พระคง กรุช้างค้ำ เชียงใหม่
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
พระ คง เป็นหนึ่งใน "พระสกุลลำพูน" อันลือชื่อของทางเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างในยุคใกล้เคียงกับ "พระรอด กรุวัดมหาวัน" พระยอดนิยมหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี แต่จำนวนพระคงมีมากกว่าจึงทำให้ได้รับความนิยมน้อยกว่าพระรอด แต่ ณ ปัจจุบันสนนราคาก็ไม่ได้เป็นสองรองพระสกุลลำพูนอื่นๆ จะเป็นรองก็เพียงแต่ "พระรอด" เท่านั้น
การค้นพบพระคง นอกจากที่ วัดพระคง จ.ลำพูน แล้ว ยังมีการพบปะปนอยู่กับพระสกุลลำพูนตามวัดอื่นๆ ในจังหวัด รวมถึงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย
กล่าวถึงการค้นพบ พระคง กรุช้างค้ำ จ.เชียงใหม่ นั้น สืบเนื่องจากการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่า "วัดช้างค้ำ" เป็นวัดที่มีมาแต่เดิมก่อนการสถาปนาเวียงกุมกาม ในยุคล้านนา (เวียงกุมกาม เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคอาณาจักรหริภุญชัย ถือเป็นเวียงหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางเหนือของศูนย์กลางอาณาจักรหริภุญชัย) และชื่อ "เวียงกุมกาม" นี้ ก็เริ่มปรากฏเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วงที่เริ่มสถาปนาอาณาจักร ล้านนา เมื่อพระยามังรายยกทัพมาตีอาณาจักรหริภุญชัยได้สำเร็จ โดยตั้งให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
พระ คง เป็นหนึ่งใน "พระสกุลลำพูน" อันลือชื่อของทางเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างในยุคใกล้เคียงกับ "พระรอด กรุวัดมหาวัน" พระยอดนิยมหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี แต่จำนวนพระคงมีมากกว่าจึงทำให้ได้รับความนิยมน้อยกว่าพระรอด แต่ ณ ปัจจุบันสนนราคาก็ไม่ได้เป็นสองรองพระสกุลลำพูนอื่นๆ จะเป็นรองก็เพียงแต่ "พระรอด" เท่านั้น
การค้นพบพระคง นอกจากที่ วัดพระคง จ.ลำพูน แล้ว ยังมีการพบปะปนอยู่กับพระสกุลลำพูนตามวัดอื่นๆ ในจังหวัด รวมถึงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย
กล่าวถึงการค้นพบ พระคง กรุช้างค้ำ จ.เชียงใหม่ นั้น สืบเนื่องจากการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่า "วัดช้างค้ำ" เป็นวัดที่มีมาแต่เดิมก่อนการสถาปนาเวียงกุมกาม ในยุคล้านนา (เวียงกุมกาม เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคอาณาจักรหริภุญชัย ถือเป็นเวียงหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางเหนือของศูนย์กลางอาณาจักรหริภุญชัย) และชื่อ "เวียงกุมกาม" นี้ ก็เริ่มปรากฏเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วงที่เริ่มสถาปนาอาณาจักร ล้านนา เมื่อพระยามังรายยกทัพมาตีอาณาจักรหริภุญชัยได้สำเร็จ โดยตั้งให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา
จากนั้นได้ตั้งเวียงกุมกาม ขึ้นเป็นเมืองหลวง พร้อมกับมีการสร้างวัดในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดิน
ใน ราวปี พ.ศ.2528 กรมศิลปากรได้ขุดค้นโบราณสถานในจุดต่างๆ ภายในอาณาบริเวณ "เวียงกุมกาม" พบว่ามีแนวเขตวัดเก่าตั้งอยู่ทั่วบริเวณ นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุในพื้นที่อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ พระพิมพ์ดินเผาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พระพุทธรูป เงินตราโบราณ และเครื่องปั้น ดินเผา เป็นต้น ซึ่งพระพิมพ์ดินเผาที่พบนั้น ประกอบด้วย พระคง พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระพิมพ์พุทธคยา ฯลฯ ซึ่งสันนิษฐานน่าจะมีอายุสมัยการสร้างราว 800-900 ปีก่อน หรืออยู่ในช่วงปลายของอาณาจักรหริภุญชัย ที่ได้รับทั้งอิทธิพลศิลปะหริภุญชัยและอิทธิพลศิลปะล้านนา
พระคง กรุช้างค้ำ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับที่พบจากกรุดอยคำ จ.เชียงใหม่ ที่มีการพบพระคงเช่นกัน ปรากฏว่ามีลักษณะพิมพ์ทรงเหมือนกัน และมีขนาดใกล้เคียงกัน โดย "กรุดอยคำ" จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย พระทั้งสองกรุนี้มีความแตกต่างกันที่เนื้อหาและคราบกรุ จึงน่าจะเป็นพระที่สร้างขึ้นในยุคปลายหริภุญชัยเหมือนกัน แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ พระคง ลำพูน แล้ว ปรากฏว่า มีพิมพ์ทรงต่างกัน ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย โดย "กรุช้างค้ำ" จะมีเนื้อหาหยาบกว่า คราบกรุส่วนใหญ่เป็นเม็ดทราย ไม่มีดินกรุ ซึ่งตรงกับตามที่เอกสารการเปิดกรุของกรมศิลปากรได้บันทึกเอาไว้ว่า ชั้นดินที่พบพระพิมพ์เหล่านี้เป็นทรายเกือบทั้งหมด
พระคง กรุช้างค้ำ จ.เชียงใหม่ นี้ เป็นหนึ่งในพระกรุเก่าที่สมัยก่อนเรียกได้ว่า "ถูกเมิน" ถึงขนาดให้เป็นของแจกของแถมเมื่อเช่าหาพระหลักๆ แต่ ณ ปัจจุบัน กลายเป็นที่แสวงหาและสนนราคาขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเริ่มมีการกล่าวถึงในหนังสือและนิตยสารพระเครื่องฉบับต่างๆ และด้วยความที่เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ใกล้เคียงกับ พระคง ลำพูน
แถมยังหาดูหาเช่ายากกว่า พระคง ลำพูน อีกด้วยครับผม
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น