ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด วัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาแต่ในอดีต และที่วัดแห่งนี้มีพระเครื่องที่เป็นพระยอดนิยมอยู่หลายยุคหลายสมัย เช่น พระกรุเนื้อผงใบลาน พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ นอกจากนี้ยังมีสร้อยตะกรุดประคำคาบของท่านเจ้าคุณสนิทที่สุดแสนจะหายากใน ปัจจุบันครับ ในส่วนของพระกรุเนื้อผงมีการสันนิษฐานกันไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สร้างไว้ก็มี ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันและนำพระที่หายากของกรุนี้มาให้ชมกันครับ
วัดโมลีโลกยาราม เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังเดิม ปากคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งทิศเหนือ กทม. ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ครั้นต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนพระอารามใหม่เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอถึงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอาราม อื่นๆ อีก และพระราชทานชื่อวัดเสียใหม่ เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังเรียกติดปากกันว่า "วัดท้ายตลาด"
วัดท้ายตลาด นี้เป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษรแด่รัชกาลที่ 4 เมื่อท่านมรณภาพรัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ" โดยหล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุกไก่เถื่อน)
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด วัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาแต่ในอดีต และที่วัดแห่งนี้มีพระเครื่องที่เป็นพระยอดนิยมอยู่หลายยุคหลายสมัย เช่น พระกรุเนื้อผงใบลาน พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ นอกจากนี้ยังมีสร้อยตะกรุดประคำคาบของท่านเจ้าคุณสนิทที่สุดแสนจะหายากใน ปัจจุบันครับ ในส่วนของพระกรุเนื้อผงมีการสันนิษฐานกันไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สร้างไว้ก็มี ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันและนำพระที่หายากของกรุนี้มาให้ชมกันครับ
วัดโมลีโลกยาราม เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังเดิม ปากคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งทิศเหนือ กทม. ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ครั้นต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนพระอารามใหม่เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอถึงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอาราม อื่นๆ อีก และพระราชทานชื่อวัดเสียใหม่ เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังเรียกติดปากกันว่า "วัดท้ายตลาด"
วัดท้ายตลาด นี้เป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษรแด่รัชกาลที่ 4 เมื่อท่านมรณภาพรัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ" โดยหล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุกไก่เถื่อน)
พระกรุเนื้อผงใบลานที่พบในกรุวัดท้ายตลาดนี้ตามประวัติแล้วเป็นพระที่สร้างโดย พระวิเชียรมุนี อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนท่านเจ้าคุณสนิท พร้อมทั้งหลวงพ่อแย้มและหลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกรรมฐาน ผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามแห่งนี้ ได้สร้างบรรจุไว้ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประมาณปีพ.ศ.2431
การเปิดกรุนั้นได้มีคนร้ายลักลอบเจาะ พระเจดีย์ราย 2 องค์ทางด้านทิศใต้อยู่หลายครั้ง และทางวัดก็อุดซ่อมอยู่เสมอ ครั้นในปีพ.ศ.2485 คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ทางราชการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือขอพระเครื่องฯ มายังสำนักนี้ เพื่อมอบให้กับทหารและตำรวจสนาม เช่นเดียวกับที่ขอไปยังสำนักอื่นๆ พระประสิทธิศีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้ดำริให้ขุดพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็น อันมาก กับทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุบี๊บบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 องค์ มอบให้ทางราชการไป เป็นพระพิมพ์ต่างๆ หลายชนิด
นอกจากนี้ที่กรุวัด ท้ายตลาดยังพบตะกรุดเนื้อชินผุๆ อีกจำนวนหนึ่ง ในระยะต่อมาได้พบพระเครื่องแบบพระวัดท้ายตลาดอีกที่วัดนางชี และวัดหงส์อีกด้วย แสดงว่าพระเครื่องวัดท้ายตลาดมีการบรรจุไว้ตามกรุต่างๆ หลายที่ด้วยกัน
พระวัดท้ายตลาดที่พบครั้งนี้เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลาน ลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จปิลันทน์ มีคราบนวลกรุจับที่ผิวของพระและมีไขขาวจับอยู่ทั่วไป ที่ด้านหลังส่วนมากจะมีรอยตราประทับเป็นอักขระกดลึกลงไปในเนื้อพระ มีพิมพ์พระต่างๆ มาก มายหลายแบบ รวมทั้งพระปิดตา ซึ่งพระปิดตาของวัดท้ายตลาดก็มีอยู่หลายพิมพ์เช่นกัน และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาของวัดท้ายตลาด พิมพ์ต่างๆ มาให้ชมกันครับ ในด้านพุทธคุณดีทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ อีกทั้งทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ และทางด้านแคล้วคลาดครับ
ด้วยความจริงใจ
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น