หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต พระเกจิเมืองปากน้ำโพ
อริยะโลกที่ 6
หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังปากน้ำโพ
สืบสานวิทยาคมเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
และเรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ปัจจุบันสิริอายุ
91 ปี พรรษา 71 วัดห้วยลำไย อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เกิดในสกุล ชัยบุรินทร์
เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2466 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
เมื่อช่วงวัยเยาว์ ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้าน
ซึ่งเป็นวัดภายในหมู่บ้าน กระทั่งจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 4
หลังจากนั้นได้ออกมาช่วยครอบครัวทำนาทำไร่ จวบจนมีอายุพอครบเกณฑ์ทหาร
อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองน้อย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีพระใบฎีกา บุญยัง คังคสโร เป็นพระอุปัชาฌาย์
หลัง
อุปสมบท ประพฤติปฏิบัติตนตามแบบที่ครูอาจารย์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด
ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง
ท่าน
ร่ำเรียนวิชาจากพระใบฎีกาบุญยัง ซึ่งเคยเป็นพระปลัดซ้ายพระครูวิมลคุณากร
(หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท
ท่าน
ได้เรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข จากตำราเอก วิชาตัวอิ อันเป็นบทปฐม 1 ใน 4
ตำราหลักของหลวงปู่ศุข คือ อิ ติ ปิ โส จากพระใบฎีกา บุญยัง จนมีความชำนาญ
จึงถือได้ว่า หลวงปู่เช้า เป็นพระเกจิที่สืบทอดวิชาสายหลวงปู่ศุข
วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยตรงอย่างแท้จริง ตำรับตำราท่านศึกษาผ่านตาทั้งสิ้น
แต่ท่านไม่ค่อยคุยโอ้อวด
ต่อมา ได้ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับพระอาจารย์ที่เก่งในทางนี้
การ
ศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด
หลวงพ่อเช้าได้ไปศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ
ได้รับการถ่ายทอดวิชาเสกมีดหมอ, คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ
ครั้นอายุ
มาก ล่วงเข้าวัยชรา พระใบฎีกาปรีชา ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดห้วยลำไย อ.ตากฟ้า
จ.นคร สวรรค์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชาย
ได้ขออาราธนาให้อยู่จำพรรษาที่วัดห้วยลำไย เพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิด
หลวง
ปู่เช้า มุ่งมั่นศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ
สงเคราะห์ญาติโยมที่เดือดร้อนมาโดยตลอด เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
ปฏิบัติเกื้อกูลต่อพุทธ ศาสนิกชนที่มากราบนมัสการอย่างสม่ำเสมอกัน
กอปรกับเป็นพระเกจิอาจารย์เข้มขลัง
ทำให้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าจากสาธุชนทั้งใกล้-ไกล หลั่งไหลมากราบนมัสการ
เพื่อความเป็นสิริมงคลมิขาดสาย
ท่านได้รับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ เป็นประจำ
หลวง
ปู่เช้า มีวินัยเคร่งครัด อาจกล่าวได้ว่า เมืองปากน้ำโพ
นับแต่สิ้นหลวงปู่เดิม พุทธสโร วัดหนองโพ, หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว,
หลวงปู่ชม ญาณโสภโณ วัดเนินหญ้าคา, หลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโล วัดลาดยาว ฯลฯ
เป็นพระเกจิที่ได้รับความเคารพนับถือจากชาวปากน้ำโพอย่างมาก
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
พระเครื่อง
วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557
หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต พระเกจิเมืองดอกบัว
หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต พระเกจิเมืองดอกบัว
อริยะโลกที่6
พระครูมงคลคำภีรคุณ หรือ หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต เป็นพระเกจิ อาจารย์แห่งเมืองดอกบัว เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ
หลวงปู่คำแดง สิริอายุ 91 ปี พรรษา 24 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาส บ้านนาพิน ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
นาม เดิม คำแดง พึ่งบารมี เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2465 ตรงกับวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ณ บ้านเลขที่ 31 หมู่ 10 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บิดา-มารดา ชื่อ นายถาวรและนางใหม่ พึ่งบารมี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน
มีเรื่องเล่าว่า ก่อนท่านมาเกิด นางใหม่ ผู้เป็นมารดาฝันว่ามีพระธุดงค์เดินมามอบหนังสือใบลานก้อมให้แล้วเดินจากไป ต่อจากนั้น นางใหม่ก็ตั้งครรภ์ 10 เดือน ก่อนคลอดเด็กทารกเพศชายตัวเล็ก สุขภาพไม่แข็งแรง บิดาจึงเอาไปถวายพระอาจารย์ใหม่ บัวแดง ให้ท่านผูกข้อมือรับเป็นพ่อบุญธรรม
ครั้นอายุ 9 ขวบ เข้าโรงเรียนประชาบาล ต.นาพิน จบชั้น ป.4 สอบชิงทุนได้ นายฮง มณีภาค ศึกษาอำเภอ ได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนกสิกรรม (ท่าวังหิน) แต่นายถาวร ผู้บิดาขอสละสิทธิ์ นำบุตรชายให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2479-2499 อยู่วัดคัมภีราวาส
พ.ศ.2480 ย้ายไปอยู่จำพรรษาวัดสิงหาญสะพือ กับพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2481 ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ภูขาม แล้วไปจำพรรษาอยู่วัดบูรพา ในเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ.2481 อยู่ ต.นาจิก จ.อำนาจเจริญ สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้
ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดฉิมพลี อ.เมือง จ.สกลนคร
หลัง อุปสมบทได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาค อีสาน ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ.2486 เรียนบาลีไวยากรณ์อยู่
พ.ศ.2491 ย้ายไปเรียนบาลีไวยากรณ์ อยู่วัดกลาง อำเภอเขมราฐ
ในปี พ.ศ.2501 ย้ายมาอยู่จำพรรษา วัดพาราณสี ต.นาพิน แต่ท่านบวชได้เพียง 6 ปี ท่านตัดสินใจลาสิกขาไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส
เมื่อ วันที่ 6 ส.ค.2530 นายคำแดง ป่วยหนักพวกญาตินำส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี หมอผ่าตัดถุงน้ำดี หลังจากนั้น ท่านได้หายป่วย
