วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต พระเกจิเมืองปากน้ำโพ

หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต พระเกจิเมืองปากน้ำโพ
อริยะโลกที่ 6
หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังปากน้ำโพ สืบสานวิทยาคมเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ และเรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ปัจจุบันสิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 วัดห้วยลำไย อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เกิดในสกุล ชัยบุรินทร์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2466 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เมื่อช่วงวัยเยาว์ ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้าน ซึ่งเป็นวัดภายในหมู่บ้าน กระทั่งจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 4 หลังจากนั้นได้ออกมาช่วยครอบครัวทำนาทำไร่ จวบจนมีอายุพอครบเกณฑ์ทหาร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองน้อย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีพระใบฎีกา บุญยัง คังคสโร เป็นพระอุปัชาฌาย์

หลัง อุปสมบท ประพฤติปฏิบัติตนตามแบบที่ครูอาจารย์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง

ท่าน ร่ำเรียนวิชาจากพระใบฎีกาบุญยัง ซึ่งเคยเป็นพระปลัดซ้ายพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท

ท่าน ได้เรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข จากตำราเอก วิชาตัวอิ อันเป็นบทปฐม 1 ใน 4 ตำราหลักของหลวงปู่ศุข คือ อิ ติ ปิ โส จากพระใบฎีกา บุญยัง จนมีความชำนาญ จึงถือได้ว่า หลวงปู่เช้า เป็นพระเกจิที่สืบทอดวิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยตรงอย่างแท้จริง ตำรับตำราท่านศึกษาผ่านตาทั้งสิ้น แต่ท่านไม่ค่อยคุยโอ้อวด

ต่อมา ได้ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับพระอาจารย์ที่เก่งในทางนี้

การ ศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด หลวงพ่อเช้าได้ไปศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ ได้รับการถ่ายทอดวิชาเสกมีดหมอ, คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ

ครั้นอายุ มาก ล่วงเข้าวัยชรา พระใบฎีกาปรีชา ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดห้วยลำไย อ.ตากฟ้า จ.นคร สวรรค์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชาย ได้ขออาราธนาให้อยู่จำพรรษาที่วัดห้วยลำไย เพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิด

หลวง ปู่เช้า มุ่งมั่นศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ สงเคราะห์ญาติโยมที่เดือดร้อนมาโดยตลอด เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ปฏิบัติเกื้อกูลต่อพุทธ ศาสนิกชนที่มากราบนมัสการอย่างสม่ำเสมอกัน กอปรกับเป็นพระเกจิอาจารย์เข้มขลัง ทำให้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าจากสาธุชนทั้งใกล้-ไกล หลั่งไหลมากราบนมัสการ เพื่อความเป็นสิริมงคลมิขาดสาย

ท่านได้รับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ เป็นประจำ

หลวง ปู่เช้า มีวินัยเคร่งครัด อาจกล่าวได้ว่า เมืองปากน้ำโพ นับแต่สิ้นหลวงปู่เดิม พุทธสโร วัดหนองโพ, หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว, หลวงปู่ชม ญาณโสภโณ วัดเนินหญ้าคา, หลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโล วัดลาดยาว ฯลฯ

เป็นพระเกจิที่ได้รับความเคารพนับถือจากชาวปากน้ำโพอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต พระเกจิเมืองดอกบัว

หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต พระเกจิเมืองดอกบัว

อริยะโลกที่6

พระครูมงคลคำภีรคุณ หรือ หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต เป็นพระเกจิ อาจารย์แห่งเมืองดอกบัว เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ

หลวงปู่คำแดง สิริอายุ 91 ปี พรรษา 24 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาส บ้านนาพิน ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

นาม เดิม คำแดง พึ่งบารมี เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2465 ตรงกับวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ณ บ้านเลขที่ 31 หมู่ 10 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บิดา-มารดา ชื่อ นายถาวรและนางใหม่ พึ่งบารมี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน

