ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี
ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน
วันนี้เราก็มาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังกันบ้าง เรื่องที่เราจะคุยกันก็คือ กะลาราหูแกะ ส่วนมากเราก็จะรู้จักกันแต่กะลาราหูของวัดศีรษะทอง นครปฐม
แต่ที่จริงกะลาราหูนั้นมีวัฒนธรรมความเชื่อมาช้านานและที่มีมากๆ
นั้นก็อยู่ที่ทางล้านนาและล้านช้าง
ซึ่งมีคติความเชื่อมาแต่โบราณที่มีการสร้างโดยพระเกจิอาจารย์
อีกทั้งอาจารย์ฆราวาสอีกมาก ความเชื่อเรื่องกะลาราหูนี้
เชื่อกันว่าจะช่วยคุ้มครองให้ผ่อนคลายคราวเคราะห์ร้ายให้เบาบางลงได้
โดยวันนี้ผมจะเล่าถึงพระมหาเมธังกร อดีตเจ้าอาวาสวัดเมธังกราวาส (น้ำคือ)
และอดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ผู้สร้างกะลาราหูของทางล้านนาอีกรูปหนึ่งกันครับ
วัดเมธังกราวาส เป็นวัดที่สร้างมานานมาก
ไม่มีบันทึกว่าสร้างตั้งแต่เมื่อใดมีเพียงการบอกเล่าว่า วัดเมธังกราวาส
แต่แรกเริ่มเรียกว่า "วัดนางเหลียว"
เข้าใจว่านางเหลียวเป็นผู้ถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัดในสมัยแรก
ต่อมาด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ติดกับคูเมือง สำเนียงคนเหนือว่า "คือเมือง"
ต่อมา ชาวบ้านจึงมักเรียกวัดนี้กันว่า "วัดน้ำคือ"
ในระยะต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง
ตามสมณศักดิ์ของท่านอดีตเจ้าคณะจังหวัดเป็น "วัดเมธังกราวาส"
จากการบอกเล่าสืบต่อกันมานี้ ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า
วัดนี้น่าจะสร้างในราวปีพ.ศ.2325
ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเข้าใจว่าผู้สร้าง
วัดนี้น่าจะเป็นตระกูล "วังซ้าย"
ท่านเจ้าคุณพระมหาเมธังกร
(พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อปีพ.ศ.2418
โยมบิดาชื่อชัยลังการ์ โยมมารดาชื่อเที่ยง ต่อมาเมื่ออายุครบบวช
จึงอุปสมบทที่วัดน้ำคือ จังหวัดแพร่ โดยมีพระครูพุทธวงศาจารย์ วัดพระบาท
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอนุสาวนา จารย์และพระกรรมวาจาจารย์ไม่ปรากฏชื่อ
ได้รับนามฉายาว่า "พรหมเทโว" ท่านได้สนใจในด้านการศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน
แลพุทธาคม ท่านได้ศึกษากับพระครูพุทธวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้น
ท่านได้สอบนักธรรมสนามมณฑล ต่อมาในปีพ.ศ.2458
ท่านก็ได้เข้ารับการอบรมการศาสนาและคณะสงฆ์ในสำนักสมเด็จพระวันรัต
วัดมหาธาตุ กทม. ท่านตั้งใจในการศึกษา
จึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
และเป็นที่รักใคร่ของสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุ
พระมหาเมธังกรท่าน
เป็นพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิและเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ
อันสมควรแก่การเคารพสักการะ ท่านเป็นพระรูปแรกที่ได้นำการปกครองคณะสงฆ์
ระบบใหม่มาเผยแพร่
ท่านได้ทำให้คณะสงฆ์ของจังหวัดแพร่เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ในปีพ.ศ.2461
ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียน
อีกทั้งได้ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในจังหวัดแพร่ ที่วัดของท่าน
ชื่อโรงเรียนวัดเมธังกราวาส ท่านได้อุปการะโรงเรียนอยู่หลายปี
ซึ่งทำให้เด็กๆ ได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน และมีการศึกษาอย่างทั่วถึง
นอก
จากนี้ ท่านยังได้เป็นผู้ดำเนินการสร้างพระวิหารวัดพระธาตุจอมแจ้ง
และเป็นประธานกรรมการก่อสร้างพระวิหารพระธาตุช่อแฮอีกด้วย
ท่านนับได้ว่าเป็นผู้สร้างความเจริญทางด้านการศึกษาทั้งของพระภิกษุสามเณร
และชาวบ้านในจังหวัดแพร่ อีกทั้งยังได้สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาอีกด้วย
ชาวจังหวัดแพร่จึงเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก
ท่านได้ละสังขารในราวปีพ.ศ.2492 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 54
ทาง
ด้านการสร้างวัตถุมงคลนั้น ท่านได้สร้างไว้ไม่มากนัก ได้แก่กะลาราหู
โดยใช้กะลาตาเดียวมาแกะเป็นรูปราหูอมจันทร์ และราหูอมพระอาทิตย์ เป็นต้น
ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก เนื่องจากชาวจังหวัดแพร่นั้นต่างก็หวง แหนกันมาก
ในวันนี้ผมได้นำรูปกะลาราหูของท่านเจ้าคุณพระมหาเมธังกร จังหวัดแพร่ แบบต่างๆ มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น