หลัง ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ ท่านจึงเริ่มนึกปลงชีวิต ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่ทางธรรมอีกครั้ง ตัดสินใจอุปสมบท เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2532 ที่วัดกุญชราราม ต.ขุหลุ อ.ตระการพืชผล มี พระครูไพโรจน์ปรีชากร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูภัทรญาณปยุต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริธรรมมากร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ฐานทัตโต
ภาย หลังอุปสมบท พระคำแดง ได้ออกธุดงควัตรไปสร้างวัดบ้านโนนฮาง หมู่ที่ 9 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล พ.ศ.2533 สามารถสอบได้เปรียญธรรมประโยค 1-2 พ.ศ.2538 สอบได้เปรียญธรรมประโยค 3
จากนั้น พ.ศ.2541 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
หลวง ปู่คำแดง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตายามได้รับกิจนิมนต์ไปงานบุญ ต่างๆ ท่านไม่เคยปฏิเสธ แม้ว่าท่านจะย่างอายุเข้าสู่วัยชราและมีปัญหาด้านสุขภาพตามวัย
ส่วน งานกิจนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ท่านต้องเดินทางเข้าร่วมพิธีเสมอ แม้นจะไกลหรือจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ท่านก็มีความสุขที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ศิษย์ผู้คอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่สามารถทัดทานได้
ส่วนวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ท่านได้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เล่าขาน วัตถุมงคลหลายรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่าง มาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ รูปเหมือน หรือเครื่องรางของขลังต่างๆ
เกียรติคุณของหลวงปู่คำแดง เป็นที่รู้จักศรัทธาเลื่อมใส
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
อริยะโลกที่6
พระครูมงคลคำภีรคุณ หรือ หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต เป็นพระเกจิ อาจารย์แห่งเมืองดอกบัว เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ
หลวงปู่คำแดง สิริอายุ 91 ปี พรรษา 24 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาส บ้านนาพิน ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
นาม เดิม คำแดง พึ่งบารมี เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2465 ตรงกับวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ณ บ้านเลขที่ 31 หมู่ 10 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บิดา-มารดา ชื่อ นายถาวรและนางใหม่ พึ่งบารมี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน
มีเรื่องเล่าว่า ก่อนท่านมาเกิด นางใหม่ ผู้เป็นมารดาฝันว่ามีพระธุดงค์เดินมามอบหนังสือใบลานก้อมให้แล้วเดินจากไป ต่อจากนั้น นางใหม่ก็ตั้งครรภ์ 10 เดือน ก่อนคลอดเด็กทารกเพศชายตัวเล็ก สุขภาพไม่แข็งแรง บิดาจึงเอาไปถวายพระอาจารย์ใหม่ บัวแดง ให้ท่านผูกข้อมือรับเป็นพ่อบุญธรรม
ครั้นอายุ 9 ขวบ เข้าโรงเรียนประชาบาล ต.นาพิน จบชั้น ป.4 สอบชิงทุนได้ นายฮง มณีภาค ศึกษาอำเภอ ได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนกสิกรรม (ท่าวังหิน) แต่นายถาวร ผู้บิดาขอสละสิทธิ์ นำบุตรชายให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2479-2499 อยู่วัดคัมภีราวาส
พ.ศ.2480 ย้ายไปอยู่จำพรรษาวัดสิงหาญสะพือ กับพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2481 ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ภูขาม แล้วไปจำพรรษาอยู่วัดบูรพา ในเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ.2481 อยู่ ต.นาจิก จ.อำนาจเจริญ สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้
ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดฉิมพลี อ.เมือง จ.สกลนคร
หลัง อุปสมบทได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาค อีสาน ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ.2486 เรียนบาลีไวยากรณ์อยู่
พ.ศ.2491 ย้ายไปเรียนบาลีไวยากรณ์ อยู่วัดกลาง อำเภอเขมราฐ
ในปี พ.ศ.2501 ย้ายมาอยู่จำพรรษา วัดพาราณสี ต.นาพิน แต่ท่านบวชได้เพียง 6 ปี ท่านตัดสินใจลาสิกขาไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส
เมื่อ วันที่ 6 ส.ค.2530 นายคำแดง ป่วยหนักพวกญาตินำส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี หมอผ่าตัดถุงน้ำดี หลังจากนั้น ท่านได้หายป่วย
หลัง ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ ท่านจึงเริ่มนึกปลงชีวิต ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่ทางธรรมอีกครั้ง ตัดสินใจอุปสมบท เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2532 ที่วัดกุญชราราม ต.ขุหลุ อ.ตระการพืชผล มี พระครูไพโรจน์ปรีชากร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูภัทรญาณปยุต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริธรรมมากร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ฐานทัตโต
ภาย หลังอุปสมบท พระคำแดง ได้ออกธุดงควัตรไปสร้างวัดบ้านโนนฮาง หมู่ที่ 9 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล พ.ศ.2533 สามารถสอบได้เปรียญธรรมประโยค 1-2 พ.ศ.2538 สอบได้เปรียญธรรมประโยค 3
จากนั้น พ.ศ.2541 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
หลวง ปู่คำแดง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตายามได้รับกิจนิมนต์ไปงานบุญ ต่างๆ ท่านไม่เคยปฏิเสธ แม้ว่าท่านจะย่างอายุเข้าสู่วัยชราและมีปัญหาด้านสุขภาพตามวัย
ส่วน งานกิจนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ท่านต้องเดินทางเข้าร่วมพิธีเสมอ แม้นจะไกลหรือจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ท่านก็มีความสุขที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ศิษย์ผู้คอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่สามารถทัดทานได้
ส่วนวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ท่านได้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เล่าขาน วัตถุมงคลหลายรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่าง มาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ รูปเหมือน หรือเครื่องรางของขลังต่างๆ