มีเรื่องเล่าว่า ก่อนท่านมาเกิด นางใหม่ ผู้เป็นมารดาฝันว่ามีพระธุดงค์เดินมามอบหนังสือใบลานก้อมให้แล้วเดินจากไป ต่อจากนั้น นางใหม่ก็ตั้งครรภ์ 10 เดือน ก่อนคลอดเด็กทารกเพศชายตัวเล็ก สุขภาพไม่แข็งแรง บิดาจึงเอาไปถวายพระอาจารย์ใหม่ บัวแดง ให้ท่านผูกข้อมือรับเป็นพ่อบุญธรรม

ครั้นอายุ 9 ขวบ เข้าโรงเรียนประชาบาล ต.นาพิน จบชั้น ป.4 สอบชิงทุนได้ นายฮง มณีภาค ศึกษาอำเภอ ได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนกสิกรรม (ท่าวังหิน) แต่นายถาวร ผู้บิดาขอสละสิทธิ์ นำบุตรชายให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2479-2499 อยู่วัดคัมภีราวาส

พ.ศ.2480 ย้ายไปอยู่จำพรรษาวัดสิงหาญสะพือ กับพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2481 ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ภูขาม แล้วไปจำพรรษาอยู่วัดบูรพา ในเมืองอุบลราชธานี

พ.ศ.2481 อยู่ ต.นาจิก จ.อำนาจเจริญ สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้

ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดฉิมพลี อ.เมือง จ.สกลนคร

หลัง อุปสมบทได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาค อีสาน ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ.2486 เรียนบาลีไวยากรณ์อยู่

พ.ศ.2491 ย้ายไปเรียนบาลีไวยากรณ์ อยู่วัดกลาง อำเภอเขมราฐ

ในปี พ.ศ.2501 ย้ายมาอยู่จำพรรษา วัดพาราณสี ต.นาพิน แต่ท่านบวชได้เพียง 6 ปี ท่านตัดสินใจลาสิกขาไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส

เมื่อ วันที่ 6 ส.ค.2530 นายคำแดง ป่วยหนักพวกญาตินำส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี หมอผ่าตัดถุงน้ำดี หลังจากนั้น ท่านได้หายป่วย

หลัง ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ ท่านจึงเริ่มนึกปลงชีวิต ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่ทางธรรมอีกครั้ง ตัดสินใจอุปสมบท เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2532 ที่วัดกุญชราราม ต.ขุหลุ อ.ตระการพืชผล มี พระครูไพโรจน์ปรีชากร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูภัทรญาณปยุต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริธรรมมากร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ฐานทัตโต

ภาย หลังอุปสมบท พระคำแดง ได้ออกธุดงควัตรไปสร้างวัดบ้านโนนฮาง หมู่ที่ 9 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล พ.ศ.2533 สามารถสอบได้เปรียญธรรมประโยค 1-2 พ.ศ.2538 สอบได้เปรียญธรรมประโยค 3

จากนั้น พ.ศ.2541 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

หลวง ปู่คำแดง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตายามได้รับกิจนิมนต์ไปงานบุญ ต่างๆ ท่านไม่เคยปฏิเสธ แม้ว่าท่านจะย่างอายุเข้าสู่วัยชราและมีปัญหาด้านสุขภาพตามวัย

ส่วน งานกิจนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ท่านต้องเดินทางเข้าร่วมพิธีเสมอ แม้นจะไกลหรือจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ท่านก็มีความสุขที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ศิษย์ผู้คอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่สามารถทัดทานได้

ส่วนวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ท่านได้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เล่าขาน วัตถุมงคลหลายรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่าง มาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ รูปเหมือน หรือเครื่องรางของขลังต่างๆ

เกียรติคุณของหลวงปู่คำแดง เป็นที่รู้จักศรัทธาเลื่อมใส

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี

คอลัมน์ อริยะโลกที่6


หลวง ปู่ยิ้ม จันทโชติ เป็นพระเถรา จารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดกาญจนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธามาก

