หลวงปู่กลีบ พุทธรักขิโต พระเกจิดัง"วัดตลิ่งชัน"
คอลัมน์ อริยะโลกที่6
"วัดตลิ่งชัน" เป็นอารามเก่าแก่แห่งหนึ่งในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ.2310
ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์
ยุคที่วัดตลิ่งชันเจริญ
รุ่งเรืองที่สุด คือ สมัยพระครูทิวากรคุณ หรือ หลวงปู่กลีบ พุทธรักขิโต
เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และอดีตเจ้าคณะตำบลคลองชักพระ
เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยเมตตา และมีวิทยาคมเข้มขลัง วัตถุมงคลของท่านหลายรุ่นปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสม
ใน
สมัยของหลวงปู่กลีบ นับว่าวัดตลิ่งชันเจริญรุ่งเรืองมาก
ลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพเลื่อมใสในความเข้มขลังของท่าน
ให้ความร่วมมือในการพัฒนาวัดเป็นลำดับ หลวงปู่กลีบ
จึงไม่ใช่แต่เป็นพระสังฆาธิการที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวัดเท่านั้น
แต่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีคุณวิเศษสูง
ซึ่งกิตติคุณความขลังของท่านยังปลุกให้เกิดแรงศรัทธามาจนทุกวันนี้
ประวัติ
ชีวิตหลวงปู่กลีบ ที่ได้รับการบันทึกไว้ ท่านเป็นบุตรของนายสิงห์
และนางห่วง สิงห์โต คหบดีผู้มั่งคั่งย่านต.คลองชักพระ อ.ตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
(สมัยนั้น) ถือกำเนิดเมื่อวันพุธที่ 21 มี.ค.2419 ปีขาล พี่น้องรวม 8 คน
ใน
วัยเยาว์ เรียนอยู่ในสำนักเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน ศึกษาอักษรสมัยทั้งไทย บาลี
พระคัมภีร์และพระธรรมบท จำจดได้เชี่ยวชาญและแตกฉานเป็นอันดี
ก่อนที่จะเข้าอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปีที่วัดตลิ่งชันนั่นเอง
เจ้าอธิการม่วง วัดนายโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธัมม
สรมหาเถร) วัดพระเชตุพนฯ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระอมรเมธาจารย์
และพระอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร เป็นคู่กรรมวาจาจารย์
พรรษาที่ 2
ย้ายไปอยู่สำนักวัดมหาธาตุ ฝั่งพระนคร
ศึกษาพระปริยัติธรรมประมาณหนึ่งพรรษาก็ย้ายมาอยู่สำนักวัดสุทัศนเทพ วราราม
เรียนหนังสือไทยและพระปริยัติธรรม จบมูลกัจจายน์ และเรียนคัมภีร์พระธรรมบท
บังเอิญเกิดอาพาธเป็นเหตุให้ต้องหยุดพักกลับมารักษาตัวที่วัดตลิ่งชัน
เมื่อ
หายเป็นปกติก็พอดีกับตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง พระครูธรรมจริยาภิรมย์
เจ้าอาวาสวัด คฤหบดี จึงเสนอคณะสงฆ์ให้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
ปกครองดูแลวัดตลิ่งชันสืบต่อมาในปี 2448
พ.ศ.2455
รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวดบริหารกิจการของวัดและการคณะทั้งฝ่ายปริยัติและ
บริหาร พ.ศ.2467 ในรัชกาลที่ 6
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูทิวากรคุณ
ตำแหน่งเจ้าคณะหมวด พ.ศ.2469 รับตราตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูพิเศษ เปลี่ยนพัดยศ จ.ป.ร. แต่ปรากฏว่าท่านมรณภาพเสียก่อน
หลวง
ปู่กลีบ มีความชำนาญทั้งงานพัฒนา เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ และด้านวิทยาคม
โดยเฉพาะการทำผงทุกแขนง แต่ท่านไม่โอ้อวดเท่านั้น
จะทราบกันในหมู่ศิษย์ที่ใกล้ชิด
อีกทั้ง
ท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 2485 ซึ่งพระเกจิอาจารย์ยุคนั้น
รับประกันได้ในความเข้มขลังด้านพลังพุทธาคม
ภาพลักษณ์ของท่านเป็น
แบบคนโบราณ นิยมฉันพืชผัก รักสงบและสมถะ มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา
ตลอดเวลาที่ปกครองดูแลวัดตลิ่งชัน ท่านไม่ทำให้ชาวบ้านผิดหวัง
เพราะสร้างทั้งวัตถุไว้มากมาย และสร้างคนจนได้ดิบได้ดีเยอะแยะ
วัตถุมงคลท่านโด่งดังมาแต่ครั้งสงครามอินโดจีน อาทิ ตะกรุดฝาบาตร เสื้อยันต์
ผ้ายันต์ ฯลฯ มีประสบการณ์เล่าขานกันไม่จบ
ส่วนใหญ่จะนำมาให้ท่านลงอักขระเลขยันต์ ซึ่งท่านจะใช้ยันต์ไตรสรณาคมน์
เป็นยันต์หลัก ซึ่งจะมีน้อยเพราะสร้างเฉพาะตัวเท่านั้น
ส่วนวัตถุมงคลที่เป็นแบบอย่างมาตรฐานที่นักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นสากล คือ
เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก-รุ่นเดียวและรุ่นสุดท้าย สร้างปี 2479 ฉลองแซยิด
60 ปี มีเนื้อทองแดงเนื้อเดียว ทั้งชนิดกะไหล่ทอง, เงินและรมดำ
คนท้องถิ่นกล่าวกันว่า พุทธคุณดี-มีประสบการณ์มาก
นอกจากนี้
ยังมีรูปถ่ายอัดกระจกสองหน้ารูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และพระกริ่งหนองแส
เนื้อทองผสม ที่วงการนิยมเพราะเป็นสายวัดสุทัศน์
โดยเททองหล่อพร้อมกับรูปเหมือนเท่าองค์จริง เมื่อปี พ.ศ.2495
บั้นปลายชีวิตท่านเป็นผู้สงบระงับ พูดน้อยเท่าที่จำเป็น ไม่ดุไม่ว่าใคร เพราะมักจะเป็นไปตามนั้น
กระทั่งวันที่ 9 ม.ค.2501 หลวงปู่กลีบ มรณภาพอย่างสงบ เวลา 22.15 น. สิริอายุ 82 ปี พรรษา 61
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ค่ะ
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://เว็บพระ.net/index.php
คอลัมม์ข่าวนี้ทางเว็บเราไม่มี วัตถุมงคล หรือ พระเครื่องให้เช่าบูชา ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น