เกียรติคุณของหลวงปู่คำแดง เป็นที่รู้จักศรัทธาเลื่อมใส
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557
หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี
หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี
คอลัมน์ อริยะโลกที่6
หลวง ปู่ยิ้ม จันทโชติ เป็นพระเถรา จารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดกาญจนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธามาก
ชาติภูมิ เป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิด ปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ.2387 ครอบครัวประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม
เมื่อ วัยเด็กท่านมีอุปนิสัยใจคอเป็นคนเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เป็นนักเลง พูดจริงทำจริง เด็กรุ่นเดียวกันหรือแก่กว่ายอมยกให้เป็นลูกพี่ ท่านได้เป็นกำลังช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายทางปากอ่าว จนคุ้นเคยกับชาวแม่กลองเป็นอันดี
ครั้นได้อายุครบบวช อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี มี พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า จันทโชติ
เมื่อบวชเรียนแล้วเรียนอักษร ขอม ภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้า 10 ชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ 2
ท่าน ได้ศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์ดีเชี่ยวชาญวิทยาคมหลายท่านด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย อ.อัมพวา, หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทรสุดคงคา, หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม อัมพวา และหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา
หลวงปู่ยิ้มได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวต่อจากหลวง พ่อกลิ่น ท่านได้ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระจนมีชื่อเสียง และเป็นอาจารย์สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ต่อมาท่านสร้างเครื่องราง เพื่อแจกจ่าย ให้ผู้ที่ต้องการนำไปใช้ติดตัวเป็นที่พึ่งที่ระลึก หนึ่งในเครื่องรางที่มีชื่อเสียงของท่าน คือ ตะกรุดลูกอม หรือ "ตะกรุดโลกธาตุ" เป็นตะกรุดขนาดเล็กใช้พกติดตัว เมื่อถึงคราวคับขันจวนตัวจะถูกทำร้ายให้กลืนเข้าไป ในท้อง จะล่องหนหายตัวป้องกันอันตรายได้ ทุกประการ
ตะกรุดนี้เชื่อว่า สามารถออกมาจากร่างกายได้เอง โดยให้ตั้งจิตอธิษฐานก่อนนอน รุ่งขึ้นตะกรุดก็จะออกมาปรากฏอยู่ข้างตัว โดยจะไม่ออกทางทวารเบื้องต่ำเด็ดขาด
จึงเรียกว่าตะกรุดลูกอม ลงด้วยหัวใจโลกธาตุ ทำด้วยทองคำ เงิน หรือทองแดง ต้องมีน้ำหนัก 1 สลึง ยาวขนาด 7 ใบมะขามเรียกว่า สัตตโพชฌงค์ ตะกรุดโลกธาตุมีชื่อเสียงปรากฏทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ท่านยังทำพระปิดตาแบบภควัมบดี เนื้อผงสีขาว และสีดำ และพระผงยืนปางห้ามญาติด้านหลังมียันต์อกเลา พระผงแบบนั่งสมาธิ สมเด็จเล็บมือ และเชือก คาดเอว
เกียรติคุณของหลวงปู่ยิ้มเป็นที่ เลื่องลือไปหลายหัวเมือง ทั้งเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ให้ความเลื่อมใสนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชา
แม้กระทั่ง หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังเคยธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดหนองบัว เพื่อแลกเปลี่ยนสรรพวิชากัน
หลวงปู่ยิ้มมีอุปนิสัยสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ มีคนบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญท่านได้ถ่ายทอดไสยเวทวิทยาคมให้กับลูกศิษย์ในยุคต่อมา จนกลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี วัดเทว สังฆาราม, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า เป็นต้น
หลวงปู่ยิ้มมรณภาพอย่างสงบ พ.ศ.2453 สิริอายุ 66 ปี พรรษา 46
ต่อ มาตำรับตำราต่างๆ ของท่านก็เป็นมรดกตกทอดมาถึงเจ้าคุณพระโสภณสมาจาร (เหรียญ) วัดหนองบัว ซึ่งสานุศิษย์ที่สืบทอดเจริญรอยสืบมาจนถึงกาลปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
คอลัมน์ อริยะโลกที่6
หลวง ปู่ยิ้ม จันทโชติ เป็นพระเถรา จารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดกาญจนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธามาก
ชาติภูมิ เป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิด ปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ.2387 ครอบครัวประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม
เมื่อ วัยเด็กท่านมีอุปนิสัยใจคอเป็นคนเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เป็นนักเลง พูดจริงทำจริง เด็กรุ่นเดียวกันหรือแก่กว่ายอมยกให้เป็นลูกพี่ ท่านได้เป็นกำลังช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายทางปากอ่าว จนคุ้นเคยกับชาวแม่กลองเป็นอันดี
ครั้นได้อายุครบบวช อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี มี พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า จันทโชติ
เมื่อบวชเรียนแล้วเรียนอักษร ขอม ภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้า 10 ชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ 2
ท่าน ได้ศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์ดีเชี่ยวชาญวิทยาคมหลายท่านด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย อ.อัมพวา, หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทรสุดคงคา, หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม อัมพวา และหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา
หลวงปู่ยิ้มได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวต่อจากหลวง พ่อกลิ่น ท่านได้ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระจนมีชื่อเสียง และเป็นอาจารย์สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ต่อมาท่านสร้างเครื่องราง เพื่อแจกจ่าย ให้ผู้ที่ต้องการนำไปใช้ติดตัวเป็นที่พึ่งที่ระลึก หนึ่งในเครื่องรางที่มีชื่อเสียงของท่าน คือ ตะกรุดลูกอม หรือ "ตะกรุดโลกธาตุ" เป็นตะกรุดขนาดเล็กใช้พกติดตัว เมื่อถึงคราวคับขันจวนตัวจะถูกทำร้ายให้กลืนเข้าไป ในท้อง จะล่องหนหายตัวป้องกันอันตรายได้ ทุกประการ
ตะกรุดนี้เชื่อว่า สามารถออกมาจากร่างกายได้เอง โดยให้ตั้งจิตอธิษฐานก่อนนอน รุ่งขึ้นตะกรุดก็จะออกมาปรากฏอยู่ข้างตัว โดยจะไม่ออกทางทวารเบื้องต่ำเด็ดขาด