ชาติภูมิ เป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิด ปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ.2387 ครอบครัวประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม

เมื่อ วัยเด็กท่านมีอุปนิสัยใจคอเป็นคนเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เป็นนักเลง พูดจริงทำจริง เด็กรุ่นเดียวกันหรือแก่กว่ายอมยกให้เป็นลูกพี่ ท่านได้เป็นกำลังช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ ล่องไปขายทางปากอ่าว จนคุ้นเคยกับชาวแม่กลองเป็นอันดี

ครั้นได้อายุครบบวช อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี มี พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า จันทโชติ

เมื่อบวชเรียนแล้วเรียนอักษร ขอม ภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้า 10 ชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ 2

ท่าน ได้ศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์ดีเชี่ยวชาญวิทยาคมหลายท่านด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย อ.อัมพวา, หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทรสุดคงคา, หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม อัมพวา และหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา

หลวงปู่ยิ้มได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวต่อจากหลวง พ่อกลิ่น ท่านได้ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระจนมีชื่อเสียง และเป็นอาจารย์สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ต่อมาท่านสร้างเครื่องราง เพื่อแจกจ่าย ให้ผู้ที่ต้องการนำไปใช้ติดตัวเป็นที่พึ่งที่ระลึก หนึ่งในเครื่องรางที่มีชื่อเสียงของท่าน คือ ตะกรุดลูกอม หรือ "ตะกรุดโลกธาตุ" เป็นตะกรุดขนาดเล็กใช้พกติดตัว เมื่อถึงคราวคับขันจวนตัวจะถูกทำร้ายให้กลืนเข้าไป ในท้อง จะล่องหนหายตัวป้องกันอันตรายได้ ทุกประการ

ตะกรุดนี้เชื่อว่า สามารถออกมาจากร่างกายได้เอง โดยให้ตั้งจิตอธิษฐานก่อนนอน รุ่งขึ้นตะกรุดก็จะออกมาปรากฏอยู่ข้างตัว โดยจะไม่ออกทางทวารเบื้องต่ำเด็ดขาด

จึงเรียกว่าตะกรุดลูกอม ลงด้วยหัวใจโลกธาตุ ทำด้วยทองคำ เงิน หรือทองแดง ต้องมีน้ำหนัก 1 สลึง ยาวขนาด 7 ใบมะขามเรียกว่า สัตตโพชฌงค์ ตะกรุดโลกธาตุมีชื่อเสียงปรากฏทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ท่านยังทำพระปิดตาแบบภควัมบดี เนื้อผงสีขาว และสีดำ และพระผงยืนปางห้ามญาติด้านหลังมียันต์อกเลา พระผงแบบนั่งสมาธิ สมเด็จเล็บมือ และเชือก คาดเอว

เกียรติคุณของหลวงปู่ยิ้มเป็นที่ เลื่องลือไปหลายหัวเมือง ทั้งเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ให้ความเลื่อมใสนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชา

แม้กระทั่ง หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังเคยธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดหนองบัว เพื่อแลกเปลี่ยนสรรพวิชากัน

หลวงปู่ยิ้มมีอุปนิสัยสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ มีคนบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญท่านได้ถ่ายทอดไสยเวทวิทยาคมให้กับลูกศิษย์ในยุคต่อมา จนกลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี วัดเทว สังฆาราม, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า เป็นต้น

หลวงปู่ยิ้มมรณภาพอย่างสงบ พ.ศ.2453 สิริอายุ 66 ปี พรรษา 46

ต่อ มาตำรับตำราต่างๆ ของท่านก็เป็นมรดกตกทอดมาถึงเจ้าคุณพระโสภณสมาจาร (เหรียญ) วัดหนองบัว ซึ่งสานุศิษย์ที่สืบทอดเจริญรอยสืบมาจนถึงกาลปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://เว็บพระ.net/index.php

คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