สัมฤทธิ์ ตอนจบ
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี
ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน
วันนี้เราก็มาคุยเรื่องของโลหะเนื้อสัมฤทธิ์กันต่อ
เมื่อวันก่อนก็ได้คุยกันถึงสัมฤทธิผล และสัมฤทธิโชคกันไปแล้ว
สัมฤทธิ์ที่เหลืออีก 3 เนื้อก็คือ สัมฤทธิศักดิ์ สัมฤทธิคุณ และสัมฤทธิเดช
มาว่ากันต่อเลยนะครับ
3.สัมฤทธิศักดิ์ คือ สัมฤทธิ์ขาว หรือสัตโลหะ
เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้มี 7 ประการ
ได้แก่ สติ ธัมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา
สัมฤทธิศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี
ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ
แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด
คงกระพัน แคล้วคลาด
4.สัมฤทธิคุณ คือ สัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ
หมายถึง นัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4
ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิคุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียว
กับสัมฤทธิเดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน
จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ
แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น
เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน
แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ
จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ
สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับ สัมฤทธิเดชทุกประการ
5.สัมฤทธิ
เดช คือ สัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า
เช่นเดียวกับสัมฤทธิคุณ
แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้น
ภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้อง
ไอเหงื่อ จะดำสนิทประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ"
โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด
หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คือ อำนาจตบะเดชะ
มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ
สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิเดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต
วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับสมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส
วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิ์
และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ
เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1.ชิน หนัก 1 บาท
2.จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3.เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4.ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5.ปรอท หนัก 5 บาท
6.สังกะสี หนัก 6 บาท
7.บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
8.เงิน หนัก 8 บาท
9.ทองคำ หนัก 9 บาท
เนื้อ
ทองสัมฤทธิเดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ
ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เเพียง 45 บาทเท่านั้น
ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก
ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิเดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ
ตามสูตรโบราณ เนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก
ครับเรื่องของเนื้อทอง
สัมฤทธิ์ตำรับโบราณก็มีเท่าที่เล่ามานี้แหละครับ
และพระเนื้อนวโลหะที่เป็นเนื้อสัมฤทธิเดชกลับดำที่ผมนำมาให้ชมในวันนี้ก็คือ
พระกริ่งเทพโมลี ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)
เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพโมลีครับ
ด้วยความจริงใจ
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น