จึงเรียกว่าตะกรุดลูกอม ลงด้วยหัวใจโลกธาตุ ทำด้วยทองคำ เงิน หรือทองแดง ต้องมีน้ำหนัก 1 สลึง ยาวขนาด 7 ใบมะขามเรียกว่า สัตตโพชฌงค์ ตะกรุดโลกธาตุมีชื่อเสียงปรากฏทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ท่านยังทำพระปิดตาแบบภควัมบดี เนื้อผงสีขาว และสีดำ และพระผงยืนปางห้ามญาติด้านหลังมียันต์อกเลา พระผงแบบนั่งสมาธิ สมเด็จเล็บมือ และเชือก คาดเอว
เกียรติคุณของหลวงปู่ยิ้มเป็นที่ เลื่องลือไปหลายหัวเมือง ทั้งเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ให้ความเลื่อมใสนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชา
แม้กระทั่ง หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังเคยธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดหนองบัว เพื่อแลกเปลี่ยนสรรพวิชากัน
หลวงปู่ยิ้มมีอุปนิสัยสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ มีคนบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญท่านได้ถ่ายทอดไสยเวทวิทยาคมให้กับลูกศิษย์ในยุคต่อมา จนกลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี วัดเทว สังฆาราม, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า เป็นต้น
หลวงปู่ยิ้มมรณภาพอย่างสงบ พ.ศ.2453 สิริอายุ 66 ปี พรรษา 46
ต่อ มาตำรับตำราต่างๆ ของท่านก็เป็นมรดกตกทอดมาถึงเจ้าคุณพระโสภณสมาจาร (เหรียญ) วัดหนองบัว ซึ่งสานุศิษย์ที่สืบทอดเจริญรอยสืบมาจนถึงกาลปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เหรียญหล่อหนุมานตรีเพชร
เหรียญหล่อหนุมานตรีเพชร
เปิดตลับพระใหม่
"หนุมาน" เป็นทหารเอกผู้มีอิทธิฤทธิ์ในการนำทัพ ทำให้พระรามรบชนะต่อทศกัณฑ์ในรามเกียรติ์
หนุมาน เป็นลิงเผือกมีกายสีขาวมีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเป็นเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้า แปดกรและหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ตรีเพชรเป็นอาวุธประจำตัว มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกาย หายตัว ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัด ก็จะฟื้นขึ้นได้อีก
เหรียญหล่อโบราณหนุมานตรีเพชร ตำรับ "หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม" เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม จัดสร้างเพื่อสืบสานแบบอย่างโบราณาจารย์ ให้เป็นขวัญและกำลังใจแห่งชัยชนะและความสำเร็จ
ในวันพฤหัสบดีที่ 27 ก.พ.2557 จะมีพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก ณ พระอุโบสถ วัดใหม่ปิ่นเกลียว มีพระเกจิคณาจารย์ที่เมตตามาร่วมปลุกเสกคือ พระครูปยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม) วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม พระครูถาวรศีลวัตร (หลวงพ่อพรหม) วัดลานคา อ.บางเลน จ.นครปฐม พระครูปราการลักษาภิบาล (หลวงพ่อ สมพงษ์) วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม พระครูสันติธรรมานันท์ (พระอาจารย์สมญา) วัดลำลูกบัว อ.ดอนตูม จ.นครปฐม พระปลัดพลาธิป กตกุสโล วัดใหม่ ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม พระสุบิน สุปิโน วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐ
ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญหล่อแบบเหวี่ยงโบราณรูปไข่ ปลายเหรียญอ่อนช้อย กว้างจากกลางเหรียญ 2.9 ซ.ม. สูงจากก้นถึงยอดปลายเหรียญ 4.5 ซ.ม.
ด้านหน้า เป็นรูปหนุมาน 8 กรเหาะท่ายืนบนก้อนเมฆในมือถืออาวุธประจำกาย จักร พระขรรค์ ตรี คทา
ด้าน หลัง เป็นดาวห้าแฉก 24 ดวงล้อมเดือนรูปไข่มีรัศมีเดือนเป็นรูปปลายกนกอ่อนช้อย และยันต์ อุณาโลม ด้านซ้ายยันต์ มีอักษรไทยคำว่า หนุมานตรีเพชร ด้านขวายันต์ เขียนคำว่า "วัดไหม่ปิ่นเกลียว" และตัวเลขไทย "๔๗" ด้านล่าง ทุกเหรียญทุกเนื้อมีโค้ด และตัวเลขรันลำดับทุกเหรียญ
เนื้อที่สร้างแบบหล่อโบราณจำนวนเหรียญ ที่สร้างจำนวน 5 เนื้อได้แก่ เนื้อทองคำ 11 เหรียญตามจำนวนสั่งจองนำหนักทองคำประมาณ 51 กรัม (ราคาสั่งจองติดต่อสอบถามที่วัด) เนื้อเงิน 100 เหรียญ ราคา 1,800 บาท เนื้อรมดำสำริด 200 เหรียญ ราคา 499 บาท เนื้อทองระฆังรมดำ 400 เหรียญ ราคา 299 บาท เนื้อทองแดงรมดำ 1,000 เหรียญ ราคา 199 บาท
ส่วนวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จากการเช่าบูชานำไปบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ทรงไทย วัดใหม่ปิ่นเกลียว ปรับภูมิทัศน์อุทยานการศึกษา
ติดต่อขอเช่าบูชา ที่วัดใหม่ปิ่นเกลียว อ.เมือง จ.นครปฐม
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
เปิดตลับพระใหม่
"หนุมาน" เป็นทหารเอกผู้มีอิทธิฤทธิ์ในการนำทัพ ทำให้พระรามรบชนะต่อทศกัณฑ์ในรามเกียรติ์
หนุมาน เป็นลิงเผือกมีกายสีขาวมีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเป็นเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้า แปดกรและหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ตรีเพชรเป็นอาวุธประจำตัว มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกาย หายตัว ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัด ก็จะฟื้นขึ้นได้อีก
เหรียญหล่อโบราณหนุมานตรีเพชร ตำรับ "หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม" เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม จัดสร้างเพื่อสืบสานแบบอย่างโบราณาจารย์ ให้เป็นขวัญและกำลังใจแห่งชัยชนะและความสำเร็จ
ในวันพฤหัสบดีที่ 27 ก.พ.2557 จะมีพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก ณ พระอุโบสถ วัดใหม่ปิ่นเกลียว มีพระเกจิคณาจารย์ที่เมตตามาร่วมปลุกเสกคือ พระครูปยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม) วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม พระครูถาวรศีลวัตร (หลวงพ่อพรหม) วัดลานคา อ.บางเลน จ.นครปฐม พระครูปราการลักษาภิบาล (หลวงพ่อ สมพงษ์) วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม พระครูสันติธรรมานันท์ (พระอาจารย์สมญา) วัดลำลูกบัว อ.ดอนตูม จ.นครปฐม พระปลัดพลาธิป กตกุสโล วัดใหม่ ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม พระสุบิน สุปิโน วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐ
ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญหล่อแบบเหวี่ยงโบราณรูปไข่ ปลายเหรียญอ่อนช้อย กว้างจากกลางเหรียญ 2.9 ซ.ม. สูงจากก้นถึงยอดปลายเหรียญ 4.5 ซ.ม.
