ส่วนใหญ่จะนำมาให้ท่านลงอักขระเลขยันต์ ซึ่งท่านจะใช้ยันต์ไตรสรณาคมน์ เป็นยันต์หลัก ซึ่งจะมีน้อยเพราะสร้างเฉพาะตัวเท่านั้น

ส่วนวัตถุมงคลที่เป็นแบบอย่างมาตรฐานที่นักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นสากล คือ เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก-รุ่นเดียวและรุ่นสุดท้าย สร้างปี 2479 ฉลองแซยิด 60 ปี มีเนื้อทองแดงเนื้อเดียว ทั้งชนิดกะไหล่ทอง, เงินและรมดำ คนท้องถิ่นกล่าวกันว่า พุทธคุณดี-มีประสบการณ์มาก

นอกจากนี้ ยังมีรูปถ่ายอัดกระจกสองหน้ารูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และพระกริ่งหนองแส เนื้อทองผสม ที่วงการนิยมเพราะเป็นสายวัดสุทัศน์ โดยเททองหล่อพร้อมกับรูปเหมือนเท่าองค์จริง เมื่อปี พ.ศ.2495

บั้นปลายชีวิตท่านเป็นผู้สงบระงับ พูดน้อยเท่าที่จำเป็น ไม่ดุไม่ว่าใคร เพราะมักจะเป็นไปตามนั้น

กระทั่งวันที่ 9 ม.ค.2501 หลวงปู่กลีบ มรณภาพอย่างสงบ เวลา 22.15 น. สิริอายุ 82 ปี พรรษา 61


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

เหรียญเสมาหลวงปู่ศุข รุ่นสร้างศาลหลักเมือง

เหรียญเสมาหลวงปู่ศุข รุ่นสร้างศาลหลักเมือง

คอลัมน์ เปิดตลับพระ

"พระ ครูวิมลคุณากร" หรือ "หลวงปู่ศุข เกสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่มีพุทธคุณาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

มีนามเดิมว่า ศุข เกษเวช เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ครบอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (วัดโพธิ์ทองล่าง) มีพระครูเชย จันทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็นพระอุปัชฌาย์

ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเชย พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ตลอดจนหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จ.ปทุม ธานี ซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ศุขได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จนชาวบ้านแถบนั้นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนวัดแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง

หลวงปู่ศุขมรณภาพอย่างสงบ เมื่อเดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 สิริอายุ 76 ปี

ย้อน ไปปีพ.ศ.2521 จังหวัดชัยนาท ดำเนินการจัดสร้างศาลหลักเมือง และมีความประสงค์จะมอบวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทุน ทรัพย์ ในการสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดชัยนาท

คณะกรรมการดำเนินงานฯ มีมติให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกของหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ

ลักษณะ เหรียญเป็นรูปเสมาคว่ำ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ (หนัก 1 บาท) 400 เหรียญ, เหรียญเนื้อเงิน 1,000 เหรียญ และเหรียญเนื้อทองแดง 50,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ มีขอบรอบเป็นลายกนก ใต้หูห่วงมีอักขระขอม นะ โม พุท ธา ยะ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูน หลวงปู่ศุข ยืนถือไม้เท้า ข้างศีรษะเหนือไหล่มีอักขระขอม มะ อะ อุ ตอกโค้ด "ภะ" เป็นอักขระขอม ด้านซ้ายและขวาของหลวงปู่ศุข มียันต์ "นะเศรษฐี" กำกับทั้งสองข้าง เหนือขอบล่างมีอักษรไทย "พระครูวิมลคุณากร (ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า"

ส่วน ด้านหลังเหรียญมีขอบรอบเป็นลายกนกเช่นกัน ใต้ขอบด้านบนเป็นยันต์องค์พระ ตรงกลางเหรียญจารึกเป็นอักษรไทยว่า "ที่ระลึกในงานสร้างศาลหลักเมืองชัยนาท"

วัน อาทิตย์ที่ 9 เม.ย.2521 เวลา 07.30 น. ประกอบพิธีบวงสรวง เวลา 15.00 น. ประกอบพิธีพุทธาภิเษก "เหรียญเสมาหลวงปู่ศุข รุ่นสร้างศาลหลักเมือง" ณ วัดบรมธาตุวรวิหาร เวลา 20.00 น. ดับเทียนชัย

มีพระเกจิอาจารย์ร่วม นั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม, หลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู, หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์

หลวง พ่อฉาบ วัดคลองจันทร์, หลวงพ่อเชื้อ วัดบำเพ็ญบุญ, หลวงพ่อชม วัดตลุก, หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน, หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม, หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ, หลวงพ่อวิชา วัดศรีมณีวรรณ, หลวงพ่อเจ้ย วัดท้ายเจริญสุข, หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อพุฒ วัดบ้านกล้วย พระครูวุฒิชัยโสภณ วัดบรมธาตุวรวิหาร

นับเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่น่าสนใจ

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