ด้านหน้า เป็นรูปหนุมาน 8 กรเหาะท่ายืนบนก้อนเมฆในมือถืออาวุธประจำกาย จักร พระขรรค์ ตรี คทา
ด้าน หลัง เป็นดาวห้าแฉก 24 ดวงล้อมเดือนรูปไข่มีรัศมีเดือนเป็นรูปปลายกนกอ่อนช้อย และยันต์ อุณาโลม ด้านซ้ายยันต์ มีอักษรไทยคำว่า หนุมานตรีเพชร ด้านขวายันต์ เขียนคำว่า "วัดไหม่ปิ่นเกลียว" และตัวเลขไทย "๔๗" ด้านล่าง ทุกเหรียญทุกเนื้อมีโค้ด และตัวเลขรันลำดับทุกเหรียญ
เนื้อที่สร้างแบบหล่อโบราณจำนวนเหรียญ ที่สร้างจำนวน 5 เนื้อได้แก่ เนื้อทองคำ 11 เหรียญตามจำนวนสั่งจองนำหนักทองคำประมาณ 51 กรัม (ราคาสั่งจองติดต่อสอบถามที่วัด) เนื้อเงิน 100 เหรียญ ราคา 1,800 บาท เนื้อรมดำสำริด 200 เหรียญ ราคา 499 บาท เนื้อทองระฆังรมดำ 400 เหรียญ ราคา 299 บาท เนื้อทองแดงรมดำ 1,000 เหรียญ ราคา 199 บาท
ส่วนวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จากการเช่าบูชานำไปบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ทรงไทย วัดใหม่ปิ่นเกลียว ปรับภูมิทัศน์อุทยานการศึกษา
ติดต่อขอเช่าบูชา ที่วัดใหม่ปิ่นเกลียว อ.เมือง จ.นครปฐม
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท พระเกจิดังสิงห์บุรี
หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท พระเกจิดังสิงห์บุรี
อริยะโลกที่6
สุธน พันธุเมฆ
พระครูปราการกิตติคุณ หรือ ที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท" อดีตเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต 1 และอดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองสิงห์บุรี ศิษย์สายตรง หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก, หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี และหลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง
มี นามเดิมว่า โต๊ะ กุหลาบวงศ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือนพฤศจิกายน 2439 ปีวอก ที่บ้านท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี บุตรกำนันโพธิ์ หรือพันโพธิ์ และนางปรางค์ กุหลาบวงศ์
ชีวิตวัยเยาว์ อายุ 12 ปี โยมพ่อนำไปฝากเรียนอยู่กับ พระครูวินิตศีลคุณ (หลวงพ่อลา) วัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี ศึกษาเล่าเรียนและปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อลา จนสอบ ไล่ได้ชั้น 2 ในสมัยนั้น แล้วมาสมัครสอบเป็นครูสอนภาษาไทยที่ วัดโพธิ์ลังกา และสอนได้เพียง 1 ปี ลาออก
พ.ศ.2458 อายุ 19 ปี บรรพชาที่ วัดดงยาง ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ต่อมาอายุครบบวช 20 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2459 ณ พัทธสีมาวัดดงยาง โดยมี พระ วินัยธรกิ่ง วัดธรรมสังเวช เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการพิมพ์ วัดไผ่ดำ เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเหรียญ วัดธรรมสังเวช เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ฉันโท หมายถึง ผู้มีความพึงพอใจ
ภาย หลังอุปสมบท จำพรรษาอยู่ที่วัดดงยาง ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในพรรษาที่ 2 ก่อนย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ลังกาและวัดท่าอิฐ เพื่อเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ซึ่งวัดทั้งสองนี้อยู่ใน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
ในปี พ.ศ.2562 คณะทายกทายิกาวัดกำแพง นิมนต์ท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดกำแพง
ลำดับ ผลงานการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2465 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพง พ.ศ.2466 เป็นเจ้าอาวาสวัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
พ.ศ.2467 เป็นเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต 1 พ.ศ.2485 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนาม ที่ "พระครูปราการกิตติคุณ"
หลวงปู่โต๊ะ มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาคมแขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยท่านศึกษามาจากพระคณาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี, หลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง จ.สิงห์บุรี
ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ โดยสร้างคุณประโยชน์ตลอดมา ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และเป็นพระนักพัฒนาที่ชำนาญการก่อสร้างเป็นพิเศษ ทำให้วัดกำแพง มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาจนถึงยุคปัจจุบัน
หลวงปู่โต๊ะ ยังได้ช่วยพัฒนาวัดอื่นๆ อีกหลายวัด ในเขต อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี อาทิ สร้างอุโบสถและวิหาร วัดเขาแก้ว, สร้างเจดีย์ วัดเชียงราก, สร้างหลวงพ่อธรรมจักร วัดโพธิ์ลังกา เป็นต้น
วัตถุมงคลของท่านในยุค แรก จัดสร้างตะกรุด ผ้ายันต์ ผ้าประเจียดและภาพถ่าย ต่อมาหลวงปู่โต๊ะสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา เป็นพิมพ์ศิลปะสมัยต่างๆ ส่วนยุคหลัง ท่านสร้างวัตถุมงคลประเภทโลหะ เป็นเหรียญรุ่นต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหมือนของท่านครึ่งองค์หน้าตรง บนศีรษะของท่านจะมีรูปพระพุทธ อันเป็นเอกลักษณ์ของท่าน
วัตถุมงคลของ หลวงปู่โต๊ะ ที่สร้างขึ้นมาแต่ละรุ่น มีความเด่นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน จึงเป็นที่เสาะหาของนักสะสมโดยทั่วไป
หลวงปู่โต๊ะ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยตลอดมาหลังเสร็จจากงานฝัง ลูกนิมิตที่วัดกำแพง ลูกศิษย์ได้พาท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพฯ แพทย์ได้รักษาพยาบาลอยู่ไม่นาน วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 เวลา 05.00 น. หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 86 ปี พรรษา 67
ปัจจุบัน สังขารของท่านนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วอันโปร่งใส บนตึกอนุสรณ์ปราการกิตติคุณ วัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา ตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้สักการะ
เหลือไว้เพียงคุณงามความดีและวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่า
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
อริยะโลกที่6
สุธน พันธุเมฆ
พระครูปราการกิตติคุณ หรือ ที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท" อดีตเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต 1 และอดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองสิงห์บุรี ศิษย์สายตรง หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก, หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี และหลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง
มี นามเดิมว่า โต๊ะ กุหลาบวงศ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือนพฤศจิกายน 2439 ปีวอก ที่บ้านท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี บุตรกำนันโพธิ์ หรือพันโพธิ์ และนางปรางค์ กุหลาบวงศ์
ชีวิตวัยเยาว์ อายุ 12 ปี โยมพ่อนำไปฝากเรียนอยู่กับ พระครูวินิตศีลคุณ (หลวงพ่อลา) วัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี ศึกษาเล่าเรียนและปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อลา จนสอบ ไล่ได้ชั้น 2 ในสมัยนั้น แล้วมาสมัครสอบเป็นครูสอนภาษาไทยที่ วัดโพธิ์ลังกา และสอนได้เพียง 1 ปี ลาออก
พ.ศ.2458 อายุ 19 ปี บรรพชาที่ วัดดงยาง ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ต่อมาอายุครบบวช 20 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2459 ณ พัทธสีมาวัดดงยาง โดยมี พระ วินัยธรกิ่ง วัดธรรมสังเวช เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการพิมพ์ วัดไผ่ดำ เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเหรียญ วัดธรรมสังเวช เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ฉันโท หมายถึง ผู้มีความพึงพอใจ
ภาย หลังอุปสมบท จำพรรษาอยู่ที่วัดดงยาง ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในพรรษาที่ 2 ก่อนย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ลังกาและวัดท่าอิฐ เพื่อเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ซึ่งวัดทั้งสองนี้อยู่ใน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
ในปี พ.ศ.2562 คณะทายกทายิกาวัดกำแพง นิมนต์ท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดกำแพง
ลำดับ ผลงานการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2465 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพง พ.ศ.2466 เป็นเจ้าอาวาสวัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
พ.ศ.2467 เป็นเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต 1 พ.ศ.2485 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนาม ที่ "พระครูปราการกิตติคุณ"
หลวงปู่โต๊ะ มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาคมแขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยท่านศึกษามาจากพระคณาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี, หลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง จ.สิงห์บุรี
ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ โดยสร้างคุณประโยชน์ตลอดมา ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และเป็นพระนักพัฒนาที่ชำนาญการก่อสร้างเป็นพิเศษ ทำให้วัดกำแพง มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาจนถึงยุคปัจจุบัน
หลวงปู่โต๊ะ ยังได้ช่วยพัฒนาวัดอื่นๆ อีกหลายวัด ในเขต อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี อาทิ สร้างอุโบสถและวิหาร วัดเขาแก้ว, สร้างเจดีย์ วัดเชียงราก, สร้างหลวงพ่อธรรมจักร วัดโพธิ์ลังกา เป็นต้น
วัตถุมงคลของท่านในยุค แรก จัดสร้างตะกรุด ผ้ายันต์ ผ้าประเจียดและภาพถ่าย ต่อมาหลวงปู่โต๊ะสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา เป็นพิมพ์ศิลปะสมัยต่างๆ ส่วนยุคหลัง ท่านสร้างวัตถุมงคลประเภทโลหะ เป็นเหรียญรุ่นต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหมือนของท่านครึ่งองค์หน้าตรง บนศีรษะของท่านจะมีรูปพระพุทธ อันเป็นเอกลักษณ์ของท่าน
วัตถุมงคลของ หลวงปู่โต๊ะ ที่สร้างขึ้นมาแต่ละรุ่น มีความเด่นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน จึงเป็นที่เสาะหาของนักสะสมโดยทั่วไป
หลวงปู่โต๊ะ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยตลอดมาหลังเสร็จจากงานฝัง ลูกนิมิตที่วัดกำแพง ลูกศิษย์ได้พาท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพฯ แพทย์ได้รักษาพยาบาลอยู่ไม่นาน วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 เวลา 05.00 น. หลวงปู่โต๊ะ ฉันโท ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 86 ปี พรรษา 67
ปัจจุบัน สังขารของท่านนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วอันโปร่งใส บนตึกอนุสรณ์ปราการกิตติคุณ วัดกำแพง ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา ตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้สักการะ
เหลือไว้เพียงคุณงามความดีและวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่า
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เหรียญหลังกรมหลวงชุมพร หลวงปู่ศุข 2556
เหรียญหลังกรมหลวงชุมพร หลวงปู่ศุข 2556
เปิดตลับพระใหม่
"พระครูวิมลคุณากร" หรือ "หลวงปู่ศุข เกสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่มีพุทธคุณาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน
ท่านมีนามเดิม ว่า ศุข เกษเวช เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ครบอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (วัดโพธิ์ทองล่าง) มีพระครูเชย จันทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเชย พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ตลอดจนหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง
ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ศุขได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จนชาวบ้านแถบนั้นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนวัดแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง
มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 สิริอายุ 76 ปี
เมื่อ วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2556 อันเป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่ศุข ครบ 90 ปี ประกอบกับ พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท มีความประสงค์จะให้คณะกรรมการวัด จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหลวงปู่ศุข หลังกรมหลวงชุมพรฯ" เป็นที่ระลึกในการเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ศุขยืนถือไม้เท้าใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย
"เหรียญหลวงปู่ศุข หลังกรมหลวงชุมพร" รุ่นนี้ จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยา ชุดกรรมการ 99 ชุด ชุดละ 9 เหรียญ, เนื้อเงิน 300 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา สีประจำวันเกิด สีละ 300 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา ลายธงชาติ 300 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 9,000 เหรียญ, เนื้อทองเหลือง 9,000 เหรียญ, เนื้อทองแดง 9,000 เหรียญ และเนื้อนวะ 2,000 เหรียญ
ลักษณะของเหรียญ ทรงรูปไข่ มีหูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญมีขอบ ตรงกลางเหรียญมีรูปนูนหลวงปู่ศุข นั่ง เพชรกลับเต็มองค์ ด้านซ้าย-ขวา มีอักขระขอม อุ บนล่าง 2 ข้าง ลงยาสีธงชาติ ใต้ขอบด้านบนมีอักษรไทย "พระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า" เหนือขอบด้านล่างมีลวดลายคล้าย "โบ" ภายในมีเลขไทย "๒๕๕๖"
ส่วนด้านหลัง มีขอบและจุดไข่ปลารอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีรูปนูนกรมหลวงชุมพรฯ ครึ่งองค์ เหนือบ่าซ้าย มีเลขไทยเป็นลำดับของเหรียญ เหนือขอบและไข่ปลาด้านล่างมีอักษรไทย เขียนคำว่า "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์"
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09.09 น. ณ อุโบสถเก่ามหาอุด วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อรวย วัดตะโก, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์, หลวงพ่อเท วัดยี่งอ, หลวงพ่อสัญญา วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย และหลวงพ่อชาญ วัดสระแก้วศรีสรรเพชญ รวม 9 รูป
เหรียญรุ่นนี้ หลายเนื้อหมดหลังสั่งจอง แต่ที่วัดยังพอมีบางเนื้อเหลืออยู่บ้าง
ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
เปิดตลับพระใหม่
"พระครูวิมลคุณากร" หรือ "หลวงปู่ศุข เกสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่มีพุทธคุณาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน
ท่านมีนามเดิม ว่า ศุข เกษเวช เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ครบอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (วัดโพธิ์ทองล่าง) มีพระครูเชย จันทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเชย พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ตลอดจนหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง
ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ศุขได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จนชาวบ้านแถบนั้นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนวัดแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง
มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 สิริอายุ 76 ปี
เมื่อ วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2556 อันเป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่ศุข ครบ 90 ปี ประกอบกับ พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท มีความประสงค์จะให้คณะกรรมการวัด จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหลวงปู่ศุข หลังกรมหลวงชุมพรฯ" เป็นที่ระลึกในการเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ศุขยืนถือไม้เท้าใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย
"เหรียญหลวงปู่ศุข หลังกรมหลวงชุมพร" รุ่นนี้ จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยา ชุดกรรมการ 99 ชุด ชุดละ 9 เหรียญ, เนื้อเงิน 300 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา สีประจำวันเกิด สีละ 300 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา ลายธงชาติ 300 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 9,000 เหรียญ, เนื้อทองเหลือง 9,000 เหรียญ, เนื้อทองแดง 9,000 เหรียญ และเนื้อนวะ 2,000 เหรียญ
ลักษณะของเหรียญ ทรงรูปไข่ มีหูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญมีขอบ ตรงกลางเหรียญมีรูปนูนหลวงปู่ศุข นั่ง เพชรกลับเต็มองค์ ด้านซ้าย-ขวา มีอักขระขอม อุ บนล่าง 2 ข้าง ลงยาสีธงชาติ ใต้ขอบด้านบนมีอักษรไทย "พระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า" เหนือขอบด้านล่างมีลวดลายคล้าย "โบ" ภายในมีเลขไทย "๒๕๕๖"
ส่วนด้านหลัง มีขอบและจุดไข่ปลารอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีรูปนูนกรมหลวงชุมพรฯ ครึ่งองค์ เหนือบ่าซ้าย มีเลขไทยเป็นลำดับของเหรียญ เหนือขอบและไข่ปลาด้านล่างมีอักษรไทย เขียนคำว่า "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์"
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลา 09.09 น. ณ อุโบสถเก่ามหาอุด วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อรวย วัดตะโก, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์, หลวงพ่อเท วัดยี่งอ, หลวงพ่อสัญญา วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย และหลวงพ่อชาญ วัดสระแก้วศรีสรรเพชญ รวม 9 รูป
เหรียญรุ่นนี้ หลายเนื้อหมดหลังสั่งจอง แต่ที่วัดยังพอมีบางเนื้อเหลืออยู่บ้าง
ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และทุกท่านก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรูปเหมือนท่านปีพ.ศ.2466 ที่นิยมกันมาก พระสี่เหลี่ยม ทั้งเนื้อชินตะกั่ว และเนื้อโลหะผสมต่างๆ พระปรกใบมะขาม พระเนื้อผงรุ่นแจกแม่ครัว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาอีกด้วย ซึ่งเราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ครับ
พระปิดตาของหลวงปู่ศุข ท่านได้สร้างไว้หลายพิมพ์เหมือนกัน มีทั้งเนื้อตะกั่วและเนื้อผง และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่า หลวงปู่ท่านเริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ ท่าน ซึ่งจัดขึ้นทุกปี
หลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน วันที่หนึ่ง ไหว้ครูหมอยา วันที่ 2 ไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่ 3 ไหว้ครูทางวิทยาคม
ในงาน ไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรมฯ พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึง วันที่ 3 เสร็จพิธีไหว้ครูแล้วหลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงาน โดยทั่วถึงกันทุกคน
พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากใน กทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่า อาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม. เสด็จในกรมฯ ท่านได้นำไปแจกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วยเป็นบางส่วน
พระปิดทวารพิมพ์แขนชิด เป็นพระรูปแบบลอยองค์ เป็นพระที่พระครูสิหชยสิชฌย์ (ฉอ้อน) เป็นแม่แรงสร้าง ในคราวขุดสระน้ำที่วัดสิงห์สถิต จังหวัดชัยนาท ท่านได้ขอให้หลวงปู่ศุขปลุกเสกให้ แล้วนำพระพิมพ์นี้มาแจก พระพิมพ์นี้จะพบมากที่จังหวัดชัยนาทและอุทัยธานี
พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง เนื้อผงคลุกรัก เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่ศุขท่านได้สร้างแจกเมื่อคราวงานศพโยมมารดาของท่าน พร้อมกับอีกพิมพ์หนึ่งก็คือพระพิมพ์แจกแม่ครัว
พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขท่านแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรม หลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น พระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก และเนื่องจากเป็นพระ ที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขต กทม.เท่า นั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข เนื่องจากผู้ที่ ได้รับจะเป็น เจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ
พระปิด ตาและพระปิดทวารของหลวงปู่ศุขนั้นหายากทุกพิมพ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อตะกั่วหรือเนื้อผงคลุกรัก และพระปิดตาพิมพ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของ หลวงปู่ศุขก็คือพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ ครับ
ในวันนี้ผมก็ได้นำ รูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ มาให้ชมกันครับ และพระพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ นี้จะมีการบรรยายโดย คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2557 ที่ห้องประชุม น.ส.พ.ข่าวสด
นอกจากนี้ยังได้นำพระองค์จริงมาแสดงให้ ชมกันมากมายถึง 12 เกจิอาจารย์ยอดนิยมด้วยครับ หากท่าน ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2954-3977-64 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 และ 08-2993-9097, 08-2993-9105 ครับผม
ด้วยความจริงใจ
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และทุกท่านก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรูปเหมือนท่านปีพ.ศ.2466 ที่นิยมกันมาก พระสี่เหลี่ยม ทั้งเนื้อชินตะกั่ว และเนื้อโลหะผสมต่างๆ พระปรกใบมะขาม พระเนื้อผงรุ่นแจกแม่ครัว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาอีกด้วย ซึ่งเราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ครับ
พระปิดตาของหลวงปู่ศุข ท่านได้สร้างไว้หลายพิมพ์เหมือนกัน มีทั้งเนื้อตะกั่วและเนื้อผง และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่า หลวงปู่ท่านเริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ ท่าน ซึ่งจัดขึ้นทุกปี
หลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน วันที่หนึ่ง ไหว้ครูหมอยา วันที่ 2 ไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่ 3 ไหว้ครูทางวิทยาคม
ในงาน ไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรมฯ พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึง วันที่ 3 เสร็จพิธีไหว้ครูแล้วหลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงาน โดยทั่วถึงกันทุกคน
พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากใน กทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่า อาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม. เสด็จในกรมฯ ท่านได้นำไปแจกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วยเป็นบางส่วน
พระปิดทวารพิมพ์แขนชิด เป็นพระรูปแบบลอยองค์ เป็นพระที่พระครูสิหชยสิชฌย์ (ฉอ้อน) เป็นแม่แรงสร้าง ในคราวขุดสระน้ำที่วัดสิงห์สถิต จังหวัดชัยนาท ท่านได้ขอให้หลวงปู่ศุขปลุกเสกให้ แล้วนำพระพิมพ์นี้มาแจก พระพิมพ์นี้จะพบมากที่จังหวัดชัยนาทและอุทัยธานี
พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง เนื้อผงคลุกรัก เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่ศุขท่านได้สร้างแจกเมื่อคราวงานศพโยมมารดาของท่าน พร้อมกับอีกพิมพ์หนึ่งก็คือพระพิมพ์แจกแม่ครัว
พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขท่านแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรม หลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น พระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก และเนื่องจากเป็นพระ ที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขต กทม.เท่า นั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข เนื่องจากผู้ที่ ได้รับจะเป็น เจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ
พระปิด ตาและพระปิดทวารของหลวงปู่ศุขนั้นหายากทุกพิมพ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อตะกั่วหรือเนื้อผงคลุกรัก และพระปิดตาพิมพ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของ หลวงปู่ศุขก็คือพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ ครับ
ในวันนี้ผมก็ได้นำ รูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ มาให้ชมกันครับ และพระพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ นี้จะมีการบรรยายโดย คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2557 ที่ห้องประชุม น.ส.พ.ข่าวสด
นอกจากนี้ยังได้นำพระองค์จริงมาแสดงให้ ชมกันมากมายถึง 12 เกจิอาจารย์ยอดนิยมด้วยครับ หากท่าน ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2954-3977-64 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 และ 08-2993-9097, 08-2993-9105 ครับผม
ด้วยความจริงใจ
